แม่เต่ามะเฟืองวางไข่รังที่ 2 เจ้าหน้าที่จัดจัดเวรยาม เฝ้าระวัง

ต้อนรับเดือนพฤศจิกายน แม่เต่ามะเฟืองวางไข่รังที่ 2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลประมาณ 06.00 น. กรม ทช. โดยศูนย์เฝ้าระวังเต่ามะเฟืองหาดบางขวัญ สำนักงาน ทช.ที่ 6 (พังงา) รับแจ้งจากนายปรีดา อานนท์ ชาวบ้านท่านุ่น ต.โคกกรอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ว่าพบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล บริเวณชายหาดบางขวัญ จึงเข้าตรวจสอบพบว่าเป็นรอยขึ้นของเต่ามะเฟือง

ซึ่งห่างจากจุดวางไข่เดิมไปทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร วัดความกว้างจากรอยที่พบของช่วงอกได้ 100 ซม. ความกว้างระหว่างพายข้างซ้าย และขวา 216 ซม. จึงขุดเพื่อหาตำแหน่งการวางไข่ และฝังเครื่องวัดอุณหภูมิ เพื่อติดตามการพัฒนาการของไข่ในหลุม จากนั้นได้กลบทรายไว้ที่เดิม และกั้นคอกเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งรบกวนจากภายนอก พร้อมจัดเวรยาม เฝ้าระวังจนกว่าลูกเต่ามะเฟืองจะฟักออกเป็นตัวลงสู่ทะเลตามธรรมชาติต่อไป
Advertisements

ความรู้เกี่ยวกับเต่ามะเฟือง

Advertisements
เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (Leatherback turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dermochelys coriacea) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Dermochelyidae และสกุล Dermochelys
Advertisements
เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตร

เต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาด ประมาณ 66-104 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่ แล้วจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน หลังจากฟักตัวแล้ว จะมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ ลูกเต่าจะคลานออกจากรัง ลงสู่ทะเลโดยทันที เนื่องจากเป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าน้ำลึก จึงไม่สามารถเก็บมาอนุบาลได้เป็นเวลานาน ซึ่งต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ในวัยเจริญพันธุ์จะเติบโตและใช้เวลาอยู่ในทะเลเกือบชั่วชีวิต

เนื่องจากลูกเต่ามะเฟือง โดยธรรมชาติเมื่อฟักออกมาจะคลานลงทะเลทันที ไม่สามารถมาอนุบาลได้นานเพราะเป็นเต่าทะเลน้ำลึก จึงควรอนุรักษ์เต่ามะเฟืองโดยการไม่รบกวนสถานที่วางไข่ ไม่รับประทานไข่เต่า ไม่ทิ้งถุงพลาสติกลงทะเลเพราะเต่ามะเฟืองอาจะคิดว่าเป็นแมงกะพรุนและกินเข้าไป เมื่อพบว่าเต่าบาดเจ็บควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2562

ปลาดุกบอนแม่กลอง เคยเจอกันไหม?

 

Advertisements
แหล่งที่มากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง