ปลาไหลไฟฟ้าสามารถสร้างพลังงานสูงถึง 600V และ 100W เพื่อสตันเหยื่อหรือป้องกันตัวเอง ที่น่าสนใจคือพวกมันสามารถควบคุมไฟฟ้าของมันได้ตามที่ต้องการ หรือแม้แต่จะใช้ในตำแหน่งไหนของร่างกายด้วย มันเลือกใช้พลังงานต่ำเพื่อช่วยนำทางผ่านน่านน้ำที่ทัศนวิสัยไม่ดี หรือจะใช้พลังงานเต็มที่เพื่อช็อตเหยื่อขนาดใหญ่ให้สลบหรือตายไปเลยก็ได้
อวัยวะไฟฟ้าเทียม
อิเล็กโทรไซต์ในปลาไหลไฟฟ้าพบได้ในอวัยวะที่วางไปตามความยาวของตัวปลา โดยอิเล็กโทรไซต์แต่ละเซลล์จะแยกจากกันโดยชั้นฉนวน มันเก็บพลังงานผ่านกระบวนการทางชีวเคมีที่ปั๊มไอออนบวกของโซเดียมและโพแทสเซียมออกจากโครงสร้าง ซึ่งแต่ละเซลล์มีศักย์ไฟฟ้าประมาณ 150 mV
การคายประจุไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเมื่อปล่อยให้ไอออนไหลกลับเข้าสู่อิเล็กโทรไซต์ เนื่องจากปลาไหลไฟฟ้ามีอิเล็กโทรไซต์หลายพันตัวเรียงซ้อนกันเป็นชุด สัตว์ชนิดนี้จึงสามารถสร้างศักย์ไฟฟ้าได้สูงถึง 600 V ซึ่งมากพอจะทำให้มนุษย์สลบหรือหากช็อตนานเกินไปจะถึงตาย (หากโดนช็อตเต็มกำลังไม่ถึงนาที มนุษย์ก็ตายได้)
อย่างไรก็ตาม หากมีการใส่เมมเบรนที่สามารถซึมผ่านไปยังไอออนบวกได้มากกว่าประจุลบ ไอออนบวกจะพุ่งเข้าไปในช่องที่มีความเข้มข้นต่ำ โดยทิ้งช่องเกลือที่มีประจุลบสูงไว้เบื้องหลัง ..จากนั้นนักวิจัยได้ใช้เมมเบรนที่สองที่สามารถดูดซึมไอออนที่มีประจุลบได้ดีกว่า การจัดเรียงขั้นตอนเหล่านี้ตามลำดับซ้ำเป็นพันๆ ครั้งทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 110V จากเกลือและน้ำเพียงอย่างเดียว
แม้ในตอนนี้ “อวัยวะไฟฟ้าเทียม” จะผลิตพลังงานได้น้อยกว่าปลาไหลไฟฟ้าถึง 1,000 เท่า และการ “กักเก็บ” ของปลาไหลไฟฟ้าก็ทำได้ดีกว่ามากเช่นกัน แต่ยังไงซะระบบนี้ยังสามารถใช้จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์พลังงานต่ำได้ และเมื่อเวลาผ่านไปเราจะสามารถพัฒนาให้มันดีขึ้น ในอนาคตอาจผลิตพลังงานได้มากกว่าปลาไหลไฟฟ้าที่เป็นต้นแบบก็ได้