ทำไม? กุ้งนับแสนจึงออกจากน้ำที่ปลอดภัย แล้วเลือกเดินบนบกที่อันตราย

น้าๆ บางคนคงจะเคยได้ยินสิ่งที่เรียกว่า กุ้งเดินขบวนพาเหรดที่เกิดขึ้นที่ภาคอีสานของไทย โดยการเดินของกุ้งถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวมานาน และมันก็เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีอีกด้วย ผมได้เตรียมเนื้อหา พร้อมคลิปเอาไว้น้าๆ ได้อ่านกัน เกิดอยากไปเที่ยวกัน

กุ้งเดินขบวนคืออะไร?

Advertisements

เมื่อถึงช่วงปลายเดือนสิงหาคม – ต้นเดือนตุลาคม จะเกิดปรากฏการณ์ “กุ้งฝอยเดินขบวน” โดยพวกกุ้งจะหยุดว่ายน้ำในช่วงหัวค่ำ และจะรวมตัวกันเป็นจำนวนมากเพื่อปีนขึ้นจากน้ำ และจะเริ่มเดินขบวนบนโขดหินข้างน้ำตก และพวกมันจะเดินอยู่อย่างนี้ตลอดทั้งคืน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่ “เทือกเขาพนมดงรัก บริเวณแก่งลำดวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี”

“คำถามของเรื่องนี้? กุ้งพวกนี้เป็นสายพันธุ์อะไร? ทำไมพวกมันถึงเลือกที่จะออกจากน้ำแล้วเดินทวนน้ำบนพื้นที่แห้ง? และพวกมันจะไปไหนกัน?”

คลิปวีดีโอได้บันทึกสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้รู้ว่าพวกกุ้งจะเริ่มขึ้นจากน้ำหลังจากดวงอาทิตย์ตก และจะลงน้ำเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น พวกมันสามารถเดินได้ไกล 65 ฟุต และบางตัวสามารถอยู่นอกน้ำได้นานถึง 10 นาที “มันเป็นครั้งแรกที่ได้รู้ว่าพวกกุ้งสามารถเดินบนบกได้นานขนาดนี้”

อาจเป็นเพราะมันยังอยู่ใกล้น้ำตก และเป็นเขตที่มีน้ำกระเซ็น เลยช่วยให้เหงือกและตัวเปียก มันได้รับออกซิเจนเพียงพอ นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่าเปลือกของกุ้งดูเหมือนจะสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้เล็กน้อย มันเหมือนหมวกกันน็อกที่มีน้ำอยู่ภายใน

การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของกุ้งที่จับได้ พบว่าเกือบทั้งหมดอยู่ในสายพันธุ์ “Macrobrachium dienbienphuense” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสกุลกุ้งที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และสายพันธุ์ Macrobrachium หลายชนิดใช้เวลาส่วนหนึ่งของชีวิตอพยพจากต้นน้ำไปยังถิ่นที่อยู่ที่ต้องการ

จากกุ้งทั้งหมดที่จับมา “ส่วนใหญ่เป็นกุ้งอายุน้อย” โดยจากการสังเกตและทดลองในห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่ากุ้งเหล่านี้อาจออกจากน้ำเมื่อกระแสน้ำไหลแรงเกินกว่าที่พวกมันจะทนไหว ส่วนกุ้งโตเต็มวัยส่วนใหญ่สามารถรับมือกับกระแสน้ำที่แรงกว่าได้ จึงมีโอกาสน้อยที่พวกมันจะออกจากน้ำ

กุ้งสามารถอยู่รอดบนบกได้ไม่นาน หากพวกมันอยู่ไกลน้ำเกินไป หรือหากเดินหลงทาง พวกมันอาจเหือดแห้งและตายก่อนที่จะกลับสู่น้ำ จริงๆ แล้วเราสามารถพบกับกุ้งที่หลงทางจนตายอยู่บนโขดหินจำนวนมาก

“การออกจากน้ำเมื่อว่ายได้ยาก อาจช่วยให้สัตว์เหล่านี้แพร่กระจายไปยังแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ได้”
การที่กุ้งเดินบนบกถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก แม้พวกมันจะอยู่ภายใต้ความมืด เพราะผู้ล่าที่มีอยู่มากมาย เช่น กบ งู แมงมุม จริงๆ แล้วสัตว์อื่นมักจะมารอกินพวกกุ้งอยู่ริมน้ำ
“ทุกวันนี้ จำนวนกุ้งเดินขบวนในประเทศไทย ดูเหมือนจะลดลง ส่วนหนึ่งมันอาจเกิดจากกิจกรรมท่องเที่ยว และการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกุ้งอาจช่วยปกป้องพวกมันได้”

และนี่คือเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ของกุ้งเดินขบวน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในไทย ช่วงปลายเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนตุลาคม ของทุกปี หากน้าๆ สนใจก็ไปเที่ยวชมกันได้ แต่อย่าลืมรักษากฎของที่นั้นกันด้วย ถ้าชอบเรื่องนี้อย่าลืมแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นอ่านกันนะ

cr.Watcharapong Hongjamrassilp

ปลาดังแดง อีกสายพันธุ์ปลาเนื้ออ่อนแห่งลำโขง

นากทะเล กับพฤติกรรมสุดร้ายกาจ เชิญพบกับด้านมืดของพวกมัน

 

Advertisements
แหล่งที่มาnytimes