จากการวิเคราะห์ครั้งใหม่ พวกเขาพบยอดเขาที่ดูไม่เหมือนที่อื่นในระบบสุริยะ และไม่สามารถอธิบายการก่อตัวขึ้นได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันไม่ได้เกิดจากหิน แต่กลับทำจากแอมโมเนียแช่แข็ง ไนโตรเจน มีเทนและน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามต้นกำเนิดที่แท้จริงของพวกมันยังเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก
ดาวพลูโตมีขนาดเล็กมากและอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ครั้งหนึ่งเคยเข้าใจว่าดาวดวงนี้ถูกแช่แข็งทั้งดวง อย่างไรก็ตามธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ซึ่งสำรวจโดย ยานนิวฮอไรซันส์ ซึ่งรวมถึงไม่มีหลุมอุกกาบาตจากส่วนต่างๆ ของดาวเคราะห์แคระ บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางธรณีวิทยาล่าสุดได้เปลี่ยนโฉมพื้นที่บางส่วน
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาเจ็ดปี เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับภาพที่รวบรวมไว้ขณะที่ยานนิวฮอริซอนส์บินผ่าน และทำความเข้าใจกับพลังที่สร้างสิ่งที่เราเห็นในภาพ
ลักษณะที่ชัดเจนที่สุดของดาวพลูโตคือแกนกลางของมัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อทางเทคนิคว่า “สปุตนิก พลานิเทีย (Sputnik Planitia)” ซึ่งเป็นแผ่นน้ำแข็งยาวประมาณ 1,050 กิโลเมตร (620 ไมล์) ขนาบข้างด้วยเนินเขาจำนวนมากและดูเหมือนจะมากขึ้น
การศึกษาโดยละเอียดที่อยู่ใน Nature Communications เปิดเผยว่า เนินที่ใหญ่ที่สุดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ มันมีความสูง 7 กิโลเมตร (4.2 ไมล์) และกว้างประมาณ 225 กิโลเมตร (135 ไมล์) โดยยอดเขาที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า Piccard Mons แต่ภาพที่ยานนิวฮอไรซันส์ ถ่ายมาได้เป็นช่วงเวลากลางคืน รายละเอียดจึงไม่ดีนัก บทความนี้จึงเน้นไปที่ Wright Mons ซึ่งเป็นยอดเขาที่เห็นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน
Dr. Kelsi Singer และเพื่อนร่วมงาน สรุปว่าทั้งสองเป็นภูเขาไฟน้ำแข็ง แต่แทนที่จะก่อตัวขึ้นจากการปะทุครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียว พวกมันอาจเป็นตัวแทนของการปะทุเล็กๆ จำนวนมากที่อยู่ใกล้กันกับภูเขาอื่นๆ
ผู้เขียนระบุว่าการสร้างภูมิประเทศแบบนี้ จะต้องมีจุดปะทุหลายแห่ง และต้องใช้วัสดุจำนวนมากเพื่อสร้างภูเขาไฟน้ำแข็งขนาดใหญ่ พวกเขาสังเกตว่าภูมิประเทศนี้ปราศจากหลุมอุกกาบาตซึ่งตรงกันข้ามกับพื้นที่อื่นๆ ของพื้นผิวดาวพลูโต
กิจกรรม Cryovolcanic ในพื้นที่นี้จะต้องค่อนข้างใหม่ในประวัติศาสตร์ของดาวพลูโต และอาจบ่งชี้ว่าโครงสร้างภายในของดาวพลูโตมีความร้อนตกค้างหรือความร้อนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม Cryovolcanic ดังกล่าว และทำให้เกิดภูเขาไฟน้ำแข็งนี้