นักวิจัยคิดส่ง ‘หมีน้ำ’ เดินทางข้ามดวงดาว ด้วยยานความเร็วใกล้ความเร็วแสง

มีผู้คนจำนวนมากที่ใฝ่ฝันจะเดินทางข้ามดวงดาว แต่สำหรับตอนนี้มันยังเป็นเป้าหมายที่ห่างไกลสำหรับเผ่าพันธุ์มนุษย์ และเทคโนโลยีในตอนนี้ก็ต้องใช้เวลานับพันปี เพื่อเดินทางระหว่างดวงดาว แต่การศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่า มันอาจจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากจะมีผู้โดยสารที่อาศัยที่มีอายุยืนยาวและสามารถอยู่ในสิ่งประดิษฐที่พิเศษเพื่อส่งข้ามดวงดาวไป

ประดิษฐที่พิเศษนี้จะเป็นยานอวกาศที่อาจจะมีน้ำหนักไม่เกิน 1 กรัม และจะถูกส่งไปด้วยเลเซอร์อันทรงพลัง ด้วยความเร็วมากกว่าหนึ่งในห้าของความเร็วแสง โดยเทคโนโลยีเร่งความเร็วด้วยเลเซอร์ได้รับการทดลองมานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้กับยานขนาดใหญ่ได้ โดยยานไม่ได้ออกแบบมาเพื่อมนุษย์ แต่ยานนี้จะไปถึง “พร็อกซิมา เซ็นทอรี (Proxima Centauri)” ซึ่งอยู่ห่างจากระบบสุริยะของเราประมาณ 4.2 ปีแสง และจากการคำนวนพวกนักวิจัยพบว่าจะใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งในสี่ของศตวรรษ

ในขณะที่มนุษย์ไม่สามารถเดินทางด้วยยานที่บางเทียบเท่าแผ่นเวเฟอร์ แต่ก็มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่สามารถทำได้ และการส่งพวกมันออกไป อาจเป็นเรื่องที่น่าสนใจทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะอย่างน้อยจะสามารถใช้เพื่อศึกษาผลกระทบของการเดินทางระหว่างดวงดาวอย่างรวดเร็วต่อสิ่งมีชีวิตได้

ตามรายงานในวารสาร Acta Astronautica ภารกิจที่เป็นไปได้ จะต้องมีสิ่งมีชีวิตที่ทนต่อรังสีและสามารถเข้าสู่ภาวะชะงักงันได้ สัตว์สองตัวดังกล่าวคือ หมีน้ำ (tardigrades) และ หนอนนีมาโทดา (Caenorhabditis elegans) ซึ่งเป็นหนอนชนิดหนึ่งที่มักใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้สมัครทั้งสองมีประสบการณ์ค่อนข้างมาก พวกมันถูกใช้ทดลองทั้งในและนอกสถานีอวกาศนานาชาติ

ศาสตราจารย์ Joel Rothman ผู้เขียนร่วมกล่าวว่า “เราอยากรู้ว่าพวกมันจำพฤติกรรมที่ได้รับการฝึกฝนได้ดีเพียงใด เมื่อต้องบินออกจากแหล่งกำเนิดบนโลกด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง และตรวจสอบเมตาบอลิซึม สรีรวิทยา การทำงานของระบบประสาท การสืบพันธุ์ และอายุที่เพิ่มขึ้น”

UC Santa Barbara กล่าวในแถลงการณ์ “การทดลองส่วนใหญ่ที่สามารถทำได้กับสัตว์เหล่านี้ในห้องแล็บสามารถทำได้บน StarChips ขณะที่พวกมันเดินทางผ่านจักรวาล” ผลกระทบของการเดินทางอันยาวนานต่อชีววิทยาสัตว์ สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์ได้

“เราสามารถเริ่มคิดเกี่ยวกับการออกแบบยานขนส่งระหว่างดวงดาว อะไรก็ได้ ในลักษณะที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ตรวจพบในสัตว์จิ๋วเหล่านี้ได้” Rothman กล่าว

บทความนี้ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมอีกด้วย ประการแรก มันกล่าวถึงความเสี่ยงในการส่งสิ่งมีชีวิตบนโลกไปยังระบบดาวดวงอื่น เผื่อว่ามันอาจปนเปื้อน การปกป้องดาวเคราะห์เป็นสิ่งที่กำลังดำเนินการอย่างจริงจัง และเมื่อพิจารณาถึงขนาดของยานและแผนแล้ว จึงไม่มีความเสี่ยงดังกล่าว แม้ว่าจะต้องพบกับดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มันก็จะถูกเผาไหม้ก่อนที่จะถึงพื้น

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements