ปลาช่อนข้าหลวง ปลาช่อนไทยราคาแรง พร้อมวิธีเลี้ยง

ปลาช่อนข้าหลวง หรือ ปลาช่อนทอง (Emperor snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น

ปลาช่อนข้าหลวง

ปลาช่อนข้าหลวง Emperor Snakehead (Channa marulioides) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ที่มีความสวยงามโดดเด่นในประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง ปลาช่อนชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่มีพื้นลำตัวออกสีเหลือบเขียวอ่อนหน่อยๆ และมีลวดลายสีเหลืองทองออกสีส้มสลับกับจุดแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง

ปลาช่อนข้าหลวง มีขนาดโตเต็มที่ความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร โดยในประเทศไทย เราพบปลาช่อนชนิดนี้ เฉพาะใน “ภาคใต้เท่านั้น” มันเป็นปลาช่อนที่พบได้ใน “เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี”

เราอาจจะพบที่บริเวณพื้นที่อื่น เช่น มาเลเซียไปจนถึงอินโดนีเซีย เช่น เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค

ปลาช่อนข้าหลวง โดยปลาที่พบที่เขื่อนรัชชประภาของไทย จะมีสีเหลืองที่สดสวยกว่าปลาช่อนข้าหลวงชนิดที่พบได้มากในประเทศมาเลเซีย ลูกปลาช่อนข้าหลวง ที่มีขนาดเล็กนั้น สีสัน และลวดลายจะยังไม่ชัดเจน ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ถึงเข้ม และมีขีดดำพาดผ่านตลอดแนวลำตัวมองเห็นชัดเจน

ลูกปลาในช่วงแรกเกิดถึงขนาดประมาณ 2 นิ้ว จะอยู่รวมกันเป็นฝูง (ลูกครอก) เหมือนปลาช่อน โดยมีพ่อและแม่ปลา คอยดูแล เพื่อป้องกันอันตรายจากปลาอื่น เมื่อลูกปลาช่อนมีขนาด 3 นิ้วขึ้นไป ลูกปลาจะเริ่มแยกออกหากินเองตามวิถีชีวิตของแต่ละตัวต่อไป

อาหารของลูกปลาในวัยนี้ ก็ได้แก่พวก ลูกน้ำ, ไรทะเล, แมลงขนาดเล็กต่างๆ และจะเปลี่ยนไปตามขนาดของตัวปลา ผู้เลี้ยงสามารถฝึกปลาช่อนข้าหลวงนี่ให้กินอาหารสด เช่นกุ้งขาวหั่นชิ้นเล็กๆหรือกุ้งฝอยแช่แข็งได้ อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังในการให้อาหารด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่บางครั้ง มีการโฉบกินอาหารอย่างรุนแรง จึงควรใช้อุปกรณ์ต่างๆในการป้อนอาหาร หลีกเลี่ยงการให้อาหารปลาชนิดนี้ ด้วยมือหรือนิ้วเปล่าๆ การให้อาหารแก่ลูกปลาเล็กที่เลี้ยงรวมกันเป็นฝูง จะทำให้ปลาเชื่องเร็ว และกินอาหารได้ดีขึ้น เพราะปลาจะระแวงใน

การเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม

Advertisements

ลูกปลาช่อนชนิดนี้ที่มีขนาดเล็กสามารถปรับตัวให้คุ้นกับสถานที่เลี้ยงดีกว่าปลาใหญ่ และสามารถฝึกให้กินอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งอาหารเม็ดสำหรับปลาที่โตแล้ว (ปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ) จะใช้เวลาในการทำความคุ้นเคยกับที่เลี้ยง และผู้เลี้ยงมากกว่า

Advertisements

หากเลี้ยงตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ปลาบางตัวจะมีความคุ้นเคยกับเจ้าของอย่างน่าอัศจรรย์ ปลาช่อนข้าหลวงเป็นปลาที่ไม่เรื่องมากนักในเรื่องของค่าต่างๆ ของน้ำ เหมือนกับการเลี้ยงปลาทั่วไป ขอเพียงแค่เป็นน้ำที่ไม่มีคลอรีนแรงๆ ก็เพียงพอ แต่น้ำที่เลี้ยงควรใช้น้ำที่สะอาด มีขอนไม้แช่ในน้ำพอประมาณ เพื่อให้ได้สารแทนนินที่ละลายออกมาจากขอนไม้ ทำให้น้ำเป็นกรดอ่อนๆ น้ำจะออกสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่งจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้นเรื่องของตู้เลี้ยง

ขนาดของตู้ปลา

ปลาช่อนข้าหลวงนั้นสามารถโตได้เต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร หรือประมาณ 36 นิ้ว (แต่ในตู้เลี้ยงที่มีขนาดไม่ใหญ่มากจริงๆ อาจจะไม่ถึง) ดังนั้นตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ จึงควรมีขนาดใหญ่ หากเลี้ยงตัวเดียว ตู้ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 36 นิ้ว มีที่หลบซ่อนให้พอสมควร แต่ถ้าจะเลี้ยงรวมกัน ก็ไม่ควรต่ำกว่า 5-6 ตัวขึ้นไป ตู้เลี้ยงควรจะต้องมีขนาดตั้งแต่ 48-60 นิ้วขึ้นไป

ปลาช่อนข้าหลวง

เพราะปลาจะได้มีที่ว่ายหลบหลีกกันบ้าง และลดความเครียดให้กับปลาได้อีก ในส่วนของอุณหภูมิในที่เลี้ยง เนื่องจากปลาชนิดนี้ เป็นปลาในย่านอาเซียนอยู่แล้ว ทำให้ปลาสามารถเลี้ยงตู้เลี้ยงได้อย่างสบาย ในอุณหภูมิปกติโดยเฉลี่ยของภูมิภาคนี้ คือประมาณ 25 – 30 องศาเซลเซียส

แต่ช่วงอากาศเย็นมาก หรือร้อนจัด ก็ต้องคอยระวังเฝ้าดูแล และแก้ไขปัญหาไปตามสมควรแก่สถานการณ์ด้วยนะครับ เพราะในบางช่วงของปี อากาศบ้านเราก็เย็นสุดจิต หรือ ร้อนอิ๊บอ๋าย ได้เช่นกัน ขนาดคนยังแทบทนไม่ได้ นับประสาอะไรกับปลาน้ำจืดตัวหนึ่ง…

ข้อพึงระวัง

สำหรับปลาชนิดนี้ก็เหมือนปลาตระกูลปลาช่อนทั่วไป คือกระโดดเก่งมากๆ ดังนั้นในตู้ที่เลี้ยงจำเป็นที่จะต้องมีฝาปิดมิดชิด (อย่างดี) หาวัสดุปิดช่องกรองให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกระโดดเข้าไปแห้งตาย นอกจากนี้การเปลี่ยนน้ำไม่ควรทำในปริมาณมากๆ ควรเปลี่ยนครั้งละไม่เกิน 20% ต่อสัปดาห์ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีนเจือปนครับ ถ้าทำได้ตามนี้แล้วล่ะก็ รับรองได้ว่าปลาช่อนชนิดนี้ จะสวยเป็นปลา “โชว์ใช้รับแขก” ประจำบ้านได้อย่างสบายๆ และถ้าเลี้ยงเขาได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ก็อาจจะเห็นการจับคู่ผสมพันธุ์กันในที่เลี้ยง ให้ได้ชื่นใจกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาสัตว์โลกน่ารัก