เบ็ดตกปลา หนึ่งในอุปกรณ์ตกปลา มีอยู่มากมาย
ในส่วนนี้จะทำให้น้าๆ เข้าใจมันมากขึ้นแน่นอน
เบ็ดตกปลา อุปกรณ์ตกปลา ที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก สำหรับการตกปลาทุกรูปแบบ โดยหนึ่งในความพิเศษของ คันตีเหยื่อปลอม คือ มีขนาดที่เล็ก และน้ำหนักที่เบา โดยที่นักนักตกปลานิยมกันมากที่คือ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ เบทคาสติ้ง (Casting Rod) กับอีกประเภทคือ สปินนิ่ง (Spinning Rod) และยังแยกเป็นคันสเปคของอเมริกากับญี่ปุ่นด้วย แต่จริงๆ แล้วผลิตจากหลากหลายประเทศอีกด้วย
เบ็ดตกปลา กับ 5 สิ่งที่ต้องรู้มีดังนี้
1. เบ็ดตกปลา แบบไหนได้รับความนิยมมากกว่า
ถ้าถามว่าในประเทศไทย ระหว่าง เบ็ดตกปลา เบทคาสติ้ง และ สปินนิ่ง แบบไหนได้รับความนิยมมากกว่า เฉพาะกับการ ตีเหยื่อปลอม บอกได้เลยว่าในช่วง หลายปีก่อน อุปกรณ์ตกปลา อย่างเบทคาสติ้งมาแรงมาก คงเพราะยุคนั้นเหยื่อปลอม ขนาดเล็กเบากว่า 3 กรัม ไม่ค่อยจะเจอในไทย
คนไทยเรียก Spinning Rod ว่า “คันสปิน” Casting Rod เรียกว่า “คันเบท”
แต่ในปัจจุบันเหยื่อขนาดจิ๋วๆ น้ำหนักต่ำกว่า 3 กรัม ได้รับความนิยมมากขึ้น เลยทำสปินนิ่ง ดูจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนดูจะมีคนใช้มากพอๆ กับเบทคาสติ้ง หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ
2. เบ็ดตกปลา กับความยาวของที่ได้รับความนิยม
หน่วยฟุตจะเป็นหน่วยที่ได้รับความนิยมในการพูดถึงความยาวของ เบ็ดตกปลา เรียกได้ว่าเป็นหน่วยสากลที่ใช้กันทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการ เบ็ดตกปลา ทะเลหรือตกปลาน้ำจืด ซึ่งคันเบทคาสติ้งกับคันสปินนิ่ง จะนิยมใช้ความยาวที่ต่างกันด้วย
Casting Rod
นิยมใช้คันเบ็ดที่ 6 – 7 ฟุต แบบ 1 ท่อน หากยาวกว่านี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ไม่ว่าจะตีหมายแบบไหนก็จะใช้ยาวประมาณนี้ และจากความเห็นส่วนตัวถ้าคันเบทยาวเกิน 7.6 ฟุตจะตียาก มีโอกาสตีแล้วสายฟู่สูงมาก
Spinning Rod
นิยมใช้คันเบ็ดขนาด 7 – 8 ฟุต แบบ 1 – 2 ท่อน สำหรับหมายขนาดกลางจนถึงหมายใหญ่มาก และขนาดไม่เกิน 6 ฟุต เป็นคันเบ็ด เรียวๆ เล็กๆ หรือที่เรียกว่า Ultra Light ส่วนใครชอบตีไกลเอาโล่ จัด 8 ฟุตขึ้นไปเลยไม่ผิดหวังแน่น่อน ถือเป็น อุปกรณ์ตกปลา ที่มีตัวเลือกเยอะมาก
เบทเป็น เบ็ดตกปลา ที่ต้องการทักษะค่อนข้างมาก
สปินจะต่างออกไป มันใช้ง่ายกว่า จึงใช้เพื่อหัดตกได้
3. Line Weight ที่เหมาะกับ เบ็ดตกปลา
ต่อจากความยาวเบ็ด สิ่งที่นักตกปลามือใหม่มักจะถามกันคือ Weight แต่จริงๆ แล้วตามตารางข้อมูลของคันเบ็ด จะมีคำว่า Weight (น้ำหนัก) ที่บอกคุณสมบัติเอาไว้อย่างน้อยๆ 3 อย่างคือ
Line Weight, Lure Weight และ Rod Weight
แต่เบื้องต้นควรรู้จักกับ Line Weight เอาไว้เพื่อที่จะได้เลือกขนาดได้ถูกต้อง โดยหน่วยวัดที่เป็นสากลคือปอนด์ (LB.) ต่อไปเป็นตัวอย่างของ Line Weight แต่ละค่ายจะมีตัวเลขที่ต่างกันนิดหน่อย ซึ่งจากข้อมูลนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น
Line Weight 2 – 6 : ไม่ค่อยมีกับคันเบ็ดเบทคาสติ้ง ส่วนใหญ่เป็นคันสปินนิ่งและมี Power แบบ UL (Ultra Light) เพิ่งจะได้รับความนิยมได้ไม่นานสำหรับนักตกปลาชาวไทย ส่วนสาย PE 0.5 – PE1 หรืออาจเล็กกว่า 0.5 ก็มี
Line Weight 6 – 12 : สำหรับคันเบ็ดสปินนิ่งตกปลาน้ำจืด ถือว่าแข็งแล้วนะ เป็นเวทที่ตกได้ทั่วไปเลย แต่ถ้าเวทประมาณนี้และเป็นคันเบทคาสติ้ง ถือว่าคันอ่อนมาก ถือเป็น UL ของคันเบทคาสติ้งเลย ใช้สายประมาณ PE 1 – PE 2 (คันสปินนิ่ง) ใหญ่กว่านี้ตีไม่ค่อยออก ส่วนคันเบทก็ PE 2 ก็ยังตีได้สบาย
Line Weight 10 – 17 : มาถึงเวทระดับนี้ ไม่ค่อยเจอในคันตีเหยื่อปลอมสปินนิ่ง แต่ถ้าเป็นคันเบทคาสติ้ง ถือว่าเป็นเวทครอบจักรวาล น้ำจืด น้ำกร่อย ตกได้ทุกที่ ปลาขังยันเขื่อน สายที่ใช้ก็ PE1.5 – PE3 (คันเบทคาสติ้ง) ส่วนคันสปินนิ่ง ไม่ขอพูดถึงนะครับ เวทระดับนึ้คงไม่ค่อยนิยมกัน
Line Weight 12 – 25 : เริ่มเป็นงานเฉพาะทางแล้ว โดยเวท 12 – 25 ถือว่าเป็นคันเบ็ดที่แข็งสำหรับงานน้ำจืด แต่ถ้าเป็นทะเล ถือว่าเป็นคันเบ็ดตกปลาทะเลทีนิยมใช้ตกหมายที่คิดว่าต้องเจอกับปลาใหญ่ หรือหมายที่มีอุปสรรคใต้น้ำเยอะหน่อย เช่นเขื่อน หรือบ่อบัว เป็นต้น
Line Weight 15 – 30+ : อุปกรณ์ตกปลา ที่มีขนาดใหญ่มาก สำหรับการตีเหยื่อปลอมน้ำจืด ทั้งสามารถตีเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ ทั้งขีดความสามารถในการอัดปลาใหญ่ก็สูง แต่ก็เป็น คันเบ็ด ที่มีน้ำหนักมากเช่นกัน การใช้จึงเฉพาะทางมาก ประมาณว่าเอาไปจัดการกับ ชะโด ใหญ่ หรือ ปลาใหญ่อื่นๆ ถ้าเอามาตกปลาเล็กจะไม่สนุกแน่นอน
เวทที่แนะนำ สามารถนำไปตกปลาน้ำจืดทั่วไป
ทั่วไทยได้ สำหรับผมคือเวท 10-17
ตัวอย่างข้อมูลของ เบ็ดตกปลา
จากภาพจะเห็นว่าที่โคนคันจะมีการบอก Line Weight , Lure Weight และความยาวคัน รวมทั้ง Action, Power เอาไว้ด้วย โดยทุกอย่างถูกรวมเป็นรหัสไว้ “LEC66MF” ซึ่งก็คือ
LEC = รุ่นคัน LEGEND ELITE Casting Rod ในทางกลับกันถ้าเป็น LES ก็จะเป็น Spinning Rod
66 = คันยาว 6.6 ฟุต แต่บางยี่ห้อจะบอกเลยว่า 6’6″
MF = คือคัน Power “M” และ Action “F” บางยี่ห้อก็บอกคำเต็มนะครับ บางทีก็ใส่ทั้งรหัสและเต็มก็มี
แต่สิ่งที่แทบไม่เคยถูกเขียนลงบนคันคือ Rod Weight
หรือน้ำหนักจริงของ เบ็ดตกปลา
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน ทั้งที่มันสำคัญสำหรับคันตีเหยื่อปลอม สิ่งเหล่านี้นักตกปลาต้องหาข้อมูลเอาเองเมื่อจะเสียเงินซื้อคันเบ็ดดีๆ มาใช้และอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกๆ เกี่ยวกับคันอเมริกา กับญี่ปุ่น บอกตรงๆ ว่าผมเป็นคนใช้แบรนด์อเมริกา โดยที่ดังๆ ก็มีคันจีกับคันเซนต์ ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นมีเพียบ
ความหมาย Power เอาไว้เป็นประโยชน์ในการเลือกคันเบ็ดตกปลา
UL = Ultra Light
ExL = Extra Light
L = Light
ML = Medium Light
M = Medium
MH = Medium Heavy
H = Heavy
ExH = Extra Heavy
UH = Ultra Heavy
จากภาพนอกจากแสดง Power ของคันเบ็ดแล้ว นักตกปลาอย่างน้าๆ หรือผม ต้องให้ความสำคัญเรื่องของ Action อีกด้วย ถ้าให้สรุป เรื่องของ Action ก็คือ
F = ปลายคันค่อนข้างไว เหมาะที่สุดที่จะใช้ตกปลา หรือตีเหยื่อปลอมทั่วๆ ไป ทั้ง ปลาช่อน ชะโด กระพง ได้หมด
MF =ปลายก็ไว แต่น้อยกว่า F ก็เหมาะตกปลาคล้ายๆ F แต่ส่วนใหญ่จะมี Power มากกว่าด้วย
M = มี Action แบบลงกลางคัน ไม่เหมาะถ้าจะเอาไปตกปลาที่ต้องการความไว อย่างเท็กซัสริก แต่เอาไว้อัดปลาใหญ่ดี
S = Slow ส่วนใหญ่อยู่กับคันจิ๊ก อาจจะไม่มีอยู่กับคันแคส (ตีเหยื่อปลอม) ไม่มีอะไรไว นวบๆ นาบๆ เพราะเอาไว้จิ๊กแนวดิ่ง
ถ้าเป็นคันแคส ตีเหยื่อปลอม Action เหมาะที่สุดคือ
F ส่วน MF หรือ M ถือว่าเป็นตัวเลือกเฉพาะทาง
4. คันเบ็ดฝั่งอเมริกากับฝั่งญี่ปุ่นต่างกันอย่างไร
หลักๆ เลยคือ ความสวยงามญี่ปุ่นกินขาด ราคาก็แพงกว่าเช่นกันเพราะทุกอย่างที่เขาทำออกมาถือเป็นงานศิลปะ มีความใส่ใจในงานสูง ถ้าจะหาคันญี่ปุ่นราคาทะลุสองหมื่นบาทมีอยู่เต็มไปหมด
แต่ถ้าเป็นคันอเมริกาสองหมื่นก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าเป็นคันอะไร ส่วนคันตีเหยื่อปลอมราคาถูกแบบราคาไม่ถึงพันก็มีเยอะ แบบที่ไม่ใช่คันเบ็ดมือสอง หาซื้อได้ง่ายตามร้านอุปกรณ์ตกปลาทั่วไป
จุดแข็งของคันเบ็ดอเมริการคือ มักจะมีประกันคันหักติดมาด้วย แต่ยังเป็นรองเรื่องความสวย
ส่วนคันญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีประกัน ต้องสอบถามคนขายดู เวลาใช้ต้องทำใจหน่อย
กำแพงด้านราคาของ อุปกรณ์ตกปลา รวมทั้ง คันเบ็ดตก
น้าๆ หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม อุปกรณ์ตกปลา แทบทุกอย่าง รวมทั้งคันเบ็ดตกปลา ที่อเมริกาถึงมีราคาไม่แพง เท่ากับตลาดญีปุ่น
ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องคุณภาพนะครับ คำตอบง่ายๆ เลยครับ เพราะกำแพงราคาที่จะขายได้ในตลาดนั้น เพราะเจ้าที่ขึ้นชื่อเรื่อง อุปกรณ์ตกปลา คุณภาพสูงขายในราคาที่ถูกกว่า การที่จะนำของญีปุ่นไปทำตลาดที่อเมริกา ในราคาเดิมจึงยาก ถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็คือ
g-loomis หรือ st.croix ที่ถือว่าเป็นตัวท๊อปๆ ของโลกใบนี้ ขายคันเบ็ดในราคาส่วนใหญ่ที่ 13,000 – 16,000 ด้วยราคานี้ จะได้ตัวท๊อปๆ มาเลย แต่กับราคานี้คันญีปุ่น ก็ยังได้คันดีๆ ทั่วๆ ไปเท่านั้นเอง
แน่นอนว่าญีปุ่นไม่ลดราคาของเอง เขาเลือกที่จะไปทำคันเบ็ดแบนด์ตัวเองเนียละ แต่เป็นสเปคอเมริกาแทน นั้นก็คือคันญีปุ่น สเปคอเมริกา อย่างเช่น megabass ก็ทำเช่นนั้น ถ้าน้าเห็นคัน megabass สวยๆ แล้วอุทานออกมาว่า เฮย แม่งถูกว่ะ ไม่กี่พันเอง ให้ดูก่อนด้วยนะว่า megabass อเมริกา แต่ถ้าน้าไม่สนใจว่ามันมาจากไหน ก็จัดได้เลย
สามารถอ่านเรื่องคันเบ็ด megabass ราคาไม่ถึง 6000 บาท
5. เกี่ยวกับไกด์ และการใช้งาน
ไกด์เป็นอะไรที่เลือกไม่ยาก เพราะเกือบจะมียี่อห้อเดียวเลยที่นักตกปลาชาวไทยเชื่อใจและยอมรับ และคันเบ็ดดีๆ ก็เลือกใช้ไกด์ยี่ห้อนี้ซะด้วย แต่จริงๆ แล้วไกด์สำหรับตกปลาจะมีอยู่หลายยี่ห้อนะครับ แน่นอนว่ามีอยู่หลายแบบด้วย แต่ผมจะเลือกเอามาเฉพาะไกด์สำหรับตีเหยื่อปลอม และเน้นที่งานน้ำจืดเท่านั้น โดยยี่ห้อที่ผมพูดถึงคืด ไกด์ฟูจิ “Fuji” ด้วยเหตุที่ว่าคันเบ็ดคุณภาพต่ำจนถึงสูงสุดมักพยายามจะเลือกใช้ไกด์ยี่ห้อนี้
ต่อไปเป็นรายละเอียดส่วนประกอบของไกด์ ขอเลือกแนะนำแค่ที่จำเป็น
A : Fuji Ring materials (วงไกด์)
จำเป็นต้องเป็นวัสดุที่เรียบลืนทนทาน โดยปกติแล้วในส่วนวงไกด์จะทำจากจากวัสดุหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Silicon Carbide, Alconite, Silcon Nitride, Hardloy, Aluminum Oxide เป็นต้น
Silicon Carbide (SiC) : ถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการใช้ทำ “วงไกด์” จุดสังเกตคือเป็นสีดำ เรียบ มันเงา เป็นวงไกด์ที่ทนความร้อน, ระบายความร้อนได้ดี และที่สำคัญลื่นมากที่สุดด้วย ใช้ได้ดีทั้งกับสายเอ็นและ PE* จากการใช้งานจริงคันเบ็ดไกด์ SiC คือให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลในการตี สายออกค่อนข้างเงียบ เมื่อสู้กับปลาเสียงที่สายสัมผัสกับวงไกด์จะมีเสียงเล็กน้อย แต่สิ่งยอดเยี่ยมที่สุดของวงไกด์ SiC คือ มีเฟรม Titanium ซึ่งเป็นวัสดุที่เบาและแกร่งมากๆ ให้เลือกใช้มากมาย หากถูกนำไปประกอบเป็นคันเบ็ดก็จะทำให้ได้คันที่มีน้ำหนักไม่ถึง 150 กรัม หรือบ้างยี่ห้อหนักไม่ถึง 100 กรัมด้วยซ้ำ | |
Alconite : เป็นวงไกด์ที่คันเบ็ดส่วนใหญ่เลือกใช้ (คันราคาถูกจนถึงกลาง) เพราะในเรื่องความแข็ง ลื่น กับระบายความร้อนเป็นรองเพียง SiC ถือเป็นวงไกด์แบบที่ใกล้เคียงกับ SiC มากที่สุด ที่สำคัญราคาถูกด้วย แต่ข้อเสียคือมีนำหนักมากที่สุดในวงไกด์ทุกประเภท* จริงๆ แล้ว Alconite ถือว่าลื่น และแกร่งมากพอที่จะใช้เป็นวงไกด์ของคันตีเหยื่อปลอม แต่ติดตรงที่มันหนัก และยังไม่สุดสำหรับคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ ในเรื่องตีสายออกจะมีเสียงเล็กน้อย ทำระยะดีไม่ต่างจาก SiC มากนัก แต่เมื่อสู้กับปลา หากใช้สาย PE จะมีเสียงสายสัมผัสกับวงไกด์ดังอย่างชัดเจน หากเป็นนักตกปลาที่เลือกใช้สายที่มีขนาดต่ำกว่า PE 1 ดูจะไม่เหมาะที่จะใช้ Alconite แต่ก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ด้วยการเปลี่ยนไกด์ตัวทิปท็อป (ไกด์ตัวบน) ให้เป็น SiC จะช่วยได้เยอะทีเดียว | |
Silcon Nitride (SiN) : วัสดุตัวนี้ไม่ค่อยจะเห็นในวงไกด์สักเท่าไร ตัวผู้เขียนเองก็ไม่เคยใช้ด้วย แต่ตามข้อมูล เป็นวัสดุที่แข็งแกร่งมาก มักถูกใช้ทำลูกปืนคุณภาพสูง รวมทั้งชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ท | |
Hardloy : วงไกด์จะออกสีเทาๆ ดำๆ แข็ง และลื่นน้อยกว่าวัสดุอื่นๆ ระบายความร้อนอยู่ในระดับที่ช้าที่สุด ข้อดีคือมีน้ำหนักเป็นรองเพียง SiC เท่านั้น | |
Aluminum Oxide : วงไกด์โทนสีดำ ความเงาน้อยกว่า SiC เป็นไกด์ที่มักจะถูกเลือกมาใช้กับคันราคาถูก เพราะมีราคาที่ถูก ในเรื่องความแข็งพอๆ กับ Hardloy แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าด้วย ส่วนการระบายความร้อนถือว่าดีกว่า Hardloy เล็กน้อย |
B : Guide Frames (เฟรมไกด์)
เฟรมไกด์เป็นส่วนที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างแตกต่างกันมากมาย และตัวเฟรมไกด์เองจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อซีรีย์ไกด์นั้นๆ ด้วย เช่น K-Series ที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา
ตัวอย่างลักษณะการวาง และรูปทรงไกด์ K-Series เบ็ดตกปลา แบบสปินนิ่ง
ตัวอย่างลักษณะการวาง และรูปทรงไกด์ K-Series เบ็ดตกปลา แบบเบทคลาสติ่ง
จากภาพทั้งสอง จะเห็นว่าเฟรมของไกด์ K-Series ถูกออกแบบมาให้มีความโค้งทั้งหมด และเอียงไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจากคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตก็เพื่อลดปัญหาสายพันไกด์ ซึ่งก็ช่วยได้เยอะจริงๆ
แต่ข้อเสียของ K-Series คือ ไกด์จะดูมีขนาดที่ใหญ่โดยเฉพาะไกด์สปินนิ่ง ด้วยเหตุนี้วัสดุที่นำมาทำเป็นเฟรมไกด์ถือว่ามีความสำคัญต่อน้ำหนักของไกด์ และส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักโดยรวมของคันเบ็ดเช่นกัน โดยวัสดุดีที่สุดที่ผู้ผลิตนำมาทำเฟรมไกด์หลักๆ ที่นิยมนำมาผลิตคือ
- Titanium : ถือเป็นวัสดุดีที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อโครงการอวกาศ สร้างชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ต โดยปกติตัวไทเทเนียมจะมีสีเงินมันวาว มีความแข็งเทียบเท่าเหล็กกล้า แต่มีน้ำหนักที่เบากว่าถึง 45% เป็น ทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล, กรด รวมทั้งคลอรีน แถมยังไม่เป็นสนิมอีกด้วย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เมื่อถูกนำมาทำเป็นเฟรมไกด์จึงเบา และแกร่งมากๆ
- Stainless : สเตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม แข็งและทนการกัดกร่อนใกล้เคียงกับ Titanium แต่น้ำหนักจะมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยปกติแล้วจะเป็นสีเงิน แต่ทางผู้ผลิตจะมีการพ่นสีดำ หรือสีอื่นๆ ข้อดีของไกด์ประเภทนี้คือราคาจะถูกกว่าไทเทเนียมมาก
แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนัก ระหว่างไกด์ที่ใช้ไทเทเนียมเป็นเฟรม กับที่ใช้สเตนเลส
จากภาพไม่ต้องสงสัยเลยว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ที่ทำจากไทเทเนียมจะต้องมีน้ำหนักที่เบากว่าสเตนเลส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์เฟรมสเตนเลสจะหนัก และไม่ดีนะครับเพราะเมื่อใช้งานจริงมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก มันขึ้นอยู่กับความเคยชินมากกว่า
หากเป็นสมัยก่อนคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ SiC เฟรมไทเทเนียม จะเป็นคันเบ็ดที่มีราคาแพงมาก แต่เมื่อมาถึงยุคที่มีการแข่งขันมากขึ้น ก็ได้มีการใส่ไกด์ Sic เฟรมไทเทเนียม ลงบทคันเบ็ดราคากลางๆ อย่างคันราคา 3000 กว่าๆ ก็มีให้เลือกหลายคันแล้ว (เฉพาะราคาไกด์ก็ทะลุ 2,000 บาทแล้ว) ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักตกปลามือใหม่ที่กำลังมองหาคันเบ็ดดีๆ ในราคาเบาๆ มาใช้กัน ..เอาละจบแล้วสำหรับเรื่องคันเบ็ด กับไกด์ เดี๋ยวมาต่อรอกกันครับ
สรุป : เบ็ดตกปลา แบบไหนที่เหมาะกับคุณ
จริงๆ แล้วผมเองไม่สามารถบอกน้าๆ ได้ว่า เบ็ดตกปลา แบบไหน รุ่นไหนเหมาะกับน้ามากที่สุด แค่พอจะได้ว่า ให้เลือกอย่างที่ชอบ โดยเอาสิ่งที่อ่านนี้ไปเป็นตัวช่วย ผมเชื่อว่ามันจะช่วยให้ซื้อคันที่คุ้มค่าได้อย่างแน่นอน ยังไงก็ขอให้ตกปลาให้สนุกครับ
อ่าน 11 เคล็ดลับ ในการเลือก เบ็ดตกปลา ในฝันได้ที่นี่ 11 เคล็ดลับ ในการเลือกคันเบ็ดตกปลาในฝัน
รู้ไว้ก่อนหัก อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวเรื่องคันเบ็ดหักได้ที่ คันเบ็ดถอยใหม่ ตกปลา แล้วหักเคลมได้หรือไม่