สรุปงานวิจัย ทำไม..? กุ้งที่อุบลราชธานีจึงเดินขบวนบนบก

สำหรับการเดินขบวนบนบกของกุ้งนับแสนตัว ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในจังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง และในเรื่องนี้จะเป็นงานวิจัยที่ทำขึ้นโดย "คุณวัชรพงษ์ หงส์จำรัสศิลป์" ที่ได้เฝ้าติดตามพฤติกรรมของกุ้งตัวเล็กๆ เหล่านี้มาหลายปี จนในที่สุดได้ข้อสรุป

“เกิดและเติบโตที่กรุงเทพ ประเทศไทย “คุณวัชรพงษ์ หงส์จำรัสศิลป์” ได้มีความสนใจจากรายการโทรทัศน์เกี่ยวการเดินขบวนของกุ้งน้ำจืด ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่พากันเดินออกจากลำธารในช่วงฤดูฝนเพื่อออกหากินอย่างลึกลับ”

จนในปี 2017 ผู้ซึ่งทำงานให้กับ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ที่ UCLA เพื่อศึกษาความก้าวร้าวและการสื่อสารของปลา แต่เค้าก็ยังคิดถึงกุ้งที่ทำให้ประทับใจเมื่อหลายปีก่อน ..ถึงจะได้ดูมาแค่ห้านาที แต่มันอยู่ในสมองและคิดถึงเรื่องนี้มาถึง 20 ปี

เรื่องราวของกุ้งชนิดนี้ ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว และยังเป็นตำนานของท้องถิ่น แต่ก็ไม่มีใครศึกษาว่าทำไมพวกมันถึงทิ้งแหล่งน้ำที่ปลอดภัย หรือแม้แต่ระบุชนิดของกุ้งที่ขึ้นมา

ด้วยเหตุนี้เขาจึงกระตือรือร้นที่จะกลับไปยังบ้านเกิดเพื่อศึกษาสัตว์ประจำถิ่นอันโด่งดังนี้ …“ผมต้องการให้โครงการนี้ช่วยเหลือคนไทยและยังช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย” คุณวัชรพงษ์ กล่าว

ความลับของกุ้ง

Advertisements

ในปี 2018 – 2019 วัชรพงษ์ได้ออกสำรวจแม่น้ำลำโดม ที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และระบุสถานที่สองแห่งที่กุ้งนับแสนตัวที่จะเดินออกมาจากแหล่งน้ำ มันจะเป็นช่วงที่มีพายุในฤดูฝน ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม เขาและเพื่อนร่วมงานตั้งกล้องถ่ายภาพกลางคืนแบบ Time-Lapse เพื่อจับความเคลื่อนไหวของกุ้งเหล่านี้

การค้นพบของพวกเขาถูกตีพิมพ์ไว้ในวารสารสัตววิทยา (Journal of Zoology) โดยชี้ให้เห็นว่า กุ้งมีแนวโน้มที่จะหลบหนีจากเขตที่มีกระแสน้ำแรง ยิ่งกระแสน้ำแรงมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสที่กุ้งจะคลานขึ้นมาบกมากขึ้นเท่านั้น แต่สุดท้ายพวกมันจะกลับลงน้ำในเขตเดิมเมื่อกระแสน้ำนิ่งลง

“ขบวนกุ้งที่พวกเขาสังเกตเห็นคือ การเดินขบวนอย่างต่อเนื่องและจะมีการร่วมฝูงที่เพิ่มขึ้น โดยบางตัวสามารถไปได้ไกลถึง 20 เมตร”

จากนั้นเขาก็เก็บตัวอย่างของกุ้งบางส่วน กลับมาที่ห้องแลป ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในถังสำหรับการทดลอง หลังจากนั้นเกือบสองปี จึงได้ผลทดสอบที่สมบรูณ์ วิธีการทดลองคือใช้น้ำจากแม่น้ำที่ใกล้แหล่งที่จับกุ้งมา และปรับการไหลของน้ำให้ใกล้เคียง …ในที่สุดกุ้งตัวแรกก็เดินออกมาจากน้ำ มันเป็นความสำเร็จครั้งแรกในการทดสอบ

“วัชรพงษ์ตะโกนด้วยความดีใจ เมื่อกุ้งตัวแรกเดินออกจากน้ำ มันเหมือนว่าได้ไขความลับของธรรมชาติได้แล้ว!”

อุณหภูมิที่เย็นลงอย่างน่าประหลาดและแสงที่น้อย น่าจะเป็นกุญแจที่เป็นสาเหตุทำให้กุ้งเดินออกมาจากแหล่งน้ำ ในห้องแลปเขาได้ปัจจัยสำคัญต่างๆ ทั้งแสง ความแรงของกระแสน้ำและลม รวมถึงอุณหภูมิของน้ำในการทดลอง

ในขั้นตอนสุดท้าย เขาได้ทำการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของกุ้ง จนได้ทราบสายพันธุ์ของกุ้งคือ กุ้งก้ามขน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium Dienbienphuense (มาโครบราเซียม เดียนเบียนฟูเอนเซ) ซึ่งถูกพบครั้งแรกในปี 1972

โดยกุ้งชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ กรีเรียวตรงและชี้ลงเล็กน้อย ขาเดินคู่ที่ 2 จะยาวไม่เท่ากัน ก้ามใหญ่ยาวกว่าลำตัว ปลายขาด้านหน้ามีขนปกคลุมหนาแน่น ลำตัวจะยาวประมาณ 3 – 11 มิลิเมตร พบในแหล่งน้ำจืดทั่วไป ในจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดเลย

เทศกาลเคลื่อนย้ายของกุ้งที่เหมือนซูชิสายพาน

กุ้งก้ามขนมีความเสี่ยงอย่างมาก เมื่อต้องออกจากแหล่งน้ำ เพราะสัตว์หลายชนิดจ้องที่จะกินมัน มีทั้งกบ กิ้งก่า งู และแม้แต่แมงมุมก็ล่าพวกมันได้ กุ้งพวกนี้ดูเหมือนซูชิสายพานที่จะไหลไปเรื่อยๆ รอคอยคนหยิบมากินได้ทุกเมื่อ และมนุษย์เองก็เข้าไปยุ่งกับพวกมันเช่นกัน

แมงมุมพวกนี้จะรอกุ้งที่ผ่านมาก่อนจะเลือกกินได้อย่างอร่อย โดยในฤดูฝนของทุกปี บุฟเฟ่ต์เคลื่อนที่พวกนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มโปรตีนเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร ด้วยการอพยบดังกล่าว

ปีเตอร์ โนแวค (Peter Novak) นักนิเวศน้ำจืดจาก Department of Biodiversity กล่าวว่า มันเป็นเรื่องน่าสนใจที่การเดินขบวนของกุ้งพวกนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์

ญาติสนิทของกุ้งชนิดนี้หลายชนิดเป็นพวกที่อยู่ในน้ำกร่อย อยู่ตามปากแม่น้ำก่อนจะอพยพไปยังต้นน้ำเพื่อวางไข่ แม้ว่ากุ้งก้ามขนจะไม่ทำแบบนั้น แต่เขาก็สงสัยว่า การที่กุ้งย้ายไปมาในช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิต อย่างเช่นช่วงที่น้ำขึ้นสูง ดูเหมือนว่าพวกจะโตเต็มวัยและพร้อมที่จะสืบพันธุ์ อาจต้องการเข้าไปในแหล่งอาศัยของพวกตัวอ่อน

และแม้ว่ากุ้งพวกนี้ยังห่างไกลจากการสูญพันธุ์ แต่การท่องเที่ยวก็ก่อให้เกิดผลเสียกับพวกมันได้ เมื่อคนส่องไฟไปที่พวกมัน ก็จะทำให้พวกมันตื่น และรีบกลับลงไปในน้ำ จนทำให้มันถูกพัดพาไป และคุณอาจไม่รู้ว่าในช่วงไม่กี่ปีนี้ ขบวนกุ้งได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 100,000 คนต่อปี และยังได้รับการส่งเสริมในฐานะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ …ความกังวลจึงเพิ่มขึ้น

สำหรับกุ้งเดินขบวนที่มีชื่อเสียงนี้ จะเกิดขึ้นที่ “แก่งลำดวน” จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นปีละ 1 ช่วง หรือราวๆ 1 เดือนต่อปี ซึ่งจะเป็นช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม แต่คุณไม่ต้องไปสุ่มดู เพราะเมื่อใกล้ถึงเวลาก็จะมีประกาศล่วงหน้าอย่างแน่นอน

สุดท้ายก็หวังว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเดินขบวนของกุ้ง จะช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์กุ้งชนิดอื่นๆ ที่กำลังลดลง ตัวอย่างเช่นเขื่อนที่หยุดการเคลื่อนไหวของกุ้งที่จะต้องเดินทางไปยังแหล่งผสมพันธุ์ ดังเช่นญาติๆ ของพวกมันในออสเตรเลียและแอฟริกา ทำให้ประชาการของพวกมันแตกตัว และไปขัดขวางการอพยพของพวกมัน กุ้งเดินขบวนพวกนี้ จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับการออกแบบ “บันไดกุ้ง” เพื่อในอนาคตอาจจะช่วยเหลือพวกมันได้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาNational Geographic