“ล่าสุดดูเหมือนจะมีความหวังกับพวกมัน เพราะเมื่อเดือนธันวาคม 2020 ทาง Nationalgeographic ได้ลงบทความเกี่ยวกับความหวังที่ โรคระบาดของแทสเมเนียนเดวิล จะมีการติดเชื้อที่น้อยลง เมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเพียงยืดเวลาสูญพันธุ์ไป หากมนุษย์ยังหาทางรักษาให้พวกมันไม่ได้”
แทสเมเนียนเดวิล (Tasmanian Devil) ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcophilus harrisii เป็นมาร์ซูเปียลกินเนื้อในวงศ์ Dasyuridae ปัจจุบันมีถิ่นฐานเฉพาะในรัฐแทสเมเนียของออสเตรเลีย โดยได้รับสถานะเป็นสัตว์คุ้มครองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 สันนิษฐานว่าแทสเมเนียเดวิลได้สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลียไปเมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว
สัตว์ที่มีกรามขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แทสเมเนียนเดวิลมีขนาดใกล้เคียงกับสุนัขตัวเล็กๆ ถือเป็นมาร์ซูเปียลกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ไทลาซีนสูญพันธุ์ เมื่อปี ค.ศ.1936 เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย และถือว่าเป็นสัตว์ที่มีกรามขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับขนาดตัว
สัตว์กินเนื้อที่ทรงพลังที่สุด หากเทียบปอนด์ต่อปอนด์
แทสมาเนียนเดวิลตัวเมียสามารถมีลูกในกระเป๋าหน้าท้องได้สูงสุดถึง 6 ตัว ซึ่งถือว่ามีจำนวนเยอะมาก โดยปกติแล้วมันจะตัวยาว 30 นิ้ว และหนัก 26 ปอนด์ แม้ว่าขนาดของมันจะเล็ก แต่หัวและขากรรไกร พร้อมกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่ง มันถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ทรงพลังที่สุด หากเทียบปอนด์ต่อปอนด์
นิสัยของแทสเมเนียนเดวิล
แทสเมเนียนเดวิล มีชื่อเสียงในเรื่องความก้าวร้าว ขี้โมโห หากถูกคุกคาม มันจะเข้าต่อสู้เพื่อปกป้องอาหาร หรือถิ่นของมัน มันร้ายขนาดที่ ผู้ตั้งถิ่นฐานในยุโรปยุคแรกขนานนามพวกมันว่า “ปีศาจ” แต่ชื่อเสียงนี้อาจไม่ยุติธรรมนัก แม้ว่าแทสเมเนียนเดวิลจะดูก้าวร้าว หลายพฤติกรรมที่มันทำก็เพื่อปกป้องอาหาร ที่อยู่ และครอบครัวของมัน
ภัยคุกคามต่อความอยู่รอด
ความพยายามในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 ในการกำจัดแทสเมเนียนเดวิล จนทำให้พวกมันมีจำนวนลดลงอย่างมาก ในปี ค.ศ.1941 รัฐบาลได้กำหนดให้แทสเมเนียนเดวิล เป็นสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองและจำนวนของพวกมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่นั้นมา
น่าเศร้าที่โรคระบาดกำลังทำให้พวกมันสูญพันธุ์
ความเจ็บป่วยร้ายแรงที่ค้นพบในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ได้คร่าชีวิตแทสเมเนียนเดวิลไปแล้วหลายหมื่นตัว โรคชนิดนี้ถูกเรียกว่า “โรคเนื้องอกบนใบหน้าปีศาจ (Devil facial tumour disease – DFTD)
มันเป็นโรคที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว นี้เป็นมะเร็งที่ติดต่อได้ มันทำให้เกิดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นรอบปากและศีรษะของสัตว์ทำให้กินได้ยาก ในที่สุดพวกมันก็อดตาย เป็นผลให้ประชากรแทสเมเนียนเดวิล ลดลงจาก 140,000 ตัว เหลือเพียง 20,000 ตัว และขณะนี้สายพันธุ์นี้ถูกจัดให้อยู่ในประเภทใกล้สูญพันธุ์โดย สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
ถึงแม้แทสเมเนียนเดวิล ถูกบอกว่ามันอาจจะสูญพันธุ์ใน ค.ศ. 2035 และจนถึงตอนนี้นักวิจัยก็ยังพยายามที่ทำความเข้าใจโรคและหาทางรักษา แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีทางรักษา มีเพียงแนวโน้มที่ได้เห็น แทสเมเนียนเดวิลบางตัวสามารถปรับตัวให้เข้ากับโรคได้ ..เราหวังว่าพวกมันจะมีชีวิตรอด และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเหมือนในอดีต
“รู้หรือไม่ว่า แทสเมเนียนเดวิล สามารถให้กำเนิดลูกได้มากถึง 50 ตัว แต่จะมีเพียง 4 ตัวเท่านั้นที่มีชีวิตรอด นั้นเพราะตัวเมียมีจุกนมเพียง 4 จุก”
อ่านเรื่องอื่น
เพนกวิน 6,000 ตัว ในออสเตรเลียถูกกวาดล้าง หลังปล่อยแทสเมเนียนเดวิลบนเกาะแห่งใหม่
ฮันนีแบดเจอร์ สิ่งมีชีวิตที่พร้อมบวกได้กับทุกสิ่ง
ปลาแสงอาทิตย์ ยักษ์ใหญ่ที่น่าเศร้า สัตว์ที่วางไข่ได้มากที่สุดในโลก