จะเป็นไงเมื่อ ชะโด เจอกับ ปิรันยา 3 ตัว

มาแล้วๆ ศึกแห่งศักดิ์ศรี ระหว่างปลาชะโด เจ้าแห่งการทำลายล้างตัวแทนเอเซีย ตีกับปลาปิรันยา ตัวแทนจากอเมริกาใต้ (หรือเปล่า..?) เจ้าแห่งคมเขี้ยวและการรุม มาดูกันว่าระหว่าง 2 สายพันธุ์นี้ ใครจะรอด จะถึงตาย หรือจะเสมอ เสียดายที่ไม่ใช่ชะโดโตซะหน่อย มันเป็นแค่ชะโดวัยเด็กเท่านั้นเอง ...ยังไงก็ดูสนุกๆ ล่ะกันครับ กดคลิปได้เลย

ปลาปิรันยา (piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์Serrasalmidae โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า “ปิรันยา” นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิด ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปลาปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม

ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน และแม่น้ำหลายสายในทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้มแข็งแรง ใช้สำหรับกัดกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่เป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่ตื่นตระหนกตกใจ หรืออยู่ในภาวะอ่อนแอบาดเจ็บ เสียงตูมตามของน้ำที่กระเพื่อม จะดึงดูดปลาปิรันยาเข้ามาอย่างไว

ซึ่งปลาปิรันยาจะใช้ฟันที่แหลมคมกัดกินเนื้อของสัตว์ใหญ่จนทะลุไปถึงกระดูกสันหลังได้เพียงไม่กี่นาที ความดุร้ายของปลาปิรันยาแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด แต่เชื่อว่าปลาปิรันยาทุกชนิดสามารถตรวจจับกลิ่นเลือดในน้ำแม้เพียง 50 แกลลอน เหมือนกับปลาฉลาม

ในปลายทศวรรษที่ 70 ที่บราซิล มีอุบัติเหตุรถบัสที่วิ่งไปมาระหว่างเมือง เกิดอุบัติเหตุจมลงในแม่น้ำสาขาหนึ่งของแม่น้ำอเมซอน หลายชั่วโมงผ่านไปกว่าที่หน่วยกู้ภัยจะกว้านซากรถขึ้นมาได้ มีผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ในรถออกมาไม่ได้ทั้งหมด 39 ราย

และส่วนใหญ่ปรากฏว่าศพของผู้เสียชีวิตถูกปลาปิรันยากัดแทะจนแทบไม่เหลือสภาพดั้งเดิม หนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิง, เด็กทารก และเด็กผู้หญิง ครอบครัวเดียวกันด้วย นอกจากนี้แล้วในปี ค.ศ. 2012 มีผู้ชายคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตในแม่น้ำยาตา ทางตอนเหนือของโบลิเวีย แต่สภาพศพของเขา ปรากฏว่าส่วนใบหน้าถูกกัดแทะจนหายไปหมด โดยปลากัดแทะที่บริเวณใบหน้าอย่างเดียว และไม่โจมตีเข้าที่ศีรษะ เชื่อว่าเป็นการกระทำของปลาปิรันยา

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements