โครงการคืนชีพแมมมอธเริ่มต้น และอาจสำเร็จภายใน 6 ปีต่อจากนี้

หลังจากผ่านไปหนึ่งหมื่นปีนับจากแมมมอธตัวสุดท้ายจากโลกไป นักวิทยาศาสตร์กำลังเริ่มโครงการที่ยิ่งใหญ่สุดเพื่อจะนำสัตว์ที่โด่งดังนี้กลับมาในถิ่นเดิมของมันแถบไซบีเรีย

ที่ผ่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องของการคืนชีพแมมมอธมาหลายครั้งแล้วแต่ก็เงียบไป เนื่องจากปัญหาเรื่องหาสัตว์อุ้มท้อง แต่เมื่อไม่นานนี้ ทีมนักวิจัยได้ประกาศถึงเงินทุนใหม่ที่พวกเขาได้รับมาเพื่อสานฝันนี้ให้เป็นจริง

ด้วยเงินลงทุนราว 15 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ระดมทุนโดยบริษัทชีวิวิทยาศาสตร์และพันธุศาสตร์ Colossal ซึ่งก่อตั้งโดย Ben Lamm ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ และ George Church ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์ที่วิทยาลัยแพทย์ฮาวาด ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในการแก้ไขยีนของสิ่งมีชีวิต

ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์ George Church ขุดพบแมมมอธขนยาวในไซบีเรีย

นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดการเริ่มต้นในการสร้างลูกผสมช้างแมมมอธ โดยการสร้างตัวอ่อนในห้องทดลองซึ่งมี DNA ช้างแมมมอธ ซึ่งโครงการนี้ยังเกี่ยวกับการนับเซลล์ผิวหนังของช้างเอเซีย มาดัดแปลงใหม่ให้เป็นเซลล์ที่มีความหลากหลายขึ้น โดยมีการปรับจีโนมของมันให้สามารถอยู่ในสภาพอากาศหนาวได้ และอีกอย่างช้างเอเซียจัดเป็นช้างที่มีความใกล้ชิดกับแมมมอธมากที่สุด

ส่วน DNA ของแมมมอธนั้นจะรวบรวมจากบรรดซากแมมมอธที่โดนแช่แข็งไว้ จากนั้นตัวอ่อนเหล่านี้จะถูกนำไปเลี้ยงในครรภ์เทียม หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน นักวิจัยจะได้ลูกช้างชุดแรกภายใน 6 ปี

ภาพประกอบของแมมมอธขนยาว สายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแถบอาร์กติกและเสียชีวิตที่ปลายไพลสโตซีน

“เป้าหมายของเราคือการสร้างช้างที่สามารถทนความหนาวได้ แต่มันมีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนแมมมอธ ไม่ใช่เราพยายามหลอกใคร แต่เราต้องการสิ่งที่ใกล้เคียงกับแมมมอธ ที่มันสามารถอาศัยอยู่ในเขตที่มีอุณหภูมิ -40 องศาได้ และทำสิ่งที่ช้างและแมมมอธทำ เช่นการหาอาหารและโค่นต้นไม้”- Church กล่าว

โครงการนี้นอกจากเป็นการฟื้นฟูช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ช้างเอเซีย ด้วยการทำให้พวกมันสามารถใช้ชีวิตในทุ่งหญ้าแทบอาร์กติกได้ และพวกช้างลูกผสมพวกนี้อาจจะช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแบบทุ่งหญ้าทุนดราให้กลับมาอีกครั้ง

แต่ก็ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนที่คิดว่า ช้างที่คล้ายกับแมมมอธพวกนี้จะฟื้นฟูทุ่งหญ้าแบบทุนดราได้ “การที่คุณจะฟืนระบบภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาแบบยุคน้ำแข็งด้วยแมมมอธเทียมพวกนี้มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มาก และยังรวมถึงช้างหลายแสนตัว ซึ่งพวกนี้ใช้เวลาตั้งท้องหนึ่งปีและใช้เวลามากถึง 30 ปี ถึงจะโตเต็มที่” ดร. Victoria Herridge นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กล่าวไว้

ทางด้าน Lamm แย้งว่า “เป้าหมายของเราไม่ใช่แค่การเอาช้างแมมมอธกลับมาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำสัตว์ที่เคยอยู่ในระบบนิเวศนี้กลับมาให้ได้อีกด้วย”

Gareth Phoenix ศาสตราจารย์ด้านพืชและนิเวศวิทยาการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ กล่าวว่า “ในปัจจุบันเราต้องหาแนวทางในการหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และต้องระวังผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วย” ซึ่งการนำช้างกลับมาเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่มาก

มันอาจจะต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าที่มันจะเป็นจริง แต่ถ้าโครงการนี้สำเร็จในอนาคตสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วอีกหลายชนิดจะกลับมาด้วย เช่น แรดขนยาว, เสือเขี้ยวดาบ, สิงโตถ้ำ และยังไปถึงสัตว์ที่เพิ่งสูญพันธุ์ไปไม่กี่ร้อยปีมานี้จากฝีมือมนุษย์ด้วย เช่น ไทลาซีน, นกโมอา แต่พวกมันอาจจะไม่ใช่สิงโตถ้ำ หรือแรดขนยาว แท้ๆ เป็นเพียงแค่สิงโตแอฟริกาที่มีขนยาวและสามารถอยู่ในเขตหนาวได้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาtheguardian