ปลากระทิงไฟ Fire Spiny Eel

เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่สกุลเดียวกับปลากระทิงดำ รูปร่างคล้ายปลาไหล มีขนาดความยาวประมาณ 20 - 70 เซนติเมตร ลำตัวเรียวยาว และแบนข้าง มีจะงอยปากเป็นติ่งเล็กยื่นออกมาทำหน้าที่รับความรู้สึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้ม

ปลากระทิงไฟ

ปลากระทิงไฟ

Advertisements

ชื่อสามัญ : Fire Spiny Eel
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mastacembelus erythrotaenia

ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่สกุลเดียวกับปลากระทิงดำ รูปร่างคล้ายปลาไหล มีขนาดความยาวประมาณ 20 – 70 เซนติเมตร ลำตัวเรียวยาว และแบนข้าง มีจะงอยปากเป็นติ่งเล็กยื่นออกมาทำหน้าที่รับความรู้สึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ข้างลำตัวมีเส้นหรือจุดสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงตามความยาวลำตัว

กระทิงไฟ บริเวณนัยน์ตาจนถึงโคนครีบหาง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกันถึงครีบหลังตอนท้าย ครีบทั้งหมดมีสีแดงสด บริเวณขอบครีบหนังเป็นกระดูกแหลมแข็งสำหรับป้องกันตัวจากศัตรู ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากปลากระทิงชนิดอื่นคือ ปลากระทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้า นัยน์ตา ปลากระทิงไฟที่พบในภาคกลาง จะมีสีแดงสดใสกว่าแหล่งน้ำอื่น

มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้

ปลากระทิงไฟ มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำสนิทและประแต้มด้วยแถบสีแดงสดเป็นเส้นๆ และเป็นจุด ๆ ลักษณะคล้ายกับเส้นประ โดยลายนี้จะคาดตามความยาวจากหัวจรดหางหัวค่อนข้างแหลม

ซึ่งสีของครีบจะกลมกลืนกับสีพื้นลำตัวและบริเวณขอบครีบด้านนอกเป็นสีแดงหรือสีส้ม บริเวณแนวโคนครีบมีจุดกลมสีแดงประแต้มตลอดแนวซึ่งจุด และลายแถบสีแดงเหล่านี้ขณะที่ปลายังเล็กจะเป็นสีน้ำตาลอมส้มหรือเหลือง

เมื่อปลาโตขึ้นจุดและแถบลายเหล่านี้สีก็จะเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้มในที่สุด แต่ปลาส่วนใหญ่สีแดงสดจะเข้มจัดเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหัว ส่วนลาย ที่อยู่ค่อนไปทางหางโดยมากจะเป็นสีแดงส้มหรือสีน้ำตาลส้ม พบน้อยตัวมากที่มีลายสีแดงเพลิงทั้งตัว

สำหรับลวดลายและสีสันทั้งหมดนี้ ยังแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องที่ สำหรับปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลวดลายและสีสันแตกต่างออกไป ซึ่งภาษาใต้จะเรียกปลาชนิดนี้ว่า “กระทิงลายดอก” หรือ “กระทิงลายดอกไม้” มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน โดยมักชอบหลบอยู่ใต้ซากไม้ใต้น้ำเพื่อรออาหาร ซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป จากสีสันที่สวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่สำหรับสถานะในธรรมชาติ มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถูกจับจากธรรมชาติมากเกินไป

ลักษณะการว่ายน้ำของปลากระทิงไฟจะไม่เหมือนกับปลาทั่วไป

คือจะว่ายเลื้อยลักษณะเหมือนกับงูและปลาไหลมากกว่า ปกติมักกบดานซ่อนตัวอยู่ตามก้นน้ำที่มีไม้น้ำ ซอกหินหรือตามซากปรักหักพังต่างๆ โดยจะอยู่รวมเป็นฝูงและรอดักจับกินเหยื่อที่พลัดหลงเข้ามาในถิ่น ในธรรมชาติมักออกหากินยามค่ำคืน

กระทิงไฟ

Advertisements

ในขณะที่ปลาหรือเหยื่อกำลังเผลอก็จะค่อยๆ ว่ายเลื้อยเข้าไปหาอย่างช้าๆ ลักษณะเช่นกับงูที่เลื้อยเข้าหาเหยื่อ หรือบางครั้งก็ซุ่มรอให้เหยื่อว่ายเข้ามาใกล้ พอได้จังหวะก็จะฉกกัดอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่การล่าเหยื่อมักไม่ค่อยพลาด จัดว่าเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่นและชอบกินปลาเล็กเป็นอาหาร

ดังนั้นจึงไม่ควรนำไปเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเลือกปลาที่หากินต่างระดับกัน เช่น เลี้ยงรวมกับปลาที่หากินตามบริเวณผิวน้ำหรือระดับกลางน้ำที่มีความว่องไวปราดเปรียวพอสมควร และควรเป็นปลาที่ขนาดใหญ่กว่าปลากระทิงไฟด้วย สำหรับปลาในตระกูลแคทฟิชหรือปลาที่มีหนวดไม่ควรนำมาเลี้ยงรวม เพราะส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่หากินตามพื้นก้นน้ำ จึงไม่แน่ว่าใครจะกินใคร แต่โดยมากปลาเล็กก็มักจะตกเป็นเหยื่อของปลาใหญ่

ปลาก้าง (Red-tailed Snakehead)

Advertisements
แหล่งที่มาสถานีประมงน้ำจืดราชบุรี