มีทฤษฏีที่เรียกว่า มหันตภัยมาลธูเซียน (Malthusians) ซึ่งมองว่าเมื่อทรัพยากรหมดลง ประชากรจะเริ่ม “ควบคุม” ตัวเอง ด้วยการล้มตายจำนวนมากของประชากร จนกว่าอัตราการตายจะลดลงและจนกว่าจะหยุดนิ่ง เมื่อมันเกิดขึ้นความก้าวหน้าในการทำการเกษตร และการผลิตอาหารแบบใหม่ จะทำให้มีอาหารเพียงพอสำหรับการเลี้ยงประชากรมากถึงหนึ่งหมื่นล้านคน
แต่! ในระหว่างการแจกจ่ายอาหาร อาจทำให้เกิดความอดยากจำนวนมากขึ้นได้อีก และสิ่งนี้อาจทำให้มนุษย์พยายามผลิตอาหารให้ได้มากขึ้น และสุดท้ายก็จะเกินความต้องการ
ในขณะที่ทุกคนเป็นกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนทรัพยากร ในปี พ.ศ. 2513 (1970) นักวิจัยด้านพฤติกรรมคนหนึ่ง พยายามตอบคำถามที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น “จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมที่มีความอดอยากสูง” และจากการศึกษาพบว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ เมื่อมีการอดอยากมากถึงที่สุด สิ่งที่ตามมาในไม่ช้าคือ “การกินกันเอง”
เริ่มต้นการทดลอง จักรวาลที่ 25 (Universe 25)
ในปี พ.ศ. 2511- 2516 (1968 – 1973) จอห์น บี แคลฮูน (John B Calhoun) ได้เริ่มต้นการทดลองที่จะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของหนู และติดตามผลกระทบต่อประชากรหนูเมื่อเวลาผ่านไป โดยการทดลองนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “จักรวาลที่ 25”
เนื้อหาของการทดลองนี้คือ การนำหนูสี่คู่มาผสมพันธุ์ และเอาไปไว้ในสถานที่ที่เรียกว่า “ยูโทเปีย (Utopia)” หรือดินแดนอันสมบรูณ์แบบ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกออกแบบมา เผื่อขจัดปัญหาที่จะนำไปสู่การตายในธรรมชาติ
หนูเหล่านี้สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างไม่จำกัด ผ่านที่ให้อาหาร 16 อัน ซึ่งเข้าได้ทางอุโมงค์ และจะให้อาหารหนูได้มากถึง 25 ตัวต่อครั้ง เช่นเดียวกับขวดให้น้ำที่อยู่ด้านบน และยังมีการจัดหาวัสดุทำรังมาให้พร้อม สภาพอากาศในที่ทำการทดลองอยู่ที่ 20 °C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สมบรูณ์แบบ และหนูที่นำมา ก็ผ่านการคัดเลือกสุขภาพอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ยูโทเปีย
เมื่อการทดลองดำเนินไป มันก็เป็นไปอย่างที่คาดไว้ พวกหนูมักใช้เวลาในการหาอาหาร และพวกมันก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสืบพันธุ์เช่นกัน ในทุกๆ 55 วัน ประชากรหนูจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และเมื่อประชากรหนูถึง 620 ตัว จำนวนประชากรจะ “เริ่มเพิ่มจำนวนช้าลง” จากนั้นพวกมันจะเริ่มแยกตัวเป็นกลุ่มๆ
“ในเหตุการณ์ปกติ ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ พวกหนูที่อายุน้อยจะมีโอกาสรอดจนโตขึ้นเพื่อทดแทนหนูที่ตายหรือแก่ และพวกหนูที่เป็นส่วนเกินจะอพยพหนีไปที่อื่น”
“แต่ในยูโทเปีย พวกหนูที่เป็นส่วนเกินไม่สามารถอพยพได้เพราะไม่มีที่ไป พวกที่ไม่มีหน้าที่สำคัญก็จะถูกโดดเดี่ยว” พวกหนูตัวผู้ที่ถูกโดดเดี่ยวจะไม่ตอบสนองต่อการถูกรุกราน มันจะนอนนิ่งอยู่แบบนั้น หรืออาจไปโจมตีหนูที่โดดเดี่ยวตัวอื่น
ส่วนหนูตัวเมียที่เป็นคู่ของพวกหนูตัวผู้ที่โดดเดี่ยว ก็จะถอนตัวออกไปเช่นกัน พวกมันจะใช้เวลาทั้งวันในการหากิน หลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์และไม่เคยต่อสู้เลย
การแยกตัวของพฤติกรรมหนูไม่ได้จำกัดเฉพาะภายนอกเท่านั้น พวกตัวหัวหน้าฝูงจะก้าวร้าวขึ้นมาก มันจะโจมตีหนูตัวอื่นอย่างไร้เหตุผล และข่มขืนหนูตัวอื่นทั้งตัวผู้และตัวเมีย และถึงขั้นฆ่าหนูตัวอื่นแล้วกินเป็นอาหาร
และถึงแม้จะได้รับการตอบสนองด้านอาหารและน้ำที่เพียงพอ แต่แม่หนูก็ยังทิ้งลูกๆ ของพวกมัน และปล่อยให้เอาตัวรอดเอง ส่วนพวกที่ยังเลี้ยงดูลูกก็จะก้าวร้าวขึ้นมาก และไล่ตัวผู้ออกไปด้วย และบางครั้งตัวแม่ก็ฆ่าลูกๆ ของมัน ซึ่งในยูโทเปีย ลูกหนูมีการอัตราการตายถึง 90% ซึ่งถือว่าสูงมาก
ทั้งหมดนี่คือช่วงแรกของการล่มสลายของยูโทเปีย ซึ่งเป็นช่วงที่แคลฮูนเรียกว่า “การตายครั้งที่สอง” พวกลูกหนูที่รอดจากการโจมตีจากแม่ของมันหรือตัวอื่นๆ ก็จะเติบโตขึ้นมาพร้อมกับพฤติกรรมที่ผิดปกติ ทำให้พวกมันไม่เคยเรียนรู้พฤติกรรมปกติของหนู และหลายตัวจะแสดงความต้องการสืบพันธุ์เพียงเล็กน้อย บางตัวไม่สนใจเลย สนใจแต่การกินอาหารอย่างเดียว
เมื่อประชากรหนูถึงจุดสูงสุดที่ 2,200 ตัว ซึ่งน้อยกว่าความจุที่คาดไว้ที่ 3,000 ตัว จากนั้นจำนวนของพวกมันจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ หนูหลายตัวไม่สนใจการสืบพันธุ์และไปอยู่ชั้นบนของยูโทเปีย
หนูบางตัวที่ด้านล่างก็จะตั้งตัวเป็นอันธพาล โจมตีและฆ่าหนูตัวอื่นเพื่อกินเป็นอาหาร อัตราการเกิดที่ตํ่าและการตายที่สูงของลูกหนู อาจทำให้ประชากรหนูสูญพันธุ์ได้ ทั้งๆ ที่อาหารและน้ำยังมีความสมบรูณ์ … แคลฮูน ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าเป็น “พฤติกรรมที่ตกต่ำลง”
“สำหรับสัตว์ธรรมดาอย่างหนู พฤติกรรมที่ซับซ้อนของมันมีตั้งแต่การสืบพันธุ์ การเลี้ยงดูลูก การปกป้องเขตแดน และลำดับสังคม ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่สร้างให้พวกหนูมีสังคม แต่เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้ไม่สามารถเติบโตได้เต็มที่ ไม่มีการพัฒนาทางสังคมและไม่มีการแพร่พันธุ์ จากผลการทดลองที่ออกมา ประชากรทั้งหมดจะแก่ลงและตายทำให้พวกมันสูญพันธุ์ได้”
แคลฮูนเชื่อว่า การทดลองกับหนูสามารถนำไปใช้กับมนุษย์ได้เช่นกัน แต่การทดลองจริงๆ อาจจะส่งผลที่น่ากลัวและสยดสยองกว่านี้ก็เป็นได้!
นั้นเพราะสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนอย่างเช่นมนุษย์ ไม่มีเหตุผลว่าทำไมลำดับเหตุการณ์นี้ จะนำไปสู่การสูญพันธุ์ของมนุษย์ได้ เพราะความรุนแรงพวกนี้ ยังมีองค์กรทางสังคมและกฏหมายที่สามารถควบคุมได้บ้าง
ในขณะนั้นการทดลอง และข้อสรุปได้รับความสนใจค่อนข้างมาก มันสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้คนที่รู้สึกเกี่ยวกับความแออัดยัดเยียดในเมืองที่นำไปสู่ “ความเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรม” แต่แน่นอนว่าสิ่งนี้ยังขาดปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ความยากจน อคติด้านชนชั้น, ศาสนา และ เชื้อชาติ …อย่างไรก็ตาม ผู้คนก็ตั้งคำถามว่าการทดลองนี้ จะสามารถประยุกต์ใช้กับมนุษย์ได้จริงหรือไม่?
การสิ้นสุดของยูโทเปีย อาจเกิดขึ้นได้จริง แต่ไม่ได้มาจากความหนาแน่นของประชากร แต่มาจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มากเกินไป นักประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ เอ็ดมันด์ แรมส์เดน (Edmund Ramsden) ได้กล่าวเอาไว้ในปี พ.ศ.2551 (2008) ว่าหนูของแคลฮูนไม่ได้คลุ้มคลั่งไปทั้งหมด พวกที่ควบคุมพื้นที่ของมันได้ ก็จะใช้ชีวิตกันได้เป็นปกติ
นอกจากนี้ การทดลองยังถูกวิจารณ์ว่าไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาประชากรที่มากไป แต่เป็นการสร้างสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความก้าวร้าวและพฤติกรรมมากกว่า …และนี่คือข้อสรุปของจักรวาลที่ 25