ปลาช่อนเข็ม (Giant pikehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciocephalus pilcher ในวงศ์ Osphronemidae
ปลาช่อนเข็มมี 2 ชนิด Luciocephalus pulcher พบได้ในป่าพรุทางภาคใต้ของไทย ไปจนถึงมาเลเซีย และ Luciocephalus aura มีขนาดเล็กกว่าอีกชนิดหนึ่ง โดยพบเฉพาะบนเกาะบอร์เนียว เพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ 2008
เป็นปลาที่มีรูปร่างคล้ายปลาช่อนผสมกับปลาเข็ม มันมีส่วนหัวและปากแหลมยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเข้มและน้ำตาลเขียว หลังสีจางกว่า กลางลำตัวมีแถบดำใหญ่ขอบสีพางพาดยาวและมีแถบสีจางพาดบริเวณด้านหลัง โคนครีบหางมีจุดสีดำขอบสีขาว ท้องสีจาง ครีบหลังสีดำ ครีบหางมีลายประสีคล้ำ ครีบล่างใสโปร่งแสง
มีขนาดความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ โดยอาหารจะเป็นพวก แมลงน้ำขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่างๆ
“เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในป่าพรุตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ไปจนถึงแหลมมลายู เป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อยนัก” .. ปลาชนิดนี้จะวางไข่โดยตัวผู้จะอมไว้ในปาก และเลี้ยงจนลูกปลาได้ขนาด 1 เซนติเมตร จึงปล่อยออกมา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
ปลาที่เลี้ยงได้ค่อนข้างยาก
เนื่องจากเป็นปลาที่มาจากป่าพรุ มันจึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักเลี้ยงปลาสวยงามในไทยที่ต้องการเลี้ยง เพราะปกติแล้วน้ำในป่าพรุจะใสสะอาด และมีสภาพเป็นกรด (pH) ต่ำ มันเป็นปลาที่เป็นโรคค่อนข้างง่ายหากอยู่ในสภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม แต่หากปรับสภาพให้เหมาะสมได้จะเลี้ยงง่ายขึ้นเยอะ
และจากที่มีคนเคยอธิบายไว้ ปลาชนิดนี้จะไม่กิน “เหยื่อตาย” อาหารที่มันชอบจะเป็นพวกไรทะเล กุ้งฝอย ปลาช่อนเข็ม เป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้าย หากเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น หรือแม้แต่กับปลาชนิดเดียวกัน จะมีแนวโน้มที่จะกัดพวกเดียวกันได้เช่นกัน ยิ่งเมื่อตัวขนาดใหญ่ 15 – 20 เซ็นติเมตร ยิ่งต้องระวัง