เรื่องที่อาจเข้าใจผิด พาวเวอร์-แอคชั่นคันเบ็ด และการใช้งาน

คือผมเห็นบทความเก่าหลายตัว และที่หลายคนสอนมา ทำให้น้าหลายคนอาจสับสนระหว่าง พาวเวอร์คันเบ็ด (Power) และ แอคชั่นคันเบ็ด (Action) นั้นเพราะมีบทความ รวมทั้งหนังสือตกปลาสมัยก่อนหลายเล่มพาสับสนกันนิดหน่อย ในบทนี้ผมจึงนำมาพูดว่าจริงๆ แล้วมันเป็นไงกันแน่ แต่จะเน้นที่พาวเวอร์นะครับ

คือผมเห็นบทความเก่าหลายตัว และที่หลายคนสอนมา ทำให้น้าหลายคนอาจสับสนระหว่าง พาวเวอร์คันเบ็ด (Power) และ แอคชั่นคันเบ็ด (Action) นั้นเพราะมีบทความ รวมทั้งหนังสือตกปลาสมัยก่อนหลายเล่มพาสับสนกันนิดหน่อย ในบทนี้ผมจึงนำมาพูดว่าจริงๆ แล้วมันเป็นไงกันแน่ แต่จะเน้นที่พาวเวอร์นะครับ

พาวเวอร์และแอคชั่นคันเบ็ด

Advertisements

ถ้าให้พูดง่ายๆ คือ พาวเวอร์ (Power) คือตัวบอกกำลังของคันเบ็ด ส่วน แอคชั่นคัน (Action) คือตัวบอกการโค้งงอของคันเบ็ดที่จะเริ่มที่จุดไหนก่อน …ตรงจุดนี้เชื่อว่านักตกปลาคิดรวมกันว่าเป็นพาวเวอร์ไม่ก็แอคชั่นไปเลย ซึ่งคันเบ็ดที่มาตรฐานสูงจะบอกทั้ง พาวเวอร์-แอคชั่น หรืออย่างน้อยจะบอกพาวเวอร์ ในขณะที่คันเบ็ดมาตรฐานต่ำหน่อยอาจไม่บอกอะไร บอกนิดหน่อย หรือบอกไม่ตรง

จากภาพบน Bass X บอก Medium (M) พาวเวอร์ และ FAST (F) แอคชั่น ซึ่งสามารถเรียกรวมได้ว่า MF

จากภาพบน AROMA บอกเพียงแค่มีพาวเวอร์ L (Light)

โดยคันเบ็ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด แยกย่อยออกไปตามลักษณะการใช้งานรวมถึงการบ่งชี้แบบเฉพาะเจาะจงกับการตกปลาชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็มี โดยการนำรูปแบบการสู้เบ็ดของปลาชนิดนั้นมาเป็นองค์ประกอบในการสร้างคันเบ็ด หรือวิธีการตกปลาชนิดนั้นมาเป็นมาตรฐานในการสร้างคันเบ็ดหรือวิธีการตกปลาชนิดนั้นมาเป็นมาตรฐานในการสร้างคันเบ็ด

จึงทำให้ในปัจจุบันรูปแบบของคันเบ็ดนั้นมีหลากหลาย บางครั้งทำให้การเลือกซื้อเลือกใช้เกิดความสับสนจนน่าปวดหัว ยิ่งมือใหม่หัดตกยิ่งแล้วใหญ่ การจะเลือกซื้อคันมาใช้แต่ละคันนั้น ดูจะมืดมนจนเลือกไม่ถูก ได้แต่ลูบๆ คลำๆ หรือตัดสินใจซื้อตามกำลังเงินตามคำแนะนำจากพนักงานขาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยตรงกับการใช้งานของผู้ซื้อ พอนำไปใช้งานจริงๆ เขาจึงเกิดการชำรุดเสียหาย เนื่องจากนำมาใช้งานผิดประเภท

นักตกปลาบ้านเราตกปลากันแบบไหน..?

การตกปลาในบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นการตกปลาน้ำจืดตามธรรมชาติเป็นหลัก การเลือกซื้อคันเบ็ดจึงไม่ค่อยยุ่งยากนัก หากเรานึกถึงขนาดของปลาที่น้ำหนักไม่เกินสามกิโลกรัมที่อยู่ตามแม่น้ำลำคลอง และอ่างเก็บน้ำก็เลือกเอาคันที่มีพาวเวอร์ปานกลางจะดีที่สุด โดยเลือกขนาดความยาว 6-7 ฟุต (ตีเหยื่อปลอม) 6 – 10 ฟุต (ตกปลาหน้าดิน) เพื่อที่จะนำไปใช้ได้กับการตีเหยื่อปลอมจำพวกปลั๊ก สปูนและสปินเนอร์ แอ็คชั่นของคันเบ็ดที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายในปัจจุบัน หากแยกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ก็จะแยกได้ดังนี้

ต่อไปนี้เป็นคำเรียกพาวเวอร์มาตรฐานที่ใช้กัน

ที่ต้องบอกว่าเป็นมาตรฐาน เพราะมีที่ไม่เรียกของตัวเอง หรือเรียกใหม่ๆ อีกด้วย น้าๆ คงต้องเทียบกันเอาเองเมื่ออ่านเรื่องนี้

พาวเวอร์ : ULTRA – LIGHT (UL)

Advertisements

คือคันเบ็ดที่มีขนาดเล็กและอ่อนมาก เหมาะกับสายเบ็ดขนาด 2-6 ปอนด์ โดยใช้กับเหยื่อที่มีน้ำหนัก 2-8 กรัม และเหมาะกับการตกปลาขนาดเล็ก รวมทั้งเหยื่อจิ๊กขนาดเล็ก คันเบ็ดแอ็คชั่นอัลตร้าไลต์นี้จะช่วยส่งเหยื่อได้ดีและบังคับทิศทางในการตีเหยื่อได้ง่ายเหมาะแก่การนำไปตกปลานิล ตะเพียน ซ่อนหรือปลาทีมีขนาดไม่เกิน 1.5 กก. กำลังสนุก

พาวเวอร์ : LIGHT (L)

เป็นคันที่อ่อนกำลังดีไม่อ่อนมาก คันเบ็ดที่มีพาวเวอร์ระดับ L นี้เป็นขนาดที่เหมาะแก่การตีเหยื่อปลอมในหมายไม่กว้างมาก และเหมาะกับปลาที่มีขนาดไม่เกิน 3 กก. ใหญ่กว่าก็เหนื่อยหน่อย ขนาดความยาวของคันเบ็ดในพาวเวอร์ไลต์นี้จะมีขนาด 6-7 ฟุต เป็นส่วนใหญ่

พาวเวอร์ : MEDIUM LIGHT (ML)

คือคันที่มีพาวเวอร์ปานกลางค่อนข้างอ่อน เป็นขนาดที่นักตกปลานิยมใช้กันมากไม่ว่าจะนำไปตกปลาเกล็ด งานตีเหยื่อปลอมหรือตกปลาสวายขนาดกลางๆ เป็นคันเบ็ดที่ใช้งานได้หลากหลายอีกแบบหนึ่ง เหมาะกับปลาขนาด 4-5 กก. และแมตซ์กับสายขนาด 8-12 ปอนด์ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กัน

นักตกปลาที่ต้องการความนุ่มนวลในการอัดปลาคันเบ็ดแอ็คชั่นนี้แหละเหมาะที่สุด เป็นพาวเวอร์ที่คลาสสิกที่สุดสำหรับคนชอบสายเบ็ดขนาดเล็กถึงกลาง โดยเฉพาะกับการตกลปาเกล็ดหรือการสร้างสถิติให้กับตัวเอง ขนาดความยาวของคันในระดับนี้มักจะมีความตั้งแต่ 6.5- 8 ฟุต

พาวเวอร์ : MEDIUM (M)

Advertisements

หรือที่เรียกว่าพาวเวอร์ M คือมีขนาดปานกลางซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้กันมากที่สุด และจริงๆ เหมาะกับการตกปลาตีเหยื่อปลอมส่วนใหญ่ในไทยด้วย ถึงแม้ยุคนี้นักตกปลาชาวไทยจะไปนิยม UL ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมเท่าไรก็ตาม โดยพาเวอร์ M จะหาซื้อง่ายใช้งานได้หลากหลายที่สุด เหมาะกับงานตกปลาตามฟิชชิ่งปาร์ก แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำที่มีปลาขนาดกลางถึงใหญ่ คันที่มีพาวเวอร์ปานกลางหรือ M นี้จะมีรูปแบบและความยาวหลากหลายมากที่สุด ใช้ได้กับงานน้ำจืดทั่วไปและงานทะเล ที่ใช้สายขนาดตั้งแต่ 10-17 ปอนด์ หรือบวกลบอีกนิดหน่อย

พาวเวอร์ : MEDIUM HEAVY(MH)

คือคันพาวเวอร์ปานกลางค่อนข้างแข็ง เป็นคันเบ็ดที่มีความอ่อนตัวน้อยเหมาะกับงานหนักหรืองานระดับบิ๊กเกม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเป็นงานทะเล ที่ต้องใช้สายที่มีแรงดึงมากๆ ตั้งแต่ 25-50 ปอนด์ ซึ่งค่อนข้างใหญ่ไปสำหรับการนำมาใช้ตกปลาน้ำจืดในบ้านเรา นอกจากงานทะเลที่ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการทรอลลิ่งหรือการตกปลาทะเลทางภาคใต้ที่มีระดับค่อนข้างลึกเกิน 60 เมตร หรืองานชายฝั่งที่ต้องคันในระดับ MH เพื่อการตีไกล จำพวกคันเชิร์ฟชายฝั่งที่มีความตั้งแต่ 9 ฟุตขึ้นไป เนื่องจากต้องตีเหยื่อไกลด้วยการใช้ตะกั่วเม็ดโตๆ นอกจากนี้ยังใช้ตีเหยื่อบิกเบทอีกด้วย

พาวเวอร์ : HEAVY (H)

เป็นคันเบ็ดที่นักตกปลารุ่นเก่าเรียกว่า “คันควายเหลียวหลัง” ใช้กับขนาดสายเส้นใหญ่รอกตัวเท่าหม้อข้าวที่ใส่สายขาด 50-130 ปอนด์ เรียกว่าปลาที่มีขนาดต่ำกว่า 30 กก. ไม่มีทางทำให้คันงอได้ง่ายๆ

หากยึดถือเอาตำราเก่าๆ คันในระดับนี้จะมีเฉพาะคันทะเลที่เรียกว่า “คันบิ๊กเกม” โดยเรียกขนาดของคันตามรัดของสายที่กำหนดให้ใช้ เช่น คัน 50 ปอนด์ คัน 80 ปอนด์ 100 ปอนด์ และคัน 130 ปอนด์ คือคันที่ยักษ์ที่สุด เป็นสเป๊กที่ระบุอยู่บนตัวคันเพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้ให้ถูกกับขนาดของสาย ความใหญ่โตของคันเบ็ดจะบ่งบอกถึงระดับความใหญ่ของสายได้เลย แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยี่ในการผลิตคันเบ็ดได้พัฒนาไปมาก จนทำให้คันเบ็ดที่ใช้สายที่มีขนาดความทนแรงดึงมากๆ ลดขนาดความใหญ่โตของคันลงไปเยอะทำให้คันแข็งๆบางชนิดมีขนาดเล็กกว่าเมื่อก่อนเยอะ

แอคชั่นคันเบ็ด

แอ็คชั่นของคันเบ็ดทีว่าไว้ข้างต้นคือมาตรฐานในการวัดขนาดแต่ยังมีการแบ่งลึกลงไปอีกกลุ่ม คือแอ็คชั่นจริงๆ ของคันที่แสดงออกเมื่อใช้งานจริงๆ จะมีอยู่ 5 ระดับคือ

1. EXTRA FAST : คือคันปานกลางค่อนข้างแข็ง เมื่อถูกโน้มจะงอเพียงปลายคันนิดเดียว
2. FAST : คือคันปานกลางค่อนข้างแข็ง หากโน้มดูคันจะงอปลายและลงเกือบครึ่งคัน
3. MOD.FAST : คันค่อนข้างอ่อน คันจะไม่งอปลายเท่าไร และลงกลางๆ
4. MODERATE : คือคันปานกลางค่อนข้างอ่อน เมื่อโน้มดูคันจะงอลงมาเกินกว่าครึ่งคัน
5. SLOW : คันอ่อนที่โค้งงอลงได้ทั้งคัน

Advertisements

คันเบ็ดแต่ละขนาดมีแอคชั่นที่จำกัด หากใช้เกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้บนคัน ก็จะทำให้เกิดผลลบขึ้นกับคัน หากผู้ใช้ มันอย่างถูกต้องก็จะสามารถรีดเอาประสิทธิภาพของคันเบ็ดแต่ละคันออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน เพราะฉะนั้นคันเบ็ดที่เราต้องการใช้จะมีแอ็คชั่นระดับใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการแมตซ์อุปกรณ์ที่ใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมต่างหาก ที่คือ “หัวใจ” ในการใช้คันเบ็ด

พื้นฐานแมตซ์อุปกรณ์ตกปลา

ที่ได้ยินได้อ่านกันบ่อยๆ เอาง่ายๆ คือถ้าในคันระบุไว้ว่า 10-15 lb. ก็คือสายขนาดเล็กที่สุดที่ใช้กับคันนี้คือสายขนาด 10 ปอนด์และขนาดใหญ่สุดก็ 15 ปอนด์ หากใช้ขนาดสายเล็กเกินกว่านี้จะทำให้สายขาดได้ง่าย เนื่องจากคันขนาดนี้ไม่เหมาะกับสายที่เล็กเกินกว่า 10 ปอนด์ แต่ถ้าหากใช้สายขนาดใหญ่เกินกว่า 15 ปอนด์ก็จะทำให้คันรับไม่ไหว เพราะสายใหญ่เกินไปจะทำให้คันหักได้ เนื่องจากพอคันสู้ไม่ไหวแล้วสายก็ไม่ขาดคันก็ต้องหักไปเลย ดังนั้นควรเลือกขนาดสายที่เป็นกลางเอาไว้จะเหมาะที่สุด

พาเวอร์และแอ็คชั่นของคันเบ็ดนั้นจะช่วยในการลดแรงกระชากจากการสู้ของปลา ความอ่อนตัวและความมีสปริงจะทำให้ปลาหมดแรงเร็วขึ้น และเมื่อทำงานร่วมกับระบบเบรกของรอกแล้วก็จะทำให้ปลาวิ่งช้าลงทำให้มีโอกาสได้ตัวมากขึ้น บวกกับทักษะของนักตกปลาในการใช้อุปกรณ์ด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements