ฝูงโลมาอิรวดี (หัวบาตร) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์โผล่ว่ายน้ำที่เกาะช้าง

หลังจากสถานการณ์ การแพร่ระบาด ของไวรัส โคโรน่า COVID-19 อุทยานแห่งชาติ ปิดการท่องเที่ยว ทั่วประเทศ 24 เมษายน 2563 ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จังหวัดตราดเผยว่าพบ ฝูงโลมาอิรวดี หรือที่โลมาหัวบาตร ว่ายน้ำเล่นอย่างสนุกสนาน โดยจากการจากการสำรวจครั้งนี้พบ​ โลมา​ ชนิดอิรวดี​ จำนวน​ 10 ตัว​ บริเวณ​เกาะกระบุง​ อยู่​ทางทิศตะวันออก​ของเกาะช้าง​ ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล​ได้เป็นอย่างดี​

โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Irrawaddy dolphin) เป็นโลมาที่มีหัวกลมและไม่มีจงอย บริเวณหน้าผากขยายยาวกว่ารูปหน้าของมัน ลำตัวมีสีเทาหรือน้ำเงินเข้มยาวประมาณ 178-274 เซนติเมตร ส่วนช่วงท้องมีสีเทาอ่อนกว่ามีครีบหลังเล็กๆ เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมปลายมน และครีบข้างที่กว้างและยาว น้ำหนักตัวจะอยู่ประมาณ 98-159 กิโลกรัม

โลมาอิรวดี

ตัวผู้มีแนวโน้มอายุยืนกว่า และน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย พวกมันมีครีบหลังใหญ่กว่า ทั้งขากรรไกรบนและล่างของมันมีฟันที่เล็กมากและแหลมคม รวมทั้งมันยังมีกระเพาะอาหารหลายส่วน แต่ไม่มีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหัวใจ โดยตัวเมียจะออกลูกทุกๆ 2-3 ปี ทำให้ทุกครั้งที่มีการพบลูกโลมาเกิดใหม่ จะเป็นเรื่องที่สร้างความยินดีกันอย่างมาก

โลมาอิรวดี พบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดี

Advertisements

โลมาชนิดนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในเมียนมา จึงเป็นที่มาของชื่อนี้ ปัจจุบันพบมากในแหล่งน้ำลึก 9 แห่ง ตลอดช่วงราว 190 กิโลเมตรของลำน้ำโขง และแม้จะได้ชื่อว่าเป็นขวัญใจของชาวกัมพูชาแต่พวกมันก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างมาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์

การจับปลาผิดกฎหมายโดยใช้ไฟฟ้าช็อต ยาพิษ หรือระเบิด ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่า 40 ปีมานี้ ส่งผลให้ประชากรปลา และโลมาถูกจับ หรือถูกฆ่าจากการโดนลูกหลง เช่นเดียวกับการจับปลาอย่างถูกกฎหมายที่ใช้ตาข่ายไนลอนตาเล็กถี่ สร้างปัญหาให้กับสัตว์เหล่านี้ไม่ต่างกัน ทั้งการตกปลาที่มากเกินความจำเป็นโดยไม่มีการตรวจสอบ ทำให้สูญเสียประชากรปลาเพื่อเป็นอาหารมากขึ้น รวมถึงการสร้างเขื่อน

Advertisements
และระบบชลประทาน ยังทำลายแหล่งที่อยู่ของโลมา และขัดขวางเส้นทางการอพยพเพื่อการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก อนุภาคพลาสติก และสารปนเปื้อนอื่น ๆ จากการทำเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และในเมืองล้วนคุกคามชีวิตของเหล่าโลมาทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลมาแรกเกิดตกอยู่ในความเสี่ยง ประชากรโลมาน้ำจืดในลุ่มน้ำโขงลดลงชนิดที่ว่าอัตราความอยู่รอดในระยะยาวตกอยู่ในอันตราย

ที่มา ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จังหวัดตราด

โควิด-19 ผลกระทบเชิงบวก 

Advertisements