8 ข้อเท็จจริงของ ‘ฉลามหัวบาตร’ เจ้าตัวร้ายสองน้ำ

ฉลามหัวบาตรเป็นหนึ่งในฉลามที่พบเจอได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยฉลามชนิดนี้มีจุดเด่นที่แปลกกว่าฉลามชนิดอื่นหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะที่มันสามารถอาศัยในน้ำจืดได้ มันถึงขนาดเข้าลึกไปในแม่น้ำจนต้องปะทะกับฮิปโปหรือจระเข้อยู่บ่อยๆ ด้วย เดี๋ยวเรามาดู 8 เรื่องที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนกัน

ฉลามหัวบาตร เป็นฉลามที่เรียกได้ว่าแทบจะพบในทุกที่ของเขตร้อน สาเหตุที่มันได้ชื่อนี้มาจากหัวทรงทู่ของมัน และพฤติกรรมที่ก้าวร้าว จัดเป็นฉลามอีกชนิดที่โด่งดังพอๆ กับฉลามขาว และยังเป็นฉลามที่มีการทำร้ายมนุษย์มากที่สุด แต่อย่างนั้นมันก็ตกเป็นเหยื่อของการล่าเอาครีบของพวกมัน ทำให้มันเองก็ตกอยู่ในอันตรายเช่นกัน

1. แรงกัดมหาศาล มากกว่าฉลามขาว

Advertisements

อาหารหลักของฉลามหัวบาตรนั้นคือปลาทั่วไปรวมถึงฉลามขนาดเล็ก แต่อาหารอื่นๆ ที่มันชอบนั้นรวมไปถึง นก สัตว์เปลือกแข็ง โลมา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ เต่า

พวกมันจัดเป็นหนึ่งในปลาที่มีแรงกัดมากสุด จากผลวิจัยในปี 2012 แรงกัดของมันมีมากถึง 5,914 นิวตัน ซึ่งมากกว่าฉลามชนิดอื่นถึง 12 ชนิด มากกว่าฉลามขาวยักษ์และฉลามหัวค้อน

2. เป็นปลาสองน้ำ

ขณะที่ฉลามส่วนมากนั้นอยู่ได้แต่ในทะเล แต่ฉลามหัวบาตรสามารถปรับสภาพให้อยู่ได้ทั้งสองน้ำ ในร่างกายมันมีการขับเกลือและระบบที่ช่วยในการปรับสภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะแทนที่จะเข้ามาชั่วคราว หลายเคสพบว่ามันสามารถอยู่ในแหล่งน้ำจืดเป็นการถาวรได้ด้วย

3. ฉลามหัวบาตรสามารถว่ายน้ำเข้าไปลึกในแผ่นดิน

ส่วนมากพวกมันมักอยู่ในทะเล ไม่ก็บริเวณปากแม่น้ำ แต่หลายครั้งฉลามหัวบาตรสามารถเข้าไปไกลมากๆ ในปี 1937 ชาวประมงสองคนจับฉลามหัวบาตรได้ใกล้เมือง Alton รัฐ Illinois ซึ่งห่างจากปากแม่น้ำที่เมือง New Orleans ถึง 2,800 กิโล และเคยมีรายงานพบและจับพวกมันได้ในแม่น้ำอเมซอน โดยตัวที่ไปไกลสุดพบที่ Iquitos เปรู ซึ่งห่างจากมหาสมุทรถึง 3,500 กิโล

Advertisements

และที่สำคัญฉลามหัวบาตรสามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระยะยาวในน้ำจืดได้สบายๆ จนถึงขนาดแพร่พันธุ์ได้ ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนก็ที่แม่น้ำ Brisbane ในออสเตรเลีย แม่น้ำ Ganges และ Brahmaputra ในอินเดียตะวันออก ทะเลสาบนิคารากัว ทะเลสาบ Pontchartrain และแม่น้ำ Potomac ก็พบฉลามหัวบาตร

4. ออกลูกเป็นตัว

Advertisements

เหมือนฉลามหลายๆ ชนิด มันไม่ได้ออกลูกเป็นไข่แต่ออกลูกเป็นตัว แต่ที่แตกต่างคือลูกของฉลามหัวบาตรจะเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่มัน มันสามารถให้กำเนิดลูกฉลามได้มากถึง 13 ตัว ซึ่งระหว่างนั้นตัวที่เกิดเร็วสุดก็จะเริ่มกินพี่น้องของมันที่เล็กกว่าจนหมด

ถึงแม้แม่มันจะไม่เลี้ยงลูก แต่มันก็ช่วยปกป้องลูกของมันโดยให้กำเนิดลูกที่แนวชายฝั่งหรือในเขตน้ำจืด ฉลามที่โตเต็มที่นั้นไม่มีศัตรู (ยกเว้นมนุษย์) แต่ลูกของมันก็ตกเป็นเหยื่อของฉลามหรือปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่น โอกาสที่พวกมันจะรอดชีวิตในน้ำจืดนั้นมีมากกว่า

5. พวกมันมีหลายชื่อ

ฉลามหัวบาตรมีชื่อต่างๆ มากถึง 15 ชื่อ ตามข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติฟอริด้า ซึ่งนับว่าเป็นฉลามที่มีชื่อเยอะมากสุดบนโลก โดยตัวอย่างชื่อของมันนั้นมีตั้งแต่ทั้ง ฝรั่งเศส = Tiburon, สเปน = Sarda, Zambezi Shark หรือ Vn Rooyen’s ในแอฟริกาใต้, Ganges Shark ในอินเดีย, ฉลามนิคารากัว ในอเมริกากลาง ฉลามแม่น้ำในแอฟริกา และ Cub Shark หรือฉลามหัวบาตร

6. เป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนตร์เรื่อง Jaws

ในปี 1974 นิยายเรื่อง Jaws ได้ถูกตีพิมพ์ ซึ่งตอนหลังได้เป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนต์ชื่อดังในปี 1975 โดยฝีมือพ่อมดแห่งฮอลีวู๊ด สตีเว่น สปีลเบิร์ก ซึ่งเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ฉลามทำร้ายผู้คนที่ New Jersey ในเดือน ก.ค.1916 ซึ่งมีคนตาย 4 คนและ บาดเจ็บ 1

Advertisements

ในนิยายนั้นฉลามขาวเป็นตัวเด่น แต่เหตุการณ์ใน New Jersey นั้นเป็นฝีมือของฉลามหัวบาตร เพราะในเขตนั้นแทบไม่เจอฉลามขาวเลย และในการโจมตีสองครั้งพบในแหล่งน้ำจืดที่ห่างจากทะเลถึง 16 กิโล

7. พวกมันอันตรายกับมนุษย์น้อยกว่าที่คิด

Advertisements

ฉลามหัวบาตรถูกจัดอยู่ในฉลามที่อันตรายที่สุดสำหรับมนุษย์ ในการจัดอันดับการโจมตีของฉลาม มันถูกจัดอยู่ในอันดับสามของการโจมตีทั้งหมด มีการโจมตีมากถึง 116 ครั้งในประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ ส่วนของฉลามขาวนั้นอยู่ที่ 326 ครั้ง และฉลามเสืออยู่ที่ 129 ครั้ง

แต่ถึงอย่างนั้นถือว่าน้อยมาก และหลายครั้งเป็นอุบัติเหตุ สาเหตุการโจมตีมนุษย์นั้นมีตั้งแต่ความอยากรู้อยากเห็น จนความต้องการอาหาร ซึ่งถ้าเทียบกับเหตุการณ์อื่นฉลามนั้นยังทำร้ายคนและทำคนตายน้อยกว่าสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข ผึ้ง งู

8. พวกมันไม่ได้รับการปกป้อง

ฉลามหัวบาตรนั้นเป็นฉลามที่พบได้แทบทุกที่ในเขตร้อน แต่พวกมันก็ถูกคุกคามจากมนุษย์ มันได้ถูกจัดอยู่ในรายชื่อของสัตว์ที่ถูกคุกคามโดย IUCN ซึ่งแสดงให้เหตุว่าจำนวนพวกมันเริ่มมีปัญหาแล้ว และมีโอกาสเสี่ยงที่จะลดจำนวนจนขั้นวิกฤตในอนาคต

และการที่มันสามารถอยู่ในน้ำจืดได้ ยิ่งทำให้มันเสี่ยงที่จะโดนล่ามากขึ้นอีก มันมักถูกจับแบบไม่ได้ตั้งใจ และการล่าเพื่อเอาครีบ ฉลามหัวบาตรนั้นไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายที่ไหนเลย ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะพยายามผลักดันการคุ้มครองพวกมันให้ดีขึ้น ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements