ค้นพบ ‘ปลาคาร์ฟอบ’ อายุ 780,000 ปี เป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่ปรุงด้วยไฟ

นักโบราณคดีในอิสราเอล ค้นพบหลักฐานของปลาอบเป็นครั้งแรก หลังจากที่พวกเขาวิเคราะห์ซากปลาคาร์พขนาดมหึมาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ผู้เขียนการศึกษาสรุปได้ว่า ปลาถูกปรุงอย่างระมัดระวังด้วยความร้อนระดับต่ำถึงปานกลางซึ่งมีอายุย่อนไปเมื่อ 780,000 ปีก่อน

การใช้ไฟอย่างเชี่ยวชาญ ถูกมองว่าเป็นก้าวสำคัญในวิวัฒนาการของมนุษย์ เนื่องจากช่วยให้บรรพบุรุษในสมัยโบราณของเราปรุงอาหารและย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น จากรายงานของผู้เขียนการศึกษา ปลาที่ปรุงสุกอาจช่วยให้สมองเติบโตและมีสติปัญญาเฉียบแหลมขึ้น ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับไหวพริบและทักษะการทำอาหารในปัจจุบันของเรา

แม้ว่าปลาจะกินดิบได้ แต่ปลาที่ปรุงสุกแล้วมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า และยังกินได้อย่างปลอดภัยกว่า ย่อยง่ายกว่า และเมื่อปรุงด้วยการนึ่งหรืออบ (แต่ไม่ใช่การย่าง) ปลาเหล่านี้จะยังคงมีปริมาณกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก และกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก

แม้ว่ามีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่า Homo erectus (สปีชีส์ของมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว) อาจค้นพบวิธีการใช้ไฟเมื่อ 1.7 ล้านปีก่อน แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าพวกเขาใช้มันเพื่อเตรียมอาหารหรือไม่ จนถึงขณะนี้หลักฐานโดยตรงที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับการจุดไฟในการปรุงอาหาร มาจากชุมชนโบราณของมนุษย์ยุคหิน และมนุษย์สมัยใหม่เมื่อประมาณ 170,000 ปีที่แล้ว

แสดงตำแหน่งของฟัน โดยการสร้างกะโหลกขึ้นใหม่ 3 มิติจากปลาสายพันธุ์ Luciobarbus longiceps 

อย่างไรก็ตามฟันของปลาคาร์ฟที่ค้นพบในชั้นตะกอนเมื่อ 780,000 ปีก่อน ที่แหล่งโบราณคดี the Gesher Benot Ya’aqov (GBY) บ่งชี้ว่าสัตว์จำพวกโฮมินิดก่อนหน้านี้ ได้อบปลาของพวกมันมาแล้วในอดีตอันไกลโพ้น

ทั้งนี้นักวิจัยใช้การเลี้ยวเบนของผงรังสีเอกซ์ เพื่อวิเคราะห์ขนาดและโครงสร้างของผลึกเคลือบฟันภายในฟันเหล่านี้ นักวิจัยระบุว่าผลึกเหล่านี้ปรุงสุกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 500°C (932°F)

การค้นพบใหม่นี้ ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแหล่งอาศัย ในน้ำจืดและปลาที่มีอยู่เพื่อการยังชีพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในการควบคุมไฟเพื่อปรุงอาหาร และความเข้าใจในประโยชน์ของการปรุงปลาก่อนรับประทาน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements