มะแพร้วเกิดขึ้นมาได้ยังไง?
ถึงแม้ว่า “มะแพร้ว” จะมีมานานแล้วมันนานจนลืมจุดกำเนิดของมันเลยทีเดียว รวมถึงวิธีการที่มันเปลี่ยนจาก “มะพร้าว” เป็น “มะแพร้ว” ก็ไม่มีรายงานที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน มีรายงานบอกไว้เพียง “เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการกลายพันธุ์” .. จึงต้องขอเน้นว่า “มะแพร้ว” คือต้นไม้ที่เกิดจากการกลายพันธุ์โดยธรรมชาติ
มะพร้าว กับ มะแพร้ว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนทุกประการจนแทบจะแยกไม่ออก “หากพบเห็นต้นมะแพร้วก็จะเข้าใจว่าเป็นมะพร้าว” แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย เช่น ช่อดอกหรือทะลายของผลบนต้น ก็จะเห็นความแตกต่างของต้นไม้ทั้ง 2 อย่างชัดเจน เดี๋ยวลองดูจากภาพ เปรียบเทียบจะได้เข้าใจง่าย
“มะพร้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. และ มะแพร้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cocos nucifera L. var. spicata K.C.Jacob จะเห็นว่ามะแพร้วแตกต่างจากมะพร้าวเพียง variety เท่านั้น”
ปลูกมะแพร้วเหมือนการเสี่ยงดวง
การปลูกมะแพร้วมันก็เหมือนการเสี่ยงดวง นั้นเพราะเมื่อเอา “ต้นมะแพร้ว” (แน่ใจว่าใช่มะแพร้ว) มาปลูก ก็ยังไม่สามารถเชื่อได้ว่ามันจะเป็นมะแพร้วในท้ายที่สุด เพราะเมื่อต้นมะแพร้วโตขึ้น มีโอกาสสูงมากเมื่อมันโตขึ้น และกลายเป็น “มะพร้าว” ..ว่ากันว่าเอามะแพร้วมาปลูก 10 ต้น เมื่อโตขึ้น มันอาจกลายเป็นมะพร้าว 8 ต้น
เขียนมาซะยาว เชื่อว่าสิ่งที่น้าๆ อยากรู้คือ สรรพคุณของมะแพร้วคืออะไร?
- น้ำของของมะแพร้ว ช่วยลดดับกระหาย คลายร้อน รู้สึกสดชื่น ช่วยลดอาการบวมน้ำ มีส่วนในการเสริมสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ทำให้ผิวพรรณกระชับ ลดการเกิดริ้วรอย ช่วยรักษาอาการไอ รักษาอาการอ่อนเพลียอันเนื่องจากการสูญเสียน้ำภายในร่างกายจากโรคท้องร่วง ช่วยรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาอาการเมาค้าง ช่วยถอนพิษเบื่อเมา รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ
- น้ำและเนื้อของมะแพร้วมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ กรดอะมิโน แคลเซียม เป็นต้น
- ดอกของมะแพร้วช่วยในการบำรุงโลหิต รักษาอาการเจ็บคอ ลดเสมหะ
- น้ำของมะแพร้วสามารถฉีดเข้าเส้นเลือดได้ กรณีผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำหรือมีปริมาณเลือดน้อย
- น้ำของมะแพร้วอ่อนมีปริมาณของสารที่เรียกว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน อยู่สูง ช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้ ช่วยป้องกันและรักษาการเกิดโรคหัวใจ
- ใช้เปลือกหุ้มรากของมะแพร้วรักษาโรคคอตีบได้
- ช่วยรักษาอาการระคายเคืองดวงตาโดยใช้เนื้อมะแพร้วอ่อนนำมาวางบนเปลือกตา
- ใช้รากหรือจั่นน้ำของมะแพร้ว รักษาโรคไข้ทับระดู
- การอมน้ำกะทิสดของมะแพร้วประมาณ 3 วันช่วยในการรักษาปากเป็นแผล ปากเปื่อย
- รากของมะแพร้วใช้อมบ้วนปากเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ
- น้ำมันของมะแพร้วช่วยรักษาอาการปวดกระดูกและเส้นเอ็น ช่วยรักษาแผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง ใช้ทาผิวหนังใช้ทารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือแผลถูกน้ำร้อนลวกเพื่อป้องกันแสงแดดและทำให้ผิวชุ่มชื้นในหน้าหนาว
- ใบของมะแพร้วใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาโรคอีสุกอีใส
และนี่คือเรื่องราวของต้นมะแพร้ว จริงๆ ต้องบอกว่าต้นไม้ชนิดนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ด้วย นั้นเพราะเมื่อปลูกมันแล้ว โอกาสน้อยที่จะเป็นมะแพร้วอย่างที่ใจคิด สุดท้ายก็หวังว่าจะชอบเรื่องนี้กัน ยังไงก็ช่วยกันแชร์หน่อยนะ
นากทะเล กับพฤติกรรมสุดร้ายกาจ เชิญพบกับด้านมืดมัน
เมื่อนากจอมซ่า มานอนกลิ้งข้างไอ้เข้ และมันน่าจะสื่อว่า กัดฉันทีๆ