บอกว่าก่อนว่าการทำแบบนี้ในประเทศไทยถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายนะครับ ถึงแม้จะมีคนแอบทำก็ตาม มันเป็นวิธีจับปลาที่อันตราย ทั้งกับสัตว์น้ำ และกับตัวคนช็อตเองด้วย อันนี้ดูเพื่อให้รู้ว่าเป็นงี้นิเอง เอาล่ะดูคลิปได้..เน้นว่าอย่าเลียนแบบนะ ผิดกฎหมาย
คำเตือนกฎหมายไทย
ห้ามใช้ไฟฟ้าช็อตปลาระวางโทษปรับ 1 ล้าน
เตือนประชาชนจับสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำสาธารณะ ห้ามใช้วัตถุอันตราย กระแสไฟฟ้าและวัตถุระเบิดจับสัตว์น้ำ หากพบฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงตั้งแต่ 2 แสนถึง 1 ล้านบาท
การจับสัตว์น้ำโดยใช้กระแสไฟฟ้า หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ช๊อตปลา” หรือ “หม้อน๊อก” ผู้ใช้เครื่องมือทำการประมงด้วยวิธีการนี้ มุ่งหวังที่จะจับปลาชนิดขนาดที่ต้นต้องการ โดยไม่สนใจว่าลูกปลา หรือ สัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นที่จะเจริญเติบโต แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป จะต้องตาย หรือสูญเสียไป
ด้วยเหตุผลของการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ ฝ่ายนิติบัญญัติจึงได้ให้มีบทบัญญัติของกฎหมาย พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ…มีความผิดตาม มาตรา 62 ทวิ จำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึง ห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ซึ่งอัตราโทษค่อนข้างสูงง เมื่อเทียบกับความผิดอื่นในพระราชบัญญัตินี้
ต่อมามีการตรากฎหมายประมงฉบับใหม่ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ยกเลิกพระราชบัญญัติการประมง ฉบับเดิมทั้งหมด แต่ก็ยังมีการห้ามใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมง โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 60 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้กระแสไฟฟ้าทำการปประมง… มีความผิดตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนถึงหนึ่งล้านบาท…
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติขของฎหมาย ทีมีบทกำหนดโทษที่สูงสำหรับการใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมง ย่อมแสดงให้เหตุว่าทุกขั้นตอนในกระบวนการตรากฎหมายยอมรับว่าการทำการประมงโดยใช้กระแสไฟ้า ส่งผลกระทบรุนแรงต่อปลา หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น
ด้วยบทกำหนดโทษที่สูง ไม่ได้ทำให้การการกระทำความผิดลดน้อยลง ตั้งแต่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ 14 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นมา พบการจับกุมดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับการใช้กระแสไฟ้ฟ้าทำการประมง เฉพาะ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 จำนวน 255 คดี ผู้ต้องหา 200 คน และ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31มีนาคม 2561 จำนวน 143 คดี ผู้ต้องหา 110 คน (ข้อมูล กองตรวจการประมง กรมปประมง) จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่การกำหนดอัตราโทษที่สูงไม่ได้ทำให้การกระทำความผิดในลักษณะนี้ลดลง
มาดูว่าเป็นไงเมื่อโยลงน้ำ และหมึกจะจับโยยังไง