ปลาม้าและปลาหางกิ่ว ความจริงเป็นยังไงกันแน่?

เรื่องของเรื่อง ผมอยากจะรู้ว่าปลาม้าและปลาหางกิ่ว พอค้นไปผมสามารถระบุได้ล่ะว่าปลาม้าเป็นยังไง เพียงแต่ปลาหางกิ่วเนียดิ มันไม่สามารถระบุได้ทางตามหลักวิชาการ มันมีแค่ภาพที่แสดงทางกายภาพแล้วเรียกว่ามันคือปลาหางกิ่ว แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาม้าคือ Boesemania microlepis และปลาหางกิ่วบางข้อมูลก็ยัดชื่อเดียวกัน .. ก็เลยงง มาอ่านตรงนี้แล้วมาช่วยไขปริศนากันดีกว่า

ปลาม้า

ลักษณะทางกายภาพที่บอกเล่ากันมา

Advertisements

ปลาม้า มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวค่อนข้างเล็ก หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็กๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส

ปลาม้า หางกิ่ว

ปลาหางกิ่ว มีการบอกกันว่า ตัวจะออกสีเหลืองแต่ก็มีตัวสีขาวจนเหมือนปลาม้าเช่นกัน เกล็ดจะแข็งและหยาบกว่า ตัวก็ป้อมสั้นกว่า ..การอธิบายของปลาหางกิ่วก็ประมาณนี่ ..นี่แสดงให้เห็นว่าปลาชนิดนี่ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะอะไร?

“ในฐานนะนักตกปลา ผมรู้จักปลา 2 ชื่อนี่ดี แต่พอค้นๆ ข้อมูลลงไป ก็พบว่าจริงๆ แล้วถ้าว่าตามหลักวิชาการ คำว่า “ปลาหางกิ่ว” มันเป็นแค่ชื่อเรียกเล่นๆ ของปลาในวงศ์ปลาจวด ทั้งหมดรวมทั้งปลาม้าด้วยหรือเปล่า?”

ปลาหางกิ่วคือปลาจวด ปลาม้าก็ปลาจวด ปลาหางกิ่วก็คือปลาม้า หรือยังไง?

เริ่มงงใช่เปล่าครับ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ปลาม้า หางกิ่ว อยู่ในวงศ์ปลาจวด แล้วในไทยมีปลาในวงศ์นี่ 35 ชนิด และจากที่ผมพยายามใช้พลังสมองถึง 120% ค้นๆ ไป ผมเลยสรุปแบบหยาบๆ ได้ประมาณนี้

  • ปลาม้า = วงค์ปลาจวด = ปลาชนิดเดียวในวงค์ปลาจวดที่อยู่น้ำจืดได้ (อันนี้ถูกต้องแน่นอน)
  • ปลาหางกิ่ว (ที่นักตกปลาเรียกกัน) = ปลาจวด = วงค์ปลาจวดที่พบในไทย 40 ชนิด ทั้งหมดพบในน้ำกร่อย-เค็ม (อันนี้ไม่แน่ใจ)
“ถ้าน้าๆ หาคำว่า (ปลาหางกิ่ว) ใน google น้าๆ ก็จะเจอรูปปลาหางกิ่วที่คล้ายกับปลาม้า แต่จะไม่เจอข้อมูลทางวิชาการของมัน แถมจะไปเจอหางกิ่วหม้อ หรือสีขนอีก”

มาดูความแตกต่างระหว่างปลาม้าและปลาจวดที่ภายนอกเหมือนกัน

หลายครั้งที่พบว่ามีคนเข้าใจผิดคิดว่าปลาม้าเป็นปลาจวด หรือปลาจวดเป็นปลาม้า เนื่องจาก รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูเหมือนกันมาก แต่จริงๆ ปลาม้ากับปลาจวดเป็นปลาคนละชนิดกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ ต่างกันทั้งในชื่อของ Genus และ Species ถึงแม้ปลาม้าและปลาจวดจะอยู่ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae) เช่นเดียวกันก็ตาม

ปลาม้า
ปลาม้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis (Bleeker, 1858) เป็นปลาน้้าจืดชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae) ที่พบในประเทศไทย มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็กๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้านแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมากเกล็ดเส้นข้างล้าตัวถึงปลายของครีบหาง ล้าตัวสีเหลืองเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้้า ด้านข้างล้าตัวมีแถบสีคล้้าจางๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส มีความยาวประมาณ 25 – 50 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร
ปลาจวด มีอยู่ด้วยกันหลายสกุล และหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นปลาน้้ากร่อยและทะเล ชนิดที่มีลักษณะคล้ายปลาม้ามาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bahaba polykladiskos (Bleeker,1852) มีรูปร่างเรียวส่วนหางคอดกิ่ว ปากมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรบนยาวถึงกลางตาหรือขอบตาหลัง ฟันมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ครีบหลังแบ่งเป็นสองครีบ ครีบแรกเป็นก้านครีบแข็ง ครีบที่สองมีก้านครีบแข็งเป็นก้านครีบแรกต่อด้วยก้านครีบอ่อน ครีบหางเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ล้าตัวสีเทาอ่อนหรือเหลืองเหลือบเงิน มีขนาดตัวประมาณ 30-40 ซม. เกล็ดเรียบมีขนาดเล็ก เกล็ดเส้นข้างล้าตัวถึงปลายของครีบหาง
“จากคำอธิบายทางกายภาพ น้าๆ น่าจะพอมองออกว่าปลาม้า และปลาจวดชนิด Bahaba polykladiskos มีความเหมือนกันมาก ดีไม่ดีคนที่ตกมันได้ อาจคิดว่าเป็นปลาม้าไปเลย”
ถ้าหน้าตาแยกไม่ออก ลองเปรียบเทียบกระเพาะลมปลาม้าและปลาจวด (บน : ปลาจวด, ล่าง : ปลาม้า)
Advertisements

เอาล่ะนี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ของผม บอกตรงๆ ว่า พอได้ทำเรื่องนี้ ผมยิ่งสงสัยเข้าไปใหญ่ว่าสรุปปลาหางกิ่วมันคืออะไรกันแน่ จริงๆ แล้วมันก็คือปลาม้าที่ไปอยู่ในน้ำกรอยหรือเปล่าหว่า? หรือมันก็คือหนึ่งในปลาจวด 40 ชนิดในไทย? น้าๆ มีความเห็นยังไง บอกกันได้ครับ และเน้นอีกทีว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่ได้ฟันธงความถูกต้อง เรายังต้องแก้ไขกันต่อไป

วิธีดูปลาม้า – หางกิ่ว ท้ายคลิป

Advertisements

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรประมงน้้าจืด