ดีไอวาย กบยางผิวน้ำให้เป็นปลั๊กป๊อปใต้น้ำ

บอกไว้ก่อนนะครับ “ปลั๊กป๊อป” เป็นคำที่ผมเรียกเหยื่อที่ผม DIY (Do it Yourself) ขึ้นมาในครั้งนี้ ^ ^ น้าอ่านแล้วก็อย่าได้ไปถือสาชื่อประเภทเหยื่อ ตกปลา ที่ผมเรียกมันเลยนะครับ และผมเองได้ทดลองใช้กับปลากระพงขังเท่านั้นด้วย ซึ่งจริงๆ ผมก็ไม่เคยคิดจะเขียนเรื่องนี้ เพราะดูมันดูธรรมดาจริงๆ แต่ดูจากการนำมันไปตกปลากระพงแล้วถูกถามถึงที่บ่อ ว่าถ่วงยังไง..? หรือทำยังไงให้กระพงกิน แม้แต่ขอซื้อต่อก็เคยมี ผมเลยคิดได้ว่าเออเหยื่อถูกๆ แบบนี้ก็ควรจะนำมาเขียนเหมือนกันแหะ กับวิธีการใช้เหยื่อให้เกินกว่าขีดจำกัดที่มันออกแบบมา แน่นอนว่าต้องคิดนอกกรอบ

Scumfrog Junior คือเหยื่อที่เลือกมา DIY
ขอเน้นไว้นิดหน่อยนะครับ เรื่องเหยื่อน้าไม่จำเป็นต้องใช้เหมือนผมครับ สามารถเลือกตัวอื่นที่ชอบได้เลย (ถ้าเลือกตัวอื่นวิธีใช้งาน กับการถ่วงต้องดัดแปลงดูเอา) ส่วนเหตุผลที่ผมเลือก Scumfrog Junior เพราะตัวมันเบา ยางดีใช้ได้ แข็งแรง ราคาไม่แรง (165 บาท) ส่วนตัวราคาแรงที่ผมคิดว่าเอามาทำเป็นปลั๊กป๊อปดีมากๆ คือ Evergreen Popper Frog (เกือบ 500 บาท แพงแต่แจ่มมาก) ถ้าเป็นตัวนี้รับประกันว่าสร้างแรงดันใต้น้ำได้ดี ไม่หนัก เพราะยางดี โคตรทน แต่ด้วยความที่เป็นการใช้เหยื่อผิดงานที่แพงเกินไป เลยเลือกตัว Junior 160 บาทมาใช้ดีกว่า
diy001
อุปกรณ์สำหรับ DIY
1. กบยาง Scumfrog Junior (165 บาท)
2. กาวช้าง (ไม่แนะนำให้ใช้กาวร้อน)
3. แผ่นตะกั่ว หรือตะกั่วเส้นก็ได้ (แผ่นตะกั่วถูกมาก 20 บาทใช้กับกบได้หลายสิบ สั่งเอาจากร้านปากน้ำฟิชชิ่งก็ได้)
4. ท่อหด (สำหรับน้าที่ใส่ใจในความสวยงาม แต่ผมไม่ใช้หลอกนะ)
5. เบ็ด 3 ทาง เลือกขนาดเหมาะๆ ใหญ่พอประมาณ
6. สปีดริง (ใหญ่แค่ไหนบอกไม่ถูก แต่ใหญ่ขนาดที่ใช้กับเหยื่อยาว 130mm+)
อุปกรณ์ก็อย่างที่เห็นครับ ต้นทุนก็ไม่แพงอะไรมาก เก็บไว้ทำเหยื่อตัวต่อๆ ไปได้อีกหลายตัว ส่วนเรื่องสีเหยื่อผมเลือกโทนสี “มืด” เป็นหลัก เพราะเชื่อว่าเป็นสีที่ชัดที่สุดเมื่ออยู่ใต้น้ำตาม “ทฤษฎีแสงและเหยื่อปลอม”

การ DIY กบ Scumfrog
จริงๆ ขั้นตอนไม่ยากครับ แต่ก็ขอเขียนเป็นตัวอย่างด้วยเลยแล้วกัน และน้าๆ สามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้กับเหยื่อตัวอื่นขึ้นอยู่กับจินตนาการของน้าๆ ครับ
Diy002
1. เริ่มจากถลกเหยื่อขึ้นมาก่อนเลยครับ จะเห็นแกนลวดที่เป็นตัวเบ็ดของเหยื่ออยู่
diy003

Advertisements

2. แนะนำให้บีบเงี่ยงตัวเบ็ดออกนะครับ เพราะเราจะใช้คมเบ็ดชุดนี้เป็นตัวรักษาศูนย์ของยาง
diy004
3. ตะกั่วแผ่นครับ จากภาพหนาไม่ถึงมิล ผมตัดแบ่งออกมาก่อนตามที่เห็น ถ้าเป็นตะกั่วเส้นก็เอาไปพันรอบแกนเหยื่อได้เลย
diy005
4. จับพันชิดๆ ดังภาพติดกาวที่แกนด้วยจะดีครับจะได้แน่นๆ ในขั้นตอนนี้ยังไม่ได้ลองเอาไปลอยน้ำนะ (ขี้เกรียจลงไปลอย)
diy006
5. พอพันจนกลม ก็จะได้ดังภาพ อย่าลืมลบคมของตะกั่วด้วยนะครับ เพราะยางจะวิ่งเล็กน้อย
diy007
6. ต่อไปเป็นขั้นตอนการใส่ “สปีดริง” ให้บีบคมของตัวเบ็ดเข้ามา แล้วยัดสปิดริงลงไปเลย ตรงนี้สามารถใช้พวกกิ๊บได้เช่นกัน
diy008
Advertisements

7. ให้สปิดริงไปอยู่ตามภาพก็เป็นอันเรียบร้อย
diy009
8. หลังจากนั้นก็เอาตัวเบ็ดมาใส่ได้เลย จะเพิ่มพู่หรือไม่เพิ่มก็สุดแล้วแต่จะชอบนะครับ (แนะนำให้ตัวเบ็ด 3 ทางใหญ่ว่าในภาพนะครับ และผมบีบเงี่ยงนะครับ)
diy010x  หลังจากได้กบปลั๊กป๊อป ก็เอามันไปลอยน้ำดูครับ ดูว่าเมื่อโยนในสภาพแห้งๆ มันจะลอย และลองดูดน้ำเข้าเหยื่อให้เต็ม มันต้องค่อยๆ จมลงอย่างช้าๆ แน่นอนว่าตูดมันจะเป็นตัวดึงให้จม และจะถอยหลังจมนิดหน่อย ถ้ามันจมเร็วแบบวูบลงไปเลย แนะนำให้ลดน้ำหนักลง เพราะเราจะเล่นท่าได้น้อย (กระบวนท่าเคาะ แหะๆ) หากได้ระดับดีแล้วก็เก็บไว้ตกกระพงได้เลยครับ ^ ^

diy011 การล็อคเหยื่อด้วยตัวเบ็ดบน เพื่อรักษาศูนย์ของตัวเหยื่อ ลดโอกาสที่ยางจะขยับได้อีกนิดหน่อย แรกๆ ยางยังแน่น พอโดนปลาบ่อยๆ เริ่มยับ ต้องใช้วิธีนี้ครับ พอปลากัดยางจะวิ่งขึ้นไปบนสาย

เกี่ยวกับการใช้งานกบปลั๊กป๊อป
วิธีการใช้งานกบแบบนี้ให้ได้ผลดีคือการเคาะเหมือน “ปลั๊ก” ซึ่งถ้าพูดแบบนี้เหมือนง่าย แต่เท่าที่เหล่บ่อกระพงหลายๆ ทริป มีน้าจำนวนน้อยมากที่ใช้เหยื่อปลั๊ก ผมเลยไม่แน่ใจว่าเคาะเป็นกันหรือเปล่า แต่กบที่ทำมาถ้าลากกับเฉยๆ ปลาไม่กินนะครับ ^ ^

mma001

โดยหลักการ คำว่า “เคาะปลั๊ก” คือการตวัดคันลงล่าง โดยน้าต้องเคาะเป็นจังหวะที่ “จินตนาการ” เอาไว้ และต้องคิดถึงปัจจัยภายนอก เช่น ความลึกของบ่อ, ประเภทเหยื่อ, ปลาเป้าหมาย, อาหารที่ปลาเป้าหมายกินประจำ

ตัวอย่างเรื่อง “อาหารที่ปลากินประจำ” มีส่วนมากกับหมายปลากระพงขัง และหาข้อมูลได้ง่าย ส่วนหมายธรรมชาติหาข้อมูลยากหน่อย กรณี “ปลาหมอ (ปลาเป็น)” เยอะและบ่อให้ปลาหมอเป็นอาหาร ปลากระพงมักจะไล่เหยื่ออยู่พื้นบ่อ และมีโอกาสที่จะไล่เหยื่อที่เคลื่อนที่ช้าด้วย หรือหากบ่อให้ “ลูกปลานิล (ปลาเป็น)” ปลากระพงมักจะอยู่กลางน้ำ จนถึงผิวน้ำ เนื่องจากลูกปลานิลชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และชอบลอยอยู่ผิวน้ำด้วย หากบ่อให้ปลานิลเป็นประจำ จากประสบการณ์อันน้อยนิดของผม พอจะสรุปมาได้ว่า ปลากระพงจะไล่เหยื่อเร็วกว่า และกินง่ายกว่าปลาหมอ (แต่บ่อที่ให้เหยื่อเป็นในไทยมีไม่กี่แห่ง) หากไปเจอบ่อที่ให้อาหารพวกปลาตาย ซากปลาอะไรพวกนี้ ทำใจได้เลยครับ แทบจะต้องรอปลาสาดถึงจะได้ตัวง่ายๆ

10576970_1425128347778409_5719552016811058733_n

ตัวอย่างเรื่อง “ประเภทเหยื่อ” เนื่องจากกบปลั๊กป๊อปที่ทำให้ดู ผมตั้งใจทำเป็น “จมช้า” หากรีบเคาะมันจะไม่จมลึก หรืออาจจะลอยขึ้นมาเลย อีกอย่างคือจงนึกไว้เสมอว่าเหยื่อที่น้าทำมา “แอคชั่นไม่ตายตัว” การที่น้ามี “เซ็นเซอร์ทีฟ” รับรู้ความผิดปกติของเหยื่อเมื่ออยู่ใต้น้ำ จะสำคัญ เนื่องจากโอกาสที่เหยื่อบิดตัวผิดรูปมีสูง การรับรู้ถึงเรื่องนี้จะช่วยลดความเสียเวลาได้ เพราะถ้าเหยื่อผิดปกติก็เก็บสายมาแก้ไขได้เลย ..เมื่อรู้แบบนี้ก็อย่า “เคาะแรง” เหมือนป๊อปไม้ ป๊อปพลาสติกแข็งนะครับ ลองหาน้ำหนักการเคาะที่เหมาะสมจากหน้างานครับ

เมื่อรู้ “อาหารที่ปลากินประจำ” “ประเภทเหยื่อ” และแน่นอนว่าน้าทำเหยื่อมาตกกระพงครับ ซึ่งปกติปลากระพงเป็นปลา “กลางน้ำ” มันสามารถหาเหยื่อที่พื้น จนถึงผิวน้ำได้ หากเป็นกระพงเล็กมักจะอยู่กลางน้ำ การรักษาความลึกเหยื่อให้อยู่กลางน้ำมักจะได้ตัว แต่หากเหยื่อที่เลี้ยงเป็นปลาหมอ ก็ต้องลองพื้นบ่อไปเลย เพราะปลาหมอชอบอยู่แถวพื้น ..สุดท้ายต้องไล่ความลึกดูครับ ถ้าเจอก็จำไว้ แล้วใช้ความลึกนี้ในการไล่ล่าปลากระพง

จังหวะเคาะของผมเป็นแบบไหน..?
บอกไว้ก่อนเลยว่าอย่ายึดติดกับจังหวะเดิมๆ ต้องไล่หาเอา ^ ^ ส่วนจังหวะที่ผมใช้ประจำและมักใช้ก่อนเลยคือ เคาะ 1, เคาะ 2, เก็บสาย, เคาะ 3, หยุดรอ 3 – 4 วินาที และวนกลับมาเคาะจังหวะเดิมจนจบ ..ซึ่งสิ่งที่ต้องเพิ่มเข้าไปในจังหวะคือ
1. น้ำหนักเคาะ
2. ความเร็วในการเคาะ
3. ความยาวในการเคาะ
4. สุดท้ายเหมือนจะไม่สำคัญ แต่มันสำคัญคือระยะเวลาหยุดรอ
เพราะมีปลาจำนวนมากจะชาร์ตเหยื่อตอนหยุดรอ หรือตอนเริ่มเคาะหลังจากที่หยุดรอหลายครั้ง ..เท่าที่บอกได้เกี่ยวกับการเคาะคงมีเท่านี้ครับ สุดท้ายต้องไปลองดูกันและอย่าลืมว่าจินตนาการสำคัญ

Tip.. การต่อสายเข้าตัวเหยื่อ
อันนี้เป็นปัญหาที่ผมพบเมื่อใช้กบปลั๊กป๊อปตัวนี้ (ตัวอื่นก็น่าจะเป็น) คือเมื่อปลากินและน้าสู้กับปลา ตัวยางจะรูดขึ้น จนหลุดออกจากแกนเหยื่อ จนมันขึ้นไปอยู่บนสาย ซึ่งจริงๆ เป็นเรื่องดีครับ เพราะยางจะได้รับความเสียหาย “น้อย” แต่หากน้าต่อสายหน้ากับเหยื่อด้วย “กิ๊บ” หรืออะไรก็ตามที่ใช้ต่อปลายสายกับเหยื่อที่มี “ขนาดใหญ่” มันจะทำให้ปากของเหยื่อขาดได้ง่ายครับ
..ทางแก้ดีที่สุดคือ การต่อสายโดยตรงกับเหยื่อ โดยไม่ผ่าน “กิ๊บ” เลย ส่วนทางแก้ลองลงมาคือหา “กิ๊บ” ที่เล็กและเรียวมาต่อครับ เพราะรักษาเหยื่อให้มีอายุยืนยาวขึ้นอีกนิด (ไม่แนะนำให้ล็อคเหยื่อเข้ากับแกน เพราะปลาจะกัดเหยื่อขาด)

จบแล้วนะครับ สุดท้ายก็ขอให้ตกปลาให้สนุก ^ ^

10 การโกหก ของพวกบ้าตกปลา

Advertisements
Advertisements