รู้หรือไม่ครั้งหนึ่ง? นักวิจัยเคยเปลี่ยนแมวให้เป็นโทรศัพท์

แมวกับโทรศัพท์มีอะไรที่เหมือนกันอย่างงั้นหรือ? มันเป็นการทดลองที่เกิดขึ้นในปี 1929 โดยนักวิจัยสองคนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในตอนนั้นเขาใช้แมวที่หมดสติแต่ยังมีชีวิตอยู่ และเปลี่ยนมันให้เป็นโทรศัพท์ที่ใช้งานได้ แต่พวกเขาทำยังไง?

วิธีของพวกเขาเริ่มต้นด้วยการทำให้แมวสลบก่อน จากนั้นจึงเปิดกะโหลกของมันเพื่อให้เข้าถึงเส้นประสาทการได้ยินของแมว จากนั้นนำสายโทรศัพท์ติดที่เส้นประสาทและปลายอีกข้างของสายเชื่อมต่อกับเครื่องรับโทรศัพท์ จากนั้น Bray จะพูดที่หูของแมว ขณะที่ Wever จะฟังผ่านเครื่องรับที่อยู่ห่างออกไป 50 ฟุตในห้องเก็บเสียง

แนวคิดทั่วไปคือ ความถี่ของการตอบสนองของเส้นประสาทรับความรู้สึก มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของสิ่งเร้า ในกรณีของเส้นประสาทการได้ยิน เมื่อเสียงดังขึ้นความถี่หรือระดับเสียงที่หูได้รับก็ควรจะสูงขึ้น เมื่อ Bray ส่งเสียงด้วยความถี่ใดความถี่หนึ่ง เราจะได้ยินเสียงจากเครื่องรับด้วยความถี่เดียวกัน เมื่อ Bray เพิ่มระดับเสียง ความถี่ของเสียงที่เราได้ยินก็เพิ่มขึ้นด้วย

การทดลองนี้พิสูจน์ว่า ความถี่ของการตอบสนองในเส้นประสาทหู มีความสัมพันธ์กับความถี่ของเสียง เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม Wever และ Bray ได้ทำการทดลองเพิ่มเติมโดยมีเงื่อนไขต่างกัน เมื่อพวกเขาวางลวดบนเนื้อเยื่อและเส้นประสาทอื่นๆ ให้ห่างจากเส้นประสาทการได้ยิน ผลคือเครื่องรับโทรศัพท์จะไม่ส่งเสียงใดๆ

ในการทดลองหนึ่ง พวกเขาจำกัดการไหลเวียนโลหิตของศีรษะของแมว ซึ่งก็หยุดการส่งสัญญาณเสียงจากเครื่องรับด้วยเช่นกัน และจากการค้นพบนี้ทำให้ Wever และ Bray ได้รับรางวัล Howard Crosby Warren Medal of Society เป็นครั้งแรก

การทดลองที่วางรากฐานสำหรับการปลูกถ่ายประสาทหูเทียม

ที่น่าแปลกใจคือ Wever และ Bray ไม่สนใจที่จะวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาสนใจเพียงโปรโตคอลและวิธีการทำการทดสอบเหล่านี้มากกว่า และสุดท้ายการวิจัยของพวกเขา ได้วางรากฐานสำหรับการปลูกถ่ายประสาทหูเทียม อุปกรณ์ที่แปลงการสั่นสะเทือนของเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมอง

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาprinceton