อย่างไรก็ตาม ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่คุกคามสภาพแวดล้อมที่สำคัญนี้ การค้นพบใหม่เหล่านี้ยังทำให้เกิดความกังวลใหม่เกี่ยวกับการปล่อยเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตราย ไปยังสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
ตามที่รายงานในวารสาร Nature Biotechnology นักวิจัยได้รวบรวมหิมะ น้ำแข็งและตัวอย่างอื่นๆ จากธารน้ำแข็งในทิเบต 21 แห่ง ระหว่างปี 2016-2020 พวกเขาค้นพบแบคทีเรีย 968 สายพันธุ์ ซึ่งประมาณ 82% ไม่เคยได้รับการบันทึกก่อน
ธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งปกคลุมประมาณ 10% ของพื้นผิวโลก และยังเป็นอ่างเก็บน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกเหนือจากความอยากรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนอีกมากในการทำความเข้าใจจุลินทรีย์หรือแบคทีเรีที่อาศัยอยู่ที่นี่
โดยนักวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ กังวลว่าธารน้ำแข็งของที่ราบสูงทิเบตกำลังละลายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความกลัวของพวกเขาคือ แบคทีเรียจำนวนมากที่ถูกกักขังไว้ในราบสูงทิเบตเป็นเวลานับพันๆ ปี ในไม่ช้าพวกมันอาจได้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ เนื่องจากธารน้ำแข็งที่ละลาย
“จุลินทรีย์ก่อโรคในสมัยโบราณและสมัยใหม่ ที่ถูกกักขังด้วยน้ำแข็งอาจนำไปสู่โรคระบาดในท้องถิ่น และแม้กระทั่งโรคระบาดใหญ่ จุลินทรีย์เหล่านี้อาจมีปัจจัยก่อโรคใหม่ที่ทำให้พืช สัตว์ และมนุษย์อ่อนแอลง”
เพื่อให้ฟังดูเป็นที่เรื่องเลวร้ายยิ่งขึ้น ที่ราบสูงทิเบตตั้งอยู่ในสถานที่ที่สำคัญมากแต่ก็ไม่ปลอดภัย ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “หอเก็บน้ำแห่งเอเชีย” มันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่ง ล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด รวมถึงแม่น้ำแยงซี แม่น้ำเหลือง แม่น้ำคงคา และแม่น้ำพรหมบุตร และถ้าแบคทีเรียก่อโรคจะหยั่งรากที่นี่ ก็มีโอกาสที่จะทำลายล้างได้
นี่ถือเป็นคำเตือนเบื้องต้นเท่านั้น แต่นักวิจัยแนะนำว่างานใหม่ของพวกเขา เน้นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็ง