มัมมี่นกแก้ว ในทะเลทรายแห้งแล้งที่สุดในโลก เผยด้านมืดของประวัติศาสตร์

เมื่อประมาณ 900 ปีก่อน ผู้คนในอเมริกาใต้ ขนส่งนกแก้วและนกมาคอว์ที่สวยงาม ข้ามเทือกเขาแอนดีส เพื่อไปทะเลทรายอาตากามาที่อยู่ทางตอนเหนือของชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก แน่นอนว่าทะเลทรายแห่งนี้ไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตรเลย จึงทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แถบนั้นต้องแลกกับอะไรก็ตามที่พวกเขามี เพื่อพืชผักและอาหาร แต่ก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่พวกเขาต้องการนกแก้ว และพวกมันก็ถูกพามายังทะเลทรายที่ห่างไกลจากบ้านเกิด เพื่อที่สุดท้ายนกพวกนี้จะกลายเป็นมัมมี่

หนึ่งในสิ่งของที่นักเดินทางใช้เพื่อแลกกับอาหารก็คือ ขนนกที่มีสีสันสวยงาม และนกพวกนี้ก็มีชะตากรรมที่น่าเศร้า “เพราะนกที่อยู่ภายใต้การดูแลของพวกเขานั้น ต่างจากของเราในปัจจุบันมาก”

แคปริเลส (Capriles) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลวาเนียอธิบายว่า นกพวกนี้ส่วนมากไม่ได้มีชีวิตที่มีความสุข พวกมันถูกเลี้ยงไว้เพื่อผลิตขนนก และขนของมันจะถูกถอนทันทีเมื่อมันโตขึ้น

นอกจากแคปริเลสจะเป็นนักโบราณคดีแล้ว เขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเรื่องความแปลกประหลาดของวัฒนธรรมอเมริกา ในยุคก่อนโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา โดยครั้งนี้แม่ของเขา เบดเรกัล (Bedregal) นักปักษีวิทยา ได้ร่วมเดินทางไปกับเขา เพื่อศึกษามัมมี่นกแก้วมากกว่า 2 โหล ที่พบในทะเลทรายอาตากามา

“จากการตรวจสอบพบว่า มีนกแก้วอย่างน้อย 6 ชนิด ที่ได้จากแหล่งขุดค้นในทะเลทรายแห่งนี้ ซึ่งซากของพวกมันมีอายุตั้งแต่คริสต์ศักราช 1100 – 1450” โดยทั้ง 6 ชนิดคือ นกมาคอว์สีแดง (scarlet macaw – Ara macao), นกมาคอว์สีฟ้าอกเหลือง (blue and gold macaw – Ara ararauna), นกแก้วแอมะซอนหัวเหลือง (Yellow-crowned amazon – Amazona ochrocephala), นกแก้วมีลี่อเมซอน (southern mealy amazon – Amazona farinosa), นกแก้วอเมซอนบลูฟรอนท์ (blue-fronted amazon – Amazona aestiva) และ นกแก้วมิเทร็ดคอนัวร์ (mitred conure – psittacara mitratus)

ในตอนนี้เรารู้ว่า ขนนกเขตร้อนที่มีสีสันสดใส เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญ ของสถานะทางสังคมในอเมริกายุคเก่า โดยในเขตเทือกเขาแอนดีส เสื้อผ้าและสิ่งทอต่างๆ ได้รับการตบแต่งด้วยขนนกที่มีสีสันสดใส ซึ่งเป็นการยกย่องสิทธิ์พิเศษทางการเมืองและศาสนา แต่เบื้องหลังชุดที่สวยงาม นกพวกนี้น่าจะใช้ชีวิตในที่ถูกคุมขัง ห่างไกลจากป่าอะแมซอนที่เป็นบ้านเกิดของพวกมัน

บางครั้งขนนกพวกนี้จะถูกดึงและนำเข้ามาในเทือกเขาแอนดีสด้วยภาชนะพิเศษ แต่สำหรับซากของนกแก้ว 27 ตัว คาดว่านกพวกนี้ถูกนำเข้ามาทั้งตัวเนื่องจากขนมันมีสีสันสดใสเป็นพิเศษ

การค้าขายขนนกในภูมิภาคนี้ สามารถย้อนกลับไปได้นานหลายพันปีก่อนหน้า ขนนกจะใช้เป็นของตบแต่งเสื้อผ้า หมวก และเครื่องประดับ ในขณะที่มัมมี่นกส่วนใหญ่ จะพบที่แหล่งโบราณคดีที่เรียกว่าไพคะ 8 (Pica 8) ที่อยู่ใกล้กับชุมชนโอเอซิสภายในทะเลทรายอาตากามา ซึ่งยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน และในอดีตเวลาฝังศพผู้เสียชีวิตก็จะฝังนกพวกนี้ไว้ข้างตัวด้วย

Advertisements

“นกส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมนุษย์ และจุดสังเกตคือ หางของนกมักโดนดึงออก” บางครั้งนกพวกนี้จะถูกจัดวางท่าแบบสวยงาม รวมถึงจัดท่าให้เหมือนกางปีกออกราวกับจะโบยบินออกไป และบางตัวก็พบหลักฐานการตัดจะงอยปากและกรงเล็บของพวกมันด้วย

ในตอนนี้ นักวิจัยอย่างพวกเรายังไม่รู้เลยว่า ทำไมต้องจับนกพวกนี้มาทำมัมมี่แบบนี้ ดูเหมือนพวกมันจะถูกเอาอวัยวะขับถ่ายและสืบพันธุ์ออกไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้มันไม่เน่าเสีย และบางตัวยังถูกห่อด้วยผ้าอย่างดี” แคปริเลสกล่าว

สิ่งที่แน่นอนในตอนนี้คือ มันไม่ง่ายเลยที่จะเอานกพวกนี้ไปฝังในทะเลทราย คาดว่ามันคงถูกส่งมาโดยขบวนคาราวานตัวลามะ เป็นไปได้ว่าการเดินทางจากแอมะซอนซึ่งจะต้องใช้เวลาหลายเดือน แม้ว่านกบางตัวจะนำมาจากถิ่นที่ใกล้ทะเลทราย ..พวกมันถูกมองว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ล้ำค่า โดยเฉพาะขนของมัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมีการขโมยนกเกิดขึ้นด้วย ..และนี่คือเรื่องราวที่เรารู้เกี่ยวกับมัมมี่นกแก้วในตอนนี้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทะเลทรายอาตากามา

Advertisements

ทะเลทรายอาตากามา (Atacama Desert) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูไปถึงตอนเหนือของประเทศชิลี กินพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร ความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 610 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ..เป็นทะเลทรายที่ได้ชื่อว่า “แห้งแล้งที่สุดในโลก”

ทะเลทรายแห่งนี้ ประกอบไปด้วย แอ่งดินเค็มแห้งแล้งหลายแอ่งติดต่อกัน และแม้เกือบจะไม่มีพืชขึ้นเลย แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไนเตรต ทองแดง ไอโอดีนและบอแรกซ์

Advertisements

ในอดีตทะเลทรายแห่งนี้เคยเป็นชนวนเหตุของสงคราม ระหว่างโบลิเวียกับชิลี ซึ่งเดิมทีพื้นที่แห่งนี้อยู่ภายใต้การปกครองของโบลิเวีย แต่ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ จึงทำให้ชิลีตัดสินใจใช้กำลังหักเอาพื้นที่ดังกล่าวมา

หลังจากรบกันประมาณ 5 ปี ในที่สุดกองทัพชิลีก็เป็นฝ่ายชนะ ได้ยึดครองทะเลทรายอันกว้างใหญ่และเมืองท่าอันโตฟากัสตา (Antofagasta) ส่วนโบลิเวียก็ต้องถอยร่นยังในที่ตั้งอันสูงชันดังเช่นในปัจจุบัน …สงครามแย่งชิงทะเลทรายในครั้งนั้นถูกเรียกว่าสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements