มือใหม่หัดตี กับเรื่องของคันเบ็ด หากไม่รู้จะต้องเสียใจ

คันเบ็ด เป็นอุปกรณ์ที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกๆ สำหรับการตกปลาทุกรูปแบบ โดยความพิเศษของคันตีเหยื่อปลอมคือ มีขนาดที่เล็ก และน้ำหนักที่เบา โดยหลักๆ คันเบ็ดจะแยกออกเป็น “เบทคาสติ้ง (Casting Rod)” กับอีกประเภทคือ “สปินนิ่ง (Spinning Rod) และคันเบ็ดยังแยกเป็นคันสเปคของอเมริกากับญี่ปุ่นด้วย แต่จริงๆ แล้วผลิตจากหลากหลายประเทศ

คันเบ็ดมีหลายแบบหลายขนาด ไปดูวิธีดูและเลือกกันเลยดีกว่า

Advertisements

ส่วนใครที่สายพาดคันเบ็ดอยู่บ่อยๆ ลองมาหาวิธีแก้ไขกัน จะได้ไม่หงุดหงิดเวลาตกปลา สายพาดคันเบ็ด มีผลกับการตกปลาหรือไม่

คันเบ็ดแบบไหนได้รับความนิยมมากกว่ากัน

ถ้าถามว่าระหว่างคันเบ็ดแบบ เบทคาสติ้งกับสปินนิ่ง แบบไหนได้รับความนิยมมากกว่า ในการตีเหยื่อปลอม บอกได้เลยว่าในช่วง 4 – 5 ปีก่อน เบทคาสติ้งมาแรงมาก คงเพราะยุคนั้นเหยื่อขนาดเล็กกว่า 3 กรัม ไม่ค่อยจะเจอในไทย

แต่ในปัจจุบันเหยื่อขนาดจิ๋วๆ น้ำหนักต่ำกว่า 3 กรัม ได้รับความนิยมมากขึ้น เลยทำสปินนิ่ง ดูจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนดูจะมีคนใช้มากพอๆ กับเบทคาสติ้ง หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ

xh001

 คนไทยเรียก Spinning Rod ว่า “คันสปิน” ส่วน Casting Rod เรียกว่า “คันเบท”

 

ความยาวของคันเบ็ดที่ได้รับความนิยม

หน่วยฟุตจะเป็นหน่วยที่ได้รับความนิยมในการบอกความยาวของคันเบ็ด เรียกได้ว่าเป็นหน่วยสากลที่ใช้กันทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการวัดคันเบ็ดตกปลาทะเลหรือตกปลาน้ำจืด ซึ่งคันเบทคาสติ้งกับคันสปินนิ่ง จะนิยมใช้ความยาวที่ต่างกันด้วยนะ

Casting Rod

จะนิยมใช้คันเบ็ดที่ 6 – 6.8 ฟุต แบบ 1 ท่อน  หากยาวกว่านี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ไม่ว่าจะตีหมายแบบไหนก็จะใช้ยาวประมาณนี้ และจากความเห็นส่วนตัวถ้าคันเบทยาวเกิน 7.6 ฟุตจะตียาก มีโอกาสตีแล้วสายฟู่สูงมาก

xh002

Spinning Rod

จะนิยมใช้คันเบ็ดขนาด 7 – 8 ฟุต แบบ 1 – 2 ท่อน สำหรับหมายขนาดกลางจนถึงหมายใหญ่มาก และขนาดไม่เกิน 6 ฟุต เป็นคันเบ็ด เรียวๆ เล็กๆ หรือที่เรียกว่า Ultra Light ส่วนใครชอบตีไกลเอาโล่ จัด 8 ฟุตขึ้นไปเลยไม่ผิดหวังแน่น่อน
xh003

Line Weight ที่เหมาะสมกับคันเบ็ด

ต่อจากความยาวคันเบ็ด สิ่งที่นักตกปลามือใหม่มักจะถามกันคือ Weight แต่จริงๆ แล้วตามตารางข้อมูลของคันเบ็ด จะมีคำว่า Weight (น้ำหนัก) ที่บอกคุณสมบัติเอาไว้อย่างน้อยๆ 3 อย่างคือ Line Weight, Lure Weight และ Rod Weight

แต่เบื้องต้นควรรู้จักกับ Line Weight  เอาไว้เพื่อที่จะได้เลือกขนาดได้ถูกต้องกัน โดยหน่วยวัดที่เป็นสากลคือปอนด์ (LB.) ต่อไปเป็นตัวอย่างของ Line Weight ซึ่งในแต่ละค่ายจะมีตัวเลขที่ต่างกันนิดหน่อย ซึ่งจากข้อมูลนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น

Line Weight  2 – 6 : ไม่ค่อยมีกับคันเบ็ดเบทคาสติ้ง ส่วนใหญ่เป็นคันสปินนิ่งและมี Power แบบ UL (Ultra Light) เพิ่งจะได้รับความนิยมได้ไม่นานสำหรับนักตกปลาชาวไทย ส่วนสาย PE 0.5 – PE1 (ผมเล่นไม่ค่อยได้ ขาดง่ายไปหน่อย)

Line Weight  6 – 12 : สำหรับคันเบ็ดสปินนิ่งตกปลาน้ำจืด ถือว่าแข็งแล้วนะ เป็นเวทที่ตกได้ทั่วไปเลย แต่ถ้าเวทประมาณนี้และเป็นคันเบทคาสติ้ง ถือว่าคันอ่อนมาก ถือเป็น UL ของคันเบทคาสติ้งเลย ใช้สายประมาณ PE 1 – PE 2 (คันสปินนิ่ง) ใหญ่กว่านี้ตีไม่ค่อยออก ส่วนคันเบทก็ PE 2 ก็ยังตีได้สบาย

Line Weight  10 – 17 : มาถึงเวทระดับนี้ ไม่ค่อยเจอในคันตีเหยื่อปลอมสปินนิ่ง แต่ถ้าเป็นคันเบทคาสติ้ง ถือว่าเป็นเวทครอบจักรวาล น้ำจืด น้ำกร่อย ตกได้ทุกที่ ปลาขังยันเขื่อน สายที่ใช้ก็ PE1.5 – PE3 (คันเบทคาสติ้ง) ส่วนคันสปินนิ่ง ไม่ขอพูดถึงนะครับ เวทระดับนึ้คงไม่ค่อยนิยมกัน

Line Weight  12 – 20 : เริ่มเป็นงานเฉพาะทางแล้ว โดยเวท 12 – 20 ถือว่าเป็นคันเบ็ดที่แข็งสำหรับงานน้ำจืด แต่ถ้าเป็นทะเล ถือว่าเป็นคันเบ็ดตกปลาทะเลทีนิยมใช้ตกหมายที่คิดว่าต้องเจอกับปลาใหญ่ หรือหมายที่มีอุปสรรคใต้น้ำเยอะหน่อย เช่นเขื่อน หรือบ่อบัว เป็นต้น

“แต่ก็มีน้าๆ บางท่านชอบใช้คันแข็งๆ ก็เอามันไปตกได้ทุกที่เหมือนกัน สายที่ใช้ก็ PE2 – 4 (คันเบทคาสติ้ง)”

สำหรับเวทใหญ่ๆ ที่พบก็ 12 – 25 แข็งมากๆ แล้วสำหรับงานน้ำจืด หากเวทมากกว่านี้ไม่แนะนำ เพราะเอามาตกน้ำจืดรับประกันได้เลยว่าไม่สนุก เพราะวัดทีปลาแทบจะลอยขึ้นบก ส่วนมากจะเป็นคันเบ็ดตกปลาทะเลมากกว่า

ต่อไปเป็นตัวอย่างข้อมูลของคันเบ็ดนะครับ

SPINNING RODS
Model Length Power Action PCS Line Weight Lure Weight Rod Weight Handle
LES60ULF2 6′ UL Fast 2 2 – 6 1/32 – 3/16 2.6 1
LES60MLF 6′ ML Fast 1 4 – 10 1/8 – 3/8 2.8 1
LES63MXF 6’3″ M X-Fast 1 6 – 10 1/8 – 1/2 3.2 1
LES66LF 6’6″ L Fast 1 4 – 8 1/16 – 1/4 2.8 1
LES66MHF 6’6″ MH Fast 1 8  14 3/8 – 3/4 3.8 4
LES68MXF 6’8″ M X-Fast 1 6 – 12 3/16 – 5/8 3.7 4
LES70LF 7′ L Fast 1 4 – 8 1/16 – 1/4 3.0 2
LES70MLF2 7′ ML Fast 2 4 – 10 1/8 – 3/8 3.4 3
LES70MF 7′ M Fast 1 6 – 12 3/16 – 5/8 3.6 5
LES76MLXF 7’6″ ML X-Fast 1 4 – 10 1/8 – 3/8 3.8 5
LES76MF 7’6″ M Fast 1 6 -12 3/16 – 5/8 3.9 5
CASTING RODS
Model Length Power Action PCS Line Weight Lure Weight Rod Weight Handle
LEC60MF 6′ M Fast 1 10 – 17 1/4 – 5/8 3.4 7
LEC66MF 6’6″ M Fast 1 10 – 17 1/4 – 5/8 3.7 8
LEC70HF 7′ H Fast 1 14 – 25 3/8 – 11/2 4.6 8

จากตารางตัวอย่าง จะเห็นว่าคันเบ็ดมีรายละเอียดประกอบอยู่หลายส่วน นอกจาก Line Weight  ของคันแล้ว จะมี “Power” อยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 9 ระดับ แต่สำหรับคันตีเหยื่อปลอม ที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ประมาณ 6 ระดับ

ความหมาย Power เอาไว้เป็นประโยชน์ในการเลือกคันมาใช้

Advertisements
  • UL = Ultra  Light
  • ExL = Extra  Light
  • L = Light
  • ML = Medium Light
  • M = Medium
  • MH = Medium Heavy
  • H = Heavy
  • ExH = Extra Heavy
  • UH = Ultra  Heavy

xh004

Advertisements
จากภาพจะเห็นว่าที่โคนคันจะมีการบอก Line Weight , Lure Weight และความยาวคัน รวมทั้ง Action, Power เอาไว้ด้วย โดยทุกอย่างถูกรวมเป็นรหัสไว้ “LEC66MF” ซึ่งก็คือ

  • LEC = รุ่นคันเบ็ด LEGEND ELITE Casting Rod ในทางกลับกันถ้าเป็น LES ก็จะเป็น Spinning Rod
  • 66 = คันยาว 6.6 ฟุต แต่บางยี่ห้อจะบอกเลยว่า 6’6″
  • MF = คือคัน Power “M” และ Action “F” บางยี่ห้อก็บอกคำเต็มนะครับ บางทีก็ใส่ทั้งรหัส และเต็มก็มี

แต่สิ่งที่ไม่เคยถูกเขียนลงบนคันเบ็ดคือ Rod Weight

ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน ทั้งที่มันสำคัญสำหรับคันตีเหยื่อปลอม สิ่งเหล่านี้นักตกปลาต้องหาข้อมูลเอาเองเมื่อจะเสียเงินซื้อคันเบ็ดดีๆ มาใช้และอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกๆ เกี่ยวกับคันอเมริกา กับญี่ปุ่น บอกตรงๆ ว่าผมเป็นคนใช้แบรนด์อเมริกา โดยที่ดังๆ ก็มีคันจีกับคันเซนต์ ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นมีเพียบ

คันเบ็ดฝั่งอเมริกากับฝั่งญี่ปุ่นต่างกันอย่างไร

หลักๆ เลยคือ ความสวยงามญี่ปุ่นกินขาด ราคาก็แพงกว่าเช่นกัน เพราะทุกอย่างที่เขาทำออกมาถือเป็นงานศิลปะ มีความใส่ใจในงานสูง ถ้าจะหาคันญี่ปุ่นราคาทะลุสองหมื่นบาทมีอยู่เต็มไปหมด

แต่ถ้าเป็นคันอเมริกาสองหมื่นผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าเป็นคันอะไร ส่วนคันตีเหยื่อปลอมราคาถูกแบบราคาไม่ถึงพันก็มีเยอะ แบบที่ไม่ใช่คันเบ็ดมือสอง หาซื้อได้ง่ายตามร้านอุปกรณ์ตกปลาทั่วไป

จุดแข็งของคันเบ็ดอเมริการคือ มักจะมีประกันคันหักติดมาด้วย แต่เรื่องความสวยยังเป็นรองคันญี่ปุ่นอยู่มาก ส่วนคันญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีประกัน (มีแบบตัวแทนประกันให้เองก็มี)

ฉะนั้นหากจะใช้ต้องทำใจ แต่ไม่ต้องกลัวหัก ถ้าใช้ถูกวิธีคันไม่หักง่ายๆ แน่ ถึงราคาจะไม่แพงก็ตาม (มีบางยี่ห้อรับประกันให้เป็นพิเศษ ต้องสอบถามร้านที่จัดจำหน่ายด้วย)

รู้ไว้ก่อนหัก อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวเรื่องคันเบ็ดหักได้ที่ คันเบ็ดถอยใหม่ ตกปลา แล้วหักเคลมได้หรือไม่

เกี่ยวกับไกด์

Advertisements

ไกด์เป็นอะไรที่เลือกไม่ยาก เพราะเกือบจะมียี่อห้อเดียวเลยท่นักตกปลาชาวไทยเชื่อใจและยอมรับ และคันเบ็ดดีๆ ก็เลือกใช้ไกด์ยี่ห้อนี้ซะด้วย แต่จริงๆ แล้วไกด์สำหรับตกปลาจะมีอยู่หลายยี่ห้อนะครับ

แน่นอนว่ามีอยู่หลายแบบด้วย แต่ผมจะเลือกเอามาเฉพาะไกด์สำหรับตีเหยื่อปลอม และเน้นที่งานน้ำจืดเท่านั้น โดยยี่ห้อที่ผมพูดถึงคืด ไกด์ฟูจิ  “Fuji” ด้วยเหตุที่ว่าคันเบ็ดคุณภาพต่ำจนถึงสูงสุดมักจะเลือกใช้ไกด์ยี่ห้อนี้

ต่อไปเป็นรายละเอียดส่วนประกอบของไกด์ ขอเลือกแนะนำแค่ที่จำเป็นนะครับ

 

ยี่ห้อของไกด์
ไกด์เป็นอะไรที่เลือกไม่ยาก เพราะเกือบจะมียี่อห้อเดียวเลยทีนักตกปลาชาวไทยเชื่อใจ และคันเบ็ดดีๆ ก็เลือกใช้ไกด์ยี่ห้อนี้ซะด้วย แต่จริงๆ แล้วไกด์สำหรับตกปลาจะมีอยู่หลายยี่ห้อนะครับ แน่นอนว่ามีอยู่หลายแบบด้วย แต่ผมจะเลือกเอามาเฉพาะไกด์สำหรับตีเหยื่อปลอม และเน้นที่งานน้ำจืดเท่านี้น โดยยี่ห้อที่ผมใช้มาพูดถึงไกด์ฟูจิ  “Fuji” ด้วยเหตุที่ว่าเป็นไกด์ที่นักตกปลาส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ..ต่อไปเป็นรายละเอียดส่วนประกอบของไกด์ผมขอเลือกแนะนำแค่ที่จำเป็นนะครับ

Fuji001

A: Fuji Ring materials (วงไกด์)
จำเป็นต้องเป็นวัสดุที่เรียบลืนทนทาน โดยปกติแล้วในส่วนวงไกด์จะทำจากจากวัสดุหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Silicon Carbide, Alconite, Silcon Nitride,  Hardloy, Aluminum Oxide เป็นต้น

p41_1 Silicon Carbide (SiC) : ถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการใช้ทำ “วงไกด์” จุดสังเกตคือเป็นสีดำ เรียบ มันเงา เป็นวงไกด์ที่ทนความร้อน, ระบายความร้อนได้ดี และที่สำคัญลื่นมากที่สุดด้วย  ใช้ได้ดีทั้งกับสายเอ็นและ PE* จากการใช้งานจริงคันเบ็ดไกด์ SiC คือให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลในการตี สายออกค่อนข้างเงียบ เมื่อสู้กับปลาเสียงที่สายสัมผัสกับวงไกด์จะมีเสียงเล็กน้อย แต่สิ่งยอดเยี่ยมที่สุดของวงไกด์ SiC คือ มีเฟรม Titanium ซึ่งเป็นวัสดุที่เบาและแกร่งมากๆ ให้เลือกใช้มากมาย หากถูกนำไปประกอบเป็นคันเบ็ดก็จะทำให้ได้คันที่มีน้ำหนักไม่ถึง 150 กรัม หรือบ้างยี่ห้อหนักไม่ถึง 100 กรัมด้วยซ้ำ
p41_3 Alconite : เป็นวงไกด์ที่คันเบ็ดส่วนใหญ่เลือกใช้ (คันราคาถูกจนถึงกลาง) เพราะในเรื่องความแข็ง ลื่น กับระบายความร้อนเป็นรองเพียง SiC ถือเป็นวงไกด์แบบที่ใกล้เคียงกับ SiC มากที่สุด ที่สำคัญราคาถูกด้วย แต่ข้อเสียคือมีนำหนักมากที่สุดในวงไกด์ทุกประเภท* จริงๆ แล้ว Alconite ถือว่าลื่น และแกร่งมากพอที่จะใช้เป็นวงไกด์ของคันตีเหยื่อปลอม แต่ติดตรงที่มันหนัก และยังไม่สุดสำหรับคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ ในเรื่องตีสายออกจะมีเสียงเล็กน้อย ทำระยะดีไม่ต่างจาก SiC มากนัก แต่เมื่อสู้กับปลา หากใช้สาย PE จะมีเสียงสายสัมผัสกับวงไกด์ดังอย่างชัดเจน หากเป็นนักตกปลาที่เลือกใช้สายที่มีขนาดต่ำกว่า PE 1 ดูจะไม่เหมาะที่จะใช้ Alconite แต่ก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ด้วยการเปลี่ยนไกด์ตัวทิปท็อป (ไกด์ตัวบน) ให้เป็น SiC จะช่วยได้เยอะทีเดียว
p41_2 Silcon Nitride (SiN) : วัสดุตัวนี้ไม่ค่อยจะเห็นในวงไกด์สักเท่าไร ตัวผู้เขียนเองก็ไม่เคยใช้ด้วย แต่ตามข้อมูล เป็นวัสดุที่แข็งแกร่งมาก มักถูกใช้ทำลูกปืนคุณภาพสูง รวมทั้งชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ท
p41_4 Hardloy : วงไกด์จะออกสีเทาๆ ดำๆ แข็ง และลื่นน้อยกว่าวัสดุอื่นๆ ระบายความร้อนอยู่ในระดับที่ช้าที่สุด ข้อดีคือมีน้ำหนักเป็นรองเพียง SiC เท่านั้น
p41_5 Aluminum Oxide : วงไกด์โทนสีดำ ความเงาน้อยกว่า SiC เป็นไกด์ที่มักจะถูกเลือกมาใช้กับคันราคาถูก เพราะมีราคาที่ถูก ในเรื่องความแข็งพอๆ กับ Hardloy แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าด้วย ส่วนการระบายความร้อนถือว่าดีกว่า Hardloy เล็กน้อย

 

B : Guide Frames (เฟรมไกด์)

เฟรมไกด์เป็นส่วนที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างแตกต่างกันมากมาย และตัวเฟรมไกด์เองจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อซีรีย์ไกด์นั้นๆ ด้วย เช่น K-Series ที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา

xh009
ตัวอย่างลักษณะการวาง และรูปทรงไกด์ K-Series แบบสปินนิ่ง
xh010
ตัวอย่างลักษณะการวาง และรูปทรงไกด์ K-Series แบบเบทคลาสติ่ง

 

จากภาพทั้งสอง จะเห็นว่าเฟรมของไกด์ K-Series ถูกออกแบบมาให้มีความโค้งทั้งหมด และเอียงไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจากคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตก็เพื่อลดปัญหาสายพันไกด์ ซึ่งก็ช่วยได้เยอะจริงๆ แต่ข้อเสียของ K-Series คือ ไกด์จะดูมีขนาดที่ใหญ่โดยเฉพาะไกด์สปินนิ่ง ด้วยเหตุนี้วัสดุที่นำมาทำเป็นเฟรมไกด์ถือว่ามีความสำคัญต่อน้ำหนักของไกด์ และส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักโดยรวมของคันเบ็ดเช่นกัน โดยวัสดุดีที่สุดที่ผู้ผลิตนำมาทำเฟรมไกด์หลักๆ ที่นิยมนำมาผลิตคือ

  • Titanium : ถือเป็นวัสดุดีที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อโครงการอวกาศ สร้างชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ต โดยปกติตัวไทเทเนียมจะมีสีเงินมันวาว มีความแข็งเทียบเท่าเหล็กกล้า แต่มีน้ำหนักที่เบากว่าถึง 45% เป็น ทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล, กรด รวมทั้งคลอรีน แถมยังไม่เป็นสนิมอีกด้วย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เมื่อถูกนำมาทำเป็นเฟรมไกด์จึงเบา และแกร่งมากๆ
  • Stainless : สเตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม แข็งและทนการกัดกร่อนใกล้เคียงกับ Titanium แต่น้ำหนักจะมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยปกติแล้วจะเป็นสีเงิน แต่ทางผู้ผลิตจะมีการพ่นสีดำ หรือสีอื่นๆ  ข้อดีของไกด์ประเภทนี้คือราคาจะถูกกว่าไทเทเนียมมาก
xh011
แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนัก ระหว่างไกด์ที่ใช้ไทเทเนียมเป็นเฟรม กับที่ใช้สเตนเลส

 

จากภาพไม่ต้องสงสัยเลยว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ที่ทำจากไทเทเนียมจะต้องมีน้ำหนักที่เบากว่าสเตนเลส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์เฟรมสเตนเลสจะหนัก และไม่ดีนะครับเพราะเมื่อใช้งานจริงมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก มันขึ้นอยู่กับความเคยชินมากกว่า

หากเป็นสมัยก่อนคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ SiC เฟรมไทเทเนียม จะเป็นคันเบ็ดที่มีราคาแพงมาก แต่เมื่อมาถึงยุคที่มีการแข่งขันมากขึ้น ก็ได้มีการใส่ไกด์ Sic เฟรมไทเทเนียม ลงบทคันเบ็ดราคากลางๆ อย่างคันราคา 3000 กว่าๆ ก็มีให้เลือกหลายคันแล้ว (เฉพาะราคาไกด์ก็ทะลุ 2,000 บาทแล้ว) ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักตกปลามือใหม่ที่กำลังมองหาคันเบ็ดดีๆ ในราคาเบาๆ มาใช้กัน ..เอาละจบแล้วสำหรับเรื่องคันเบ็ด กับไกด์ เดี๋ยวมาต่อรอกกันครับ

จากภาพไม่ต้องสงสัยเลยว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ที่ทำจากไทเทเนียมจะต้องมีน้ำหนักที่เบากว่าสเตนเลส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์เฟรมสเตนเลสจะหนัก และไม่ดีนะครับเพราะเมื่อใช้งานจริงมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก มันขึ้นอยู่กับความเคยชินมากกว่า

หากเป็นสมัยก่อนคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ SiC เฟรมไทเทเนียม จะเป็นคันเบ็ดที่มีราคาแพงมาก แต่เมื่อมาถึงยุคที่มีการแข่งขันมากขึ้น ก็ได้มีการใส่ไกด์ Sic เฟรมไทเทเนียม ลงบทคันเบ็ดราคากลางๆ อย่างคันราคา 3000 กว่าๆ ก็มีให้เลือกหลายคันแล้ว (เฉพาะราคาไกด์ก็ทะลุ 2,000 บาทแล้ว) ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักตกปลามือใหม่ที่กำลังมองหาคันเบ็ดดีๆ ในราคาเบาๆ มาใช้กัน

สรุป: คันเบ็ดแบบไหนที่เหมาะกับคุณ

หลังจากที่ลองได้อ่านๆ กันมา น้าๆ คงพอรู้แนวทางแล้วว่าชอบคันเบ็ดแบบไหน หากเงินหนาหน่อย จะไปทางค่ายญี่ปุ่นก็จะได้ลูกเล่นของคันเบ็ดหรือลวดลายที่สวยงาม หากไปอเมริกาก็ได้การรับประกันและราคาที่เป็นมิตร หวังว่าน้าๆ คงจะเลือกเบ็ดกันได้ถูกใจ และตกปลากันสนุกมากขึ้นนะครับ

นอกจากจะรู้เรื่องคันเบ็ดแล้ว ยังต้องเรียนรู้ในการดูแลรักษาให้ถูกวิธีอีกด้วย มีบทความในการดูแลรักษษคันเบ็ดสุดที่รักมาฝากกันด้วยครับ พื้นฐานวิธีป้องกันและดูแลรักษาคันเบ็ดสุดรัก

Advertisements