ดาวเทียมญี่ปุ่นที่โคจรระหว่างโลกและดวงจันทร์ ถ่ายภาพด้านไกลของดวงจันทร์ได้สำเร็จ

เมื่อไม่กี่วันก่อน Artemis I จรวดขนาดใหญ่ที่สุดได้ขึ้นสู่อวกาศ โดยข่าวกล่าวเพียงว่า เป็นการส่งยานอวกาศ Orion ไปโคจรรอบดวงจันทร์แล้วกลับมายังโลก แต่ Orion ไม่ใช่ยานเพียงลำเดียวที่ถูกส่งไป เพราะยังมีดาวเทียมขนาดเล็กที่เรียกว่า CubeSats เดินทางไปพร้อมกันด้วย

CubeSats เป็นดาวเทียมขนาดเล็กที่ขึ้นไปพร้อมกับ Artemis I และในตอนนี้ก็เริ่มส่งสิ่งที่น่าสนใจกลับมาให้กับวิจัยแล้ว และในหมูดาวเทียมก็มี EQUULEUS (EQUilibriUm Lunar-Earth point 6U Spacecraft) รวมอยู่ด้วย พวกเขาต้องการให้มันโคจรรอบโลกได้ในเวลาเดียวกันกับดวงจันทร์

EQUULEUS กำลังทดสอบก่อนถูกนำไปใช้จริง

ในการทำเช่นนี้ มันจะวางตำแหน่งตัวเองที่ second Lagrangian point (L2) ของระบบโลก-ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าจุดที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้สิ่งต่างๆ สามารถโคจรรอบโลกได้ในเวลาเดียวกันกับดวงจันทร์ สิ่งนี้จะช่วยรับประกันว่า EQUULEUS จะอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 442,600 กิโลเมตร (275,000 ไมล์)

CubeSat มีเครื่องมือสามอย่าง หนึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ศึกษาพลาสมาสเฟียร์รอบโลก เพื่อทำความเข้าใจว่าอนุภาคที่มีประจุมีพฤติกรรมอย่างไรในภูมิภาคนี้ สิ่งนี้จะช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการปกป้องมนุษย์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในภารกิจอวกาศระยะยาวรอบระบบโลกและดวงจันทร์

อีกสองระบบใช้เพื่อประเมินฝุ่น ดาวเคราะห์น้อย และแม้กระทั่งผลกระทบต่อดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังจะมองหาดวงจันทร์ขนาดเล็กซึ่งเป็นวัตถุใกล้โลกขนาดเล็กที่บางครั้งอาจถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูด ไว้ดังเช่นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกขนาดเล็กที่มีชื่อว่า 2020 CD3

ต่อจากนี้ EQUULEUS จะใช้เวลาหกเดือนเพื่อเดินทางไปยัง L2 จากนั้นใช้เวลาอีกหกเดือนในการดำเนินการทางวิทยาศาสตร์ที่นั่น ภาพของด้านไกลดวงจันทร์จะถูกถ่ายระหว่างที่เข้าใกล้ดวงจันทร์มากที่สุด ซึ่งจะอยู่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ 5,000 กิโลเมตร (3,100 ไมล์)

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements