พรีวิว Aluminum Daiwa  Steez A TW1016

สวัสดีครับวันนี้เอาพรีวิวของรอก Steez A TW 1016 มาให้น้าๆ ได้รับชมกัน แน่นอนว่าเป็นบทความแปลที่ผมแมวบ้าอ้างอิงมาจากเว็บ tackletour.com โดยเจ้ารอกตัวนี้เป็นรุ่นล่าสุดที่ออกมาเมื่อปี 2017 จุดเด่นดูจะเป็นบอดี้ที่ทำจาก Aluminum นั้นเอง แต่ก็ต้องขอบอกไว้ก่อนตัวผมเองไม่ค่อยจะได้ใช้รอกของ Daiwa โดยเฉพาะ Steez ยิ่งไม่เคย เลยไม่แน่ใจกว่าจะแปลได้ถูกต้องเกี่ยวกับศัพท์เทคนิคของ Daiwa หรือเปล่า แต่ยังไงซะถ้าผิดพลาดประการใด ก็บอกได้ครับ จะแก้ไขให้ถูก

กว่า 10 ที่ผ่านมา Daiwa ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มความสะดวกสบายในการตกปลา โดย Daiwa ได้ส่งผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นรุ่นเรือธงรุ่นหนึ่งของบริษัทออกมา ในนามของ Daiwa Steez และ Steez ก็ได้ผ่านการทำซ้ำอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่มีรุ่นไหนเลยที่มีประสิทธิภาพเท่ากับรุ่น 103H / 103HL ในรุ่นแรกๆ จนทำให้คิดว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทางบริษัท ได้ละทิ้งระดับ High-End ทั้งหมดไปซะแล้ว และครั้งล่าสุดได้กลับมาพร้อมกลยุทธ “All-In”  ของพวกเขา กับ T-Wing Line Guide แต่ในตอนนี้มันไม่ใช่นวัตกรรมใหม่อีกต่อไป

daiwasteeatws_firstlook-001-min  ตามปกติแล้ว ตามแผนของ Daiwa จะมีการโชว์รอกรุ่นใหม่ในปีนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในงานแสดงสินค้า Japan Fishing Tackle Shows ในประเทศญีปุ่น ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา แต่มีคำถามเพียงอย่างเดียวเกี่ยวกับข่าวของผลิตภัณฑ์ใหม่ได้มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนจะมีการเปิดตัวซะอีก โดยข่าวที่ว่าเกิดขึ้นในต้นปี 2017 ว่า Daiwa มีแผนจะเปิดตัว Steez เวอร์ชั่น Aluminum ที่มาพร้อม T-Wing Line Guide ในงาน Bassmaster Clasic Expo และเมื่อไม่นานเราก็ได้ Steez A TW 1016 มา และนี้คือจุดเริ่มต้นของการรีวิวครั้งนี้
daiwasteeatws_firstlook-002-min  ก่อนที่เราจะเริ่มหมุนสปูนของรอกตัวนี้ เรามาพูดเกี่ยวกับมัน จากนั้นเราค่อยทำทดสอบ และมองเข้าถึงภายในเพื่อดูสิ่งที่เป็น Steez ปี 2017 เมื่อแรกเริ่มเราค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับรอกที่เป็น Aluminum ว่าจะมีน้ำหนักที่มากและที่สำคัญคือเกี่ยวกับลูกปืนภายในรอกถูกติดตั้งเอาไว้เป็นอย่างดีหรือเปล่า
daiwasteeatws_firstlook-004-min

Advertisements
 อันดับแรกของการทดสอบ เรามาชั่งน้ำหนักรอก Steez รุ่นนี้ด้วยเครื่องชั่งดิจิตอลของเรา โดยผู้ผลิตแจ้งว่ามันมีน้ำหนัก 6.7 oz (190g) ซึ่งก็ค่อนข้างใกล้เคียง และเราได้แยกเอา G1 Duralumin, MagForce Z Spool ออกมา พบว่ามันมีน้ำหนักเพียง 14g  เท่านั้น นี้เป็นข้อบ่งชี้ที่ดีว่า Daiwa ตั้งใจให้ Steez A TW 1016 กลายเป็นรอกที่เหมาะกับงานทั่วไปมากขึ้น
daiwasteeatws_firstlook-006-min  สิ่งที่ง่ายต่อการตรวจสอบในขั้นตอนต่อไปก็คือลูกปืน (Bearings) ของรอก Steez A TW 1016 แน่นอนว่าสำหรับรอกระดับนี้เรามีความคาดหวังว่าจะมีลูกปืนอยู่ 2 ตัว ต่อ 1 Knobs  แต่มันกลับเป็นเพียงบูช 2 ตัวต่อ 1 Knobs เท่านั้นเอง ตรงนี้ถือว่าน่าผิดหวังอยู่เหมือนกัน เหตุผลสำหรับเรื่องนี้..? ด้วยบอดี้ Aluminum ของ Steez A TW 1016 ได้รับการจัดอันดับว่าทนน้ำเค็มได้อย่างดีเยี่ยม และเราได้เห็นผู้ผลิตจำนวนมากที่เลือกที่จะใช้บูชพลาสติกในตำแหน่ง Knobs แทนลูกปืน เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา นี้เป็นเหตุผลเดียวที่ Daiwa เลือกที่จะใช้ลูกปืนเฉพาะในรอกเท่านั้น
daiwasteeatws_firstlook-003-min  ต่อไปเรามาดูว่าลูกปืนที่เรียกว่า MagSealed ซึ่งเป็นเทคโนโลยี่ลูกปืนที่ดีที่สุดของ Daiwa เมื่อมาอยู่ในรอกตัวนี้จะมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยลูกปืนตัวแรกที่เห็นเป็นแบบ MagSealed ติดตั้งอยู่ตรงจุดปรับความตึงของสปูน ซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญมากๆ ของรอก
daiwasteeatws_firstlook-008-min  การถอดลูกปืนจุดปรับแรงตึงสปูน ถอดได้ไม่ยาก เพียงแค่เอาคลิปยึดออกมาแล้วก็ดึงเอาลูกปืนออกมาได้ตรงๆ ลูกปืนตัวนี้ถูกป้องกันด้วยและปิดผนึกอย่างดี ดังนั้นจึงไม่สามารถมองเห็นภายในลูกปืนได้ แม้มันจะมีลูกปืนแบบนี้เพียงเล็กน้อยในรอกรุ่นนี้ แต่ Daiwa เองก็ประกาศว่ามันสามารถใช้ได้อย่างดีแม้จะใช้กับน้ำเค็ม
daiwasteeatws_firstlook-009-min daiwasteeatws_firstlook-010-min
Advertisements
 ย้อนกลับมาสักหน่อยจะพบกับ Dragstar ที่ทำมาจาก Zaion มันเป็นวัสดุที่ทำจาก Carbon Composite นอกจากตัวบอดี้จะทำจากอลูมิเนียมแล้ว พวกเกียร์และเฟืองหลักๆ  ของรอกจะใช้อลูมิเนียม G1 Duralumin ที่ถือเป็นวัสดุใหม่ของบริษัท และเมื่อมองให้ดีก็รู้สึกแปลกใจเล็กน้อย เมื่อพบกว่าเกรียร์หลักของ Steez ตัวนี้มีขนาดที่เล็ก เมื่อเทียบกับรอกตัวอื่นๆ ที่เคยทดสอบมา มันดูจะน่าสนใจและทำให้อยากรู้ว่าจะมีพลังมากแค่ไหนกับรอกที่มีรอบ 7.1 : 1
daiwasteeatws_firstlook-007-min daiwasteeatws_firstlook-011-min  องค์ประกอบภายในอีกชิ้นของ Steez TW 1016 ที่ทำให้เราประหลาดใจคือ ผ้าเบรกแบบแผ่นเดียว ที่อยู่ภายในเฟืองหลัก แล้วที่หายไปคือ Stack of Washers ที่จะพบได้กับรุ่นก่อนๆ หากมองไปที่ขอบด้านในของเฟืองหลักจะเห็นพลาสติกที่มีฟันกลมด้านใน มันเป็น Drag Alert หรือคือตัวสร้างเสียงเมื่อเบรกทำงานนั้นเอง
daiwasteeatws_firstlook-016-min
Advertisements
daiwasteeatws_firstlook-017-min  เมื่อมองลึกเข้าไปที่กลไกภายใน ในส่วนที่ยึดฐานรอบๆ เฟือง มันแสดงให้เห็นว่า Steez TW 1016 ดูจะได้รับประโยชน์จากชุดเฟืองแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Daiwa ไม่ค่อยจะได้จากมัน แต่ก็เห็นได้ชัดว่ารอกรุ่นนี้ถูกยกระดับให้เป็นรอกระดับที่สูงขึ้นไปอีก ในส่วนของลูกปืนที่ดูจะบางมาก ตรงจุดนี้เราเองไม่แน่ใจว่าส่วนนี้เป็นแบริ่งหรือพลาสติกบูชกันแน่ แต่ตามสเปคของรอกได้ยืนยันว่ามันเป็นแบริ่ง
daiwasteeatws_firstlook-012-min daiwasteeatws_firstlook-013-min  เมื่อถอดส่วนประกอบส่วนใหญ่ออกมา เราก็เข้าถึงเฟืองตัวหนอน แต่เราเองไม่ได้ตรวจสอบระบบ TWS เพราะมันไม่ได้ต่างจากระบบ TWS ที่อยู่ในรอกตัวอื่น แต่การเปิดแผนด้านข้างของเฟืองตัวหนอน เราก็พบกับลูกปืนที่เฟือง เมื่อมองดูลูกปืนเป็นสีดำ จนทำให้คิดว่าเป็นพลาสติก แต่เมื่อดูดีๆ และฟังเสียงของมัน ก็พบว่าเป็นโลหะอย่างแน่นอน
daiwasteeatws_firstlook-014-min daiwasteeatws_firstlook-015-min  รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอกคือ  Steez TW 1016 จะมีให้เลือกรอบ 2 แบบคือ 6.3 : 1 (แผ่นตกแต่งสีทองตรงที่ยึดสลักเกลียว) และ 7.1: 1 (แผ่นตกแต่งสีแดงตรงที่ยึดสลักเกลียว) รอกใช้ระบบหน่วงแม่เหล็ก MagForce Z20 และรอกทั้งหมดถูกผลิตที่ญีปุ่น
daiwasteeatws_firstlook-005-min

Advertisements
แหล่งที่มาtackletour.com