หาดูยาก ตะพากเหลืองนับพันนับหมื่น ขึ้นวางไข่กลางเกาะแก่งกลางทุ่งใหญ่

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (อังกฤษ: Golden-bellied barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibarbus wetmorei) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาตะพากชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาตะพากชนิดที่พบได้หลากหลายและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด

หาดูยาก!! ปลาตะพากเหลืองนับพันตัว ขณะจับคู่ขึ้นวางไข่กลางเกาะแก่ง บริเวณต้นน้ำโรคี่ กลางป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งบันทึกโดย 2 ครูหนุ่มบ้านสะเนพ่อง

ลักษณะ

Advertisements

มีลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลืองสด ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดยาว 66 เซนติเมตร น้ำหนัก 8 กิโลกรัม อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ, แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย

ปลาตะพากเหลือง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม–ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่

ถิ่นที่อยู่

อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำปิง, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงแม่น้ำโขง รวมถึงลำธารน้ำตกในป่าดิบ จัดเป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม เนื้อมีรสชาติอร่อยกว่าปลาตะเพียนและก้างนิ่มกว่า อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ถือเป็นปลาประจำจังหวัดกำแพงเพชร ขณะที่ในภาษาอีสานเรียกว่า “ปลาปากท้องเหลือง”

ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร แต่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เมื่อเพาะได้แล้วจะปล่อยลูกปลาคืนสู่ธรรมชาติที่แม่น้ำปิง อันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม เพื่ออนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ เพราะยังผลิตลูกปลาได้จำนวนน้อย เนื่องจากพ่อแม่ปลายังมีความสมบูรณ์เพศไม่เพียงพอ อีกทั้งขี้ตกใจเมื่ออยู่ในที่เลี้ยง

ยี่สกไทย ปลาท้องถิ่นไทย ที่เกือบสูญพันธุ์

Advertisements
แหล่งที่มาmatichon tv