การล่าโลมาที่เรียกว่า “Red Cove” หรือมีอีกชื่อ “Taiji dolphin drive hunt” เกิดขึ้นที่เมือง “Taiji” จังหวัดวะกะยะมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยเมืองนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นเมืองแห่งการล่าวาฬ เป็นเมืองสำคัญ ที่พัฒนาเทคนิคการล่าวาฬที่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จนในปี 1988 International Whaling Commission (IWC) ได้มีคำสั่งตัดสินห้าม “Taiji” ล่าวาฬเชิงพาณิชย์ แต่ยังไงก็ตามพวกเขายังคงล่าวาฬขนาดเล็กรวมทั้งโลมาต่อไป ซึ่งถือเป็นการล่าประจำปีของเมืองแห่งนี้
การล่าปลาโลมาที่ Taiji เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 28 กุมภาพันธ์ ในแต่ละปีรัฐบาลจะกำหนดโควตา ว่าจะล่าหรือจับสิ่งมีชีวิตได้กี่ชนิด และกี่ตัว โดยใน “ปี 2020 ตัวเลขอยู่ที่ 1749 ตัว”
ในแถลงการณ์สำนักงานกิจการล่าวาฬของสำนักงานประมงแห่งญี่ปุ่น (FAJ) กล่าวว่า “FAJ ได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการจัดการประมงโลมา โดยการประมงโลมาใน Taiji ได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมกับรัฐบาลจังหวัดวากายามะ .”
ฝูงปลาโลมากว่าหนึ่งร้อยตัว รวมทั้งตัวเล็กอย่างน้อยสามตัว ถูกถ่ายภาพขณะติดอวนใน “Red Cove” ที่โด่งดังของญี่ปุ่นในช่วงสุดสัปดาห์ของการล่า
Life Investigation Agency (LIA) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ได้ถ่ายทำรายการล่าในวันอาทิตย์ที่เมือง Taiji เมืองชายฝั่งเล็ก ในจังหวัดวะกะยะมะ มีเรือหลายลำกำลังโยนอวนลงในน้ำที่ตื้นกว่า ก่อนที่สัตว์เหล่านั้นจะถูกตาข่ายคัดเลือกและลากขึ้นเรือ
เรนยาบูกิผู้อำนวยการ LIA อยู่บริเวณอ่าวและได้เห็นการล่าโดยตรง เขาบอกว่าเขารู้สึกหมดหนทางขณะเฝ้าดูโลมาถูกต้อนจากทะเลเปิดเข้าไปในอ่าวแคบๆ และพวกมันทุกตัวที่เข้ามาอาจถูกฆ่าเพื่อเอาเนื้อ และชาวประมงนำไปสู่โรงงานแปรรูป (เนื้อโลมา)
Taiji ปี 2009 คือการล่าครั้งใหญ่สุดในโลก
ในปี 2009 Taiji ยังคงเป็นเมืองเดียวในญี่ปุ่นที่การล่าสัตว์ ยังคงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยโควต้าของรัฐบาลอนุญาตให้ฆ่าหรือจับสัตว์จำพวกวาฬ-โลมา ได้มากกว่า 2,000 ตัว และการล่าครั้งนี้ถือเป็นการล่าสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และยังคงทำแบบนี้อยู่ทุกปี
ถึงแม้ในปี 2015 จะมีการ “อ้างถึง” เรื่องที่ สมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะไม่สนับสนุนการล่าไทจิอีกต่อไป และมีการประกาศว่าจะมีการห้ามซื้อและขายปลาโลมาด้วยวิธีการล่านี้ แต่จนถึงปี 2020 ก็ยังมีการล่าอยู่ดี
น้าๆ หลายคนอาจมองเห็นภาพว่าประเทศญีปุ่นเป็นสายอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่อีกมุมหนึ่งพวกเขาก็เป็นผู้บริโภคสัตว์ทะเลอันดับต้นๆ ของโลกด้วย และนี่คืออีกมุมหนึ่งของการทำประมงของญีปุ่น ที่ดูไม่เห็นจะเป็นการอนุรักษ์สักนิด
ส่องด้านมืดโลมา น้องไม่ใสอย่างที่คุณคิด
เรื่องน่ารู้ของ แมนนาที กับพะยูน และมันต่างกันอย่างไร