ทัวทารา (tuatara) เป็นสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ที่สืบเชื้อสายมาจากสัตว์เลื้อยคลานโบราณยุคเดียวกับไดโนเสาร์ เมื่อกว่า 220 ล้านปีก่อน จัดเป็นสัตว์หายาก และอายุยืนได้ถึง 200 ปี สามารถปรับสภาพตัวเองจนอยู่รอดมาได้ถึงทุกวันนี้ คาดการณ์ว่าปัจจุบันมีจำนวนประชากรเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 50,000 ตัว
ในการประมาณความเร็วของวิวัฒนาการ นักวิจัยได้กู้คืนลำดับดีเอ็นเอจากกระดูกของทัวทาราโบราณ โดยทีมงานพบว่าแม้ว่าทัวทารา จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงร่างกายส่วนใหญ่ในช่วงวิวัฒนาการที่ยาวนาน แต่พวกเขาก็วิวัฒนาการที่ระดับ DNA เร็วกว่าสัตว์อื่นๆ
David Lambert นักวิจัยจาก Allan Wilson Center for Molecular Ecology and Evolution ในนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “สิ่งที่เราพบคือ ทัวทารา มีอัตราการวิวัฒนาการระดับโมเลกุลสูงที่สุดที่เท่าที่พบมา
นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าวิวัฒนาการของโมเลกุลจะเร็วที่สุดในสัตว์ที่มีรูปแบบทางกายภาพหรือทางสัณฐานวิทยาวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน การค้นพบทัวทารา ชี้ให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราทั้งสอง
“แน่นอนว่าเราเคยคาดว่าทัวทาราที่เป็นสัตว์ทำกิจกรรมทุกอย่างช้าๆ มันเติบโตช้า ทำแต่สิ่งเดิมๆ อย่างช้าๆ และมีการเผาผลาญที่ช้ามาก จะมีวิวัฒนาการอย่างช้าๆ แต่อันที่จริง ในระดับ DNA พวกมันวิวัฒนาการเร็วจนน่าตกใจ”
อัตราการวิวัฒนาการของเพนกวินอาเดลี ซึ่ง Lambert และทีมของเขาได้ศึกษาในทวีปแอนตาร์กติกมาหลายปีนั้นยังช้ากว่าของทัวทาราเล็กน้อย อัตราของทัวทารานั้นเร็วกว่าสัตว์อื่นๆ ที่ได้รับการศึกษาอย่างมาก รวมถึงสิงโต วัว ม้า และหมีถ้ำที่สูญพันธุ์ไปแล้ว