รายงานการพบมด Diacamma assamense ครั้งแรกในไทย

นักวิจัยกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พบมด Diacamma assamense ครั้งแรกในประเทศไทย โดยบริเวณที่พบ พบในป่าเบญจพรรณ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กําแพงเพชร

นักวิจัยกลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ โดยนางสาวเนตรนภา โพธิ์ศรีทอง นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ และดร.แก้วภวิกา รัตนจันทร์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ ร่วมกับ ดร.วียะวัฒย์ ใจตรง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รายงานการพบมด Diacamma assamense Forel, 1897 ครั้งแรกในประเทศไทย

มด Diacamma assamense มีขนาดลำตัวยาว 10-11 มม. สีดำ หัว อก เอว และท้องปล้องแรกมีสันร่อง คล้ายลายนิ้วมือ ส่วนเอวยาวเป็นแท่ง ด้านบนของเอวมีหนามแหลม 1 คู่ โดยมีบทบาทในระบบนิเวศ คือ เป็นตัวห้ำ** กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร

การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Specimen 2 : 17-21 (2022) ซึ่งเผยแพร่ผลงานออนไลน์ไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา

“สำหรับมดสกุล Diacamma เป็นมดที่ไม่มีราชินี อยู่ในวงศ์ย่อย Ponerinae มีการกระจายจากอินเดียไปยังออสเตรเลียและมีประมาณ 24 สายพันธุ์”

**ตัวห้ำคือ

Advertisements

แมลงตัวห้ำ เป็นแมลงที่ปกติแล้ว หากินเหยื่อที่เป็นแมลงด้วยกันเป็นอาหาร บางชนิดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย บางชนิดเป็นตัวห้ำเฉพาะระยะตัวอ่อน บางชนิดก็เป็นตัวห้ำตอนเป็นตัวเต็มวัย จะออกหากินเหยื่อโดยการกัดกินตัวเหยื่อ หรือ การดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อ มนุษย์ใช้ ประโยชน์จากแมลงตัวห้ำ โดยนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูทางการเกษตร

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช