งาช้างแมมมอธนี้โผล่ออกมาจากชั้นตะกอน ซึ่งอาจย้อนกลับไปในยุคไพลสโตซีน (Pleistocene) งาถูกพบเห็นเมื่อสองสามปีก่อน ริมตลิ่งแม่น้ำโคยูคุก (Koyukuk) ใกล้ Coldfoot Alaska และต่อมาก็ถูกตรวจสอบโดยมหาวิทยาลัยอลาสก้า แฟร์แบงค์ (University of Alaska Fairbanks)
อลาสก้าถือเป็นขุมสมบัติของงาช้างแมมมอธขนยาวรวมซากของมัน โดยแมมมอธดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็น ฟอสซิลของรัฐอลาสก้าในปี 1986 ซึ่งพวกมันได้สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 3,600 ปีก่อน
แมมมอธขนยาวได้สืบเชื้อสายมาจากแมมมอธสเตปป์ (Steppe Mammoth) ซึ่งข้ามสะพานบกที่เชื่อมระหว่างรัสเซียกับอลาสก้าเมื่อประมาณ 100,000 ปีที่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ การค้นหางาช้างแมมมอธในอลาสก้าจึงไม่ใช่เรื่องยากนัก แต่ก็เป็นเรื่องที่ง่ายเช่นกัน ซึ่งจากตัวอย่างนี้ มีความโดดเด่นในเรื่องจุดที่ล่อแหลม และยังโผล่ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนอีกด้วย .. และแน่นอนว่างาที่เห็นในภาพ ก็ยังคงอยู่ที่เดิม