ชายชาวบูร์กินาฟาโซ ผู้ไม่เคยเรียนหนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ฐานะยากจน อีกทั้งยังไม่เคยรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเกษตรใด ๆ แต่ด้วยสมอง สองมือ และความรักที่มีต่อต้นไม้ เขาจึงลงมือปลูกพืชบนดินแห้งแล้งของแอฟริกา จนได้รับการขนานนามว่า ชายผู้หยุดยั้งทะเลทราย
เขามีชื่อว่า ยาโคบา ซาวาโดโก เป็นเกษตรกรที่ใช้วิธีปลูกพืชแบบโบราณดั้งเดิม หรือที่เรียกว่า ไซ (Zai) ในยุคที่หลายคนหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ ๆ กันจนลืมของเก่า แต่ยาโคบายังคงตั้งหน้าตั้งตาปลูกพืชด้วยวิธีนี้ต่อไป นั่นเป็นเพราะว่าเขาไม่เคยมีโอกาสศึกษาเทคนิคปลูกพืชแบบอื่นเลย
จากข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์ conservationmagazine.org พบว่า ย้อนกลับไปในช่วงปี 1980 ปัญหาภัยแล้งคุกคามพื้นที่แถบซาเฮลของแอฟริกาอย่างหนัก พืชผักและป่าถูกทำลายจนแผ่นดินกลายเป็นทะเลทรายขนาดย่อม ๆ ชาวบ้านพากันอพยพหนีตาย แต่ยาโคบายังขออาศัยอยู่ที่นี่ เพื่อฟื้นฟูป่าด้วยการเพาะปลูกแบบ “ไซ” (Zai)
วิธี “ไซ” ที่ว่านี้ ก็คือการขุดดินให้เป็นหลุมเพาะปลูก ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และลึกราว 90 เซนติเมตร เมื่อถึงฤดูฝน ดินที่เป็นแอ่งเช่นนี้จะสามารถกักตุนความชุ่มชื้นได้มากกว่าการปลูกพืชบนหน้าดินแบบปกติ และมันจะคงสภาพเช่นนี้ต่อไป แม้ว่าจะเป็นกลางฤดูแล้งก็ตาม
อันที่จริงแล้ว ไซ ถูกลืมและสูญหายไปตามกาลเวลา แต่ยาโคบานำมันกลับมาอีกครั้ง ด้วยความตั้งใจที่จะคืนพื้นที่สีเขียวบนพื้นที่แห้งแล้งและร้อนระอุ แน่นอนว่าเขาทำสำเร็จจริง ๆ เสียด้วย ยาโคบาพบว่าดินที่ถูกขุดเพื่อปลูกพืชด้วยวิธี ไซ กลับคืนมามีสภาพดีอีกครั้ง แร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ในดินก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย
เรื่องราวของยาโคบา ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกในปี 2010 หลังจากที่มีการถ่ายทำสารคดีเรื่อง The Man Who Stopped the Desert (ชายผู้หยุดยั้งทะเลทราย) ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวชีวิตของยาโคบา ตลอดจนเทคนิคปลูกพืชที่ได้ผลดีอย่างมากของเขา
ช่อนจอมเหวียง แย่งปลาแถมโจมตีนักดำน้ำ
Advertisements