ตั้งแต่ปี 1974 องค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติรายงานว่า จำนวนปลาลดลงจาก 90% เหลือเพียง 66% และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันความกังวลเกี่ยวกับสารปรอทและสารมลพิษอื่นๆ รวมทั้งไมโครพลาสติกในทะเล
โดยหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเริ่มถูกสั่งให้จำกัดการทานอาหารทะเลบ้างแล้ว จนเกิดคำถามว่า “การกินปลาให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่?” มาดูสิ่งที่ทำให้ต้องคิดกันใหม่ ว่าการกินปลาในสมัยนี้มันดีต่อสุขภาพจริงหรือ
พิษจาก PCBs
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาหนึ่งในความกังวลที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับปลาคือระดับมลพิษและโลหะหนักที่ปนเปื้อนในปลาที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
สิ่งหนึ่งที่น่ากังวลคือสารโพลีคลอรีนไบฟีนิล (PCBs) แม้ว่าจะถูกสั่งห้ามไปในช่วงทศวรรษที่ 1980 แต่สารเคมีอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ถูกใช้ไปแล้วทั่วโลกในปริมาณมาก และยังคงฝังอยู่ในดินและปนเปื้อนในน้ำ (จนถึงปี 2021 มันก็ยังส่งมีผลกับสัตว์น้ำอยู่)
PCBs มีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพหลายอย่าง ตั้งแต่ระบบภูมิคุ้มกันไปจนถึงสมอง ในขณะที่มันปนเปื้อนอยู่ในทุกอย่างตั้งแต่นมไปจนถึงน้ำดื่มและในระดับสูงสุดพบได้ในปลาและสัตว์น้ำ
“วิธีแก้ปัญหาในการจำกัดปริมาณสาร PCBs จากปลาอาจจะฟังดูแปลกๆ มันคือการหันไปบริโภคสัตว์น้ำที่มาจากในฟาร์ม Johnathan Napier ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของ Rothamsted Research ใน Hertfordshire ประเทศอังกฤษกล่าว”
ปัญหาที่เป็นไปได้ของการสะสมของสารประกอบที่เป็นพิษ น่าจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากกว่าสำหรับสัตว์ที่ถูกจับมาเพื่อการบริโภคโดยตรงของมนุษย์ เนื่องจากสิ่งที่ได้จากสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มที่ได้รับการดูแล และตรวจสอบคุณภาพ จะทำให้ปลอดภัยมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะสาร PCBs ก็ผันผวนตามฤดูกาล
แม้ว่าโดยทั่วไป การกินปลาจะถูกมองว่าดีต่อสุขภาพ แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ก็มีปัญหาในตัวเองเช่นการทำให้มหาสมุทรปนเปื้อนมลพิษด้วยของเสียและกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ธรรมชาติได้
“NHS แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ให้นมบุตร ลดการบริโภคปลาชนิดที่มีแนวโน้มที่จะมีสาร PCBs ปนเปื้อนรวมทั้งสารพิษอื่นๆ เช่น ไดออกซิน ปลาที่ว่าคือ ปลาแซลมอน และปลาซาร์ดีน เช่นเดียวกับ ปลากะพงขาว หรือแม้แต่พวกกุ้งและปู”
สารปรอท สะสมในปลามากมาย
สิ่งที่น่ากังวลอีกประการหนึ่งคือ “สารปรอท” มันเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก มีความเชื่อมโยงมากมายว่าการบริโภคปรอทเป็นต้นเหตุของมะเร็งเบาหวานและโรคหัวใจ ในขณะที่ปรอทสามารถพบได้ในอาหารอื่นๆ เช่นผัก การศึกษาหนึ่งพบว่า 78% ของการบริโภคปรอทมาจากอาหารทะเลโดยเฉพาะปลา
“ปลานั้นมีระดับปรอทสูงพอที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำให้คนท้อง ควรจำกัดการบริโภคปลาบางชนิดรวมถึงปลาแมคเคอเรลด้วย”
แต่ความกังวลเกี่ยวกับการสะสมของโลหะหนักในปลานั้นมีมากเกินไป นั้นเพราะสัตว์ที่มีชีวิตอยู่เป็นเวลานาน เช่น ปลากระโทงดาบ ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน 15 ถึง 20 ปี ซึ่ง “ปลากระโทงดาบ” มีความเข้มข้นของปรอทสะสมอยู่ 0.995 PPM ในขณะที่ปลาแซลมอนซึ่งมีชีวิตอยู่โดยเฉลี่ยเป็นเวลา 4 – 5 ปี จะมีประมาณ 0.014
“ปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ระบุว่าสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ความเข้มข้นของปรอทเฉลี่ยสูงสุดที่อนุญาตต่อสัปดาห์คือ 0.46 PPM”
แต่ปัญหานี้กลับแย่ลงเนื่องจากมีหลักฐานบ่งชี้ว่า ระดับของปรอทที่พบในมหาสมุทรอาจสูงขึ้นเมื่อโลกร้อนขึ้น การวิจัยพบว่าเมื่อขั้วโลกใต้ละลายน้ำแข็งจะปล่อยสารปรอทที่ติดอยู่ในพื้นดินที่เป็นน้ำแข็งลงสู่ทะเล
กรดไขมันอิ่มตัว
การบริโภคปลาหลายชนิดเช่น ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า, ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล มีส่วนเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 ในทะเล Eicosapentaenoic acid (EPA) และกรด Docosahexaenoic (DHA)
แหล่งที่มาของโอเมก้า 3 มาจากพืชเช่นเมล็ดแฟลกซ์ และวอลนัท พวกมันอุดมไปด้วยสารอาหารมีคุณค่า จากการศึกษาในปี 2014 สรุปว่าประโยชน์ต่อหัวใจของโอเมก้า 3 จากพืชอาจเทียบได้กับ EPA และ DHA แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่จะรับรองข้อมูลนี้ อย่างไรก็ตามคุณสามารถพบทั้ง EPA และ DHA ในอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสาหร่ายและในสาหร่ายทะเลที่กินได้เช่นกัน
ระบบนิเวศทางทะเลเต็มไปด้วยโอเมก้า 3 ปลาตัวเล็กๆ กินแพลงก์ตอนทะเล และปลาที่ใหญ่กว่าก็กินพวกมัน ทำให้ระบบห่วงโซ่อาหารทั้งหมดส่งต่อโอเมก้า 3 ไปยังมนุษย์ แต่ระบบจะแตกต่างกันสำหรับปลาในฟาร์มซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่กิน “ในฟาร์มเลี้ยงปลามีปลาเพียงหลายพันตัวในกระชัง พวกมันจะกินแต่สิ่งที่คนเลี้ยงปลาให้”
เช่นเดียวกับในธรรมชาติปลาที่เลี้ยงในฟาร์มมักจะกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่า อย่างไรก็ตามในธรรมชาติปลาจะกินปลาขนาดเล็กหลายชนิด ในฟาร์มมักเลี้ยงด้วยปลาป่นที่ทำจากเศษปลา
“การวิจัยในปี 2559 พบว่า แม้แต่ปลาแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์มก็ยังมีโอเมก้า 3 มากกว่าปลาแซลมอนธรรมชาติ ปลาแซลมอนธรรมชาติว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมันแทบไม่มีไขมัน เพราะตัวมันเผาผลาญทุกอย่างที่มันกินเข้าไปเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน”
อาหารบำรุงสมอง (Omega 3)
นอกเหนือจากโอเมก้า 3 แล้ว ปลายังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เช่น ซีลีเนียม ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายและการติดเชื้อ ไอโอดีนซึ่งสนับสนุนการเผาผลาญที่ดีต่อสุขภาพ และโปรตีน
ปลาถูกยกย่องให้เป็น “อาหารสมอง” มานานแล้ว การศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เนื้อหาโอเมก้า 3 เท่านั้นแม้ว่าการศึกษาจะพบความเชื่อมโยงระหว่างโอเมก้า 3 และการลดความเสื่อมของความจำ ..ปริมาณสมองของเราเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสุขภาพที่ดีขึ้น ยิ่งคุณมีเซลล์ประสาทมากเท่าไหร่ คุณก็มีปริมาณสมองมากขึ้นเท่านั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างปลากับสมอง อาจลงลึกไปถึงปลาที่ฤทธิ์ต้านการความเสียหายของสมองด้วย เพราะเมื่อสมองตอบสนองต่อเรื่องนี้ มันอาจส่งผลต่อเซลล์สมอง
“นี่หมายความว่าคุณสามารถปรับปรุงสุขภาพสมอง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่นเดียวกับการบริโภคปลาในอาหาร” เพื่อให้สมองมีความยืดหยุ่นมากที่สุด สำหรับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม แนะนำให้เริ่มกินปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเมื่อคุณอายุ 20 หรือ 30 ปี”
อีกเหตุผลหนึ่งที่ปลาสามารถทำให้เรามีสุขภาพดีได้ เพราะมันแทนที่อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในอาหารของเรา “ถ้าเรากินปลามาก เราก็มักจะกินของที่ไม่มีประโยชน์น้อยลงเช่นกัน”
ถึงกระนั้นเนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจน ที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญสำหรับผู้ที่ไม่กินปลา มันเป็นการยากที่จะกล่าวอย่างชัดเจนว่าปลามีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่าโอเมก้า 3 ส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
และนี่คือเรื่องราวของ “สมัยนี้ การกินปลายังดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?” จริงๆ ตามความเห็นผมคือ แม้ตอนนี้ปลาก็ยังมีประโยชน์มากกว่า ถึงแม้จะมีพิษตกค้างอยู่บ้าง และมนุษย์อย่างเรายังคงต้องพึ่งพาพวกมัน แม้จะอยู่อยู่แก่ใจว่า “ปลาไม่ใช่แหล่งอาหารที่ไม่มีวันหมด” ไม่ช้าก็เร็ว มันจะหมดไปจากโลก หากมนุษย์ยังคงทำลายธรรมชาติ และจับสัตว์น้ำอย่างรบ้าคลั่งเหมือนทุกวันนี้