นี่คือ ‘ขยะมลพิษ’ ที่เลวร้ายที่สุด แต่ไม่ได้รับความใส่ใจที่สุด

เมื่อเรือขนส่งสินค้า X-Press Pearl เกิดเพลิงไหม้และจมลงในมหาสมุทรอินเดียในเดือนพฤษภาคม ทางการศรีลังการู้สึกหวาดกลัวว่าน้ำมันเชื้อเพลิงหนัก 350 ตันของเรือลำนี้จะรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร ทำให้เกิดภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมในแนวปะการังและอุตสาหกรรมการประมงที่เก่าแก่ของประเทศ

ขยะพลาสติก

องค์การสหประชาชาติจัดว่าหายนะครั้งนี้เป็น “ภัยพิบัติทางทะเลที่เลวร้ายที่สุด” ของศรีลังกา ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดไม่ได้เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง และไม่ใช่สารเคมีอันตราย ซึ่งรวมถึงกรดไนตริก โซดาไฟ และเมทานอล อันตรายที่ “สำคัญ” ที่สุด อ้างอิงจาก UN สิ่งนั้นมาจากตู้คอนเทนเนอร์ 87 ตู้ที่เต็มไปด้วยเม็ดพลาสติกขนาดเม็ดเท่าถั่ว มันมีชื่อว่า พลาสติกนูเดิล (nurdles)

นับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติ นูเดิลได้ถูกชะล้างลงไปในทะเลและแพร่ไปทั่วตามแนวชายฝั่ง และคาดว่าจะแพร่กระจายข้ามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่อินโดนีเซียและมาเลเซียไปจนถึงโซมาเลีย พวกมันถูกพบในร่างของโลมาที่ตายแล้วและในปากของปลา

“เม็ดพลาสติกนูเดิล (nurdles) ประมาณ 1,680 ตันถูกปล่อยลงทะเล ตามรายงานของสหประชาชาติระบุว่าเป็นการรั่วไหลของพลาสติกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์”

เช่นเดียวกับน้ำมันดิบ นูเดิลเป็นสารก่อมลพิษระดับสูง และจะหมุนเวียนต่อไปในกระแสน้ำในมหาสมุทรและถูกชะล้างขึ้นฝั่งอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษ พวกมันยังเป็น “ฟองน้ำพิษ” ซึ่งดึงดูดสารพิษทางเคมีและสารมลพิษอื่นๆ สู่พื้นผิวน้ำ

Tom Gammage จาก Environmental Investigation Agency (EIA) ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์ระหว่างประเทศกล่าวว่า “ตัวเม็ดพลาสติกเองเป็นส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล “แต่พวกมันทำหน้าที่เป็นฟองน้ำพิษ ที่ดูดซับสารเคมีที่เป็นพิษจำนวนมาก ซึ่งในกรณีที่ศรีลังกามันอยู่ในน้ำแล้ว ตัวของมันไม่ชอบน้ำ ทำให้สารพิษทั้งหลายมารวมตัวอยู่ที่มัน

สารมลพิษสามารถกระจุกตัวอยู่บนผิวของเม็ดพลาสติกได้มากกว่าในน้ำล้านเท่า และเราทราบจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการว่าเมื่อปลากินเม็ดพลาสติก สารมลพิษบางชนิดก็จะหลุดออกมา

แม้ว่าเม็ดพลาสติกจะคุกคามสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานานกว่าสามทศวรรษแล้วก็ตาม รายละเอียดในรายงานปี 1993 จากหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับวิธีที่อุตสาหกรรมพลาสติกสามารถลดการรั่วไหลได้ ซึ่งขณะนี้นักสิ่งแวดล้อมกำลังร่วมมือกับทางรัฐบาลศรีลังกาเพื่อพยายามเปลี่ยนหายนะ X-Press Pearl ให้เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

คณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ (IMO) เข้าพบในการประชุมที่ลอนดอนในสัปดาห์ที่ผ่านมา การเรียกร้องของศรีลังกาให้จัดเม็ดพลาสติกเป็นสินค้าอันตราย ได้รับความสนใจจากสาธารณชน โดยมีผู้ลงนามมากกว่า 50,000 คนในคำร้อง “ไม่มีอะไรหยุดยั้งสิ่งที่เกิดขึ้นในศรีลังกาไม่ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง” Gammage กล่าว

ปีที่แล้วมีการรั่วไหลของนูเดิลอย่างน้อยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลเหนือ ตู้สินค้าที่ชำรุดบนเรือบรรทุกสินค้า MV Trans Carrier ได้สูญเสียเม็ดพลาสติกจำนวน 10 ตัน ซึ่งพัดถล่มชายฝั่งของเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ครั้งที่สองในแอฟริกาใต้ การรั่วไหลในเดือนสิงหาคม 2020 เกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุในปี 2018 ซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวชายฝั่งยาวถึง 1,250 ไมล์ (2,000 กม.) สามารถกู้คืนได้เพียง 23% ของ 49 ตันที่รั่วไหล ในปี 2019 ขยะพลาสติกจำนวน 342 ตู้คอนเทนเนอร์รั่วไหลลงสู่ทะเลเหนือ

Advertisements

นักรณรงค์กล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถป้องกันได้ “การจมของเรือ X-Press Pearl และการรั่วไหลของผลิตภัณฑ์เคมีและเม็ดพลาสติกลงสู่ทะเลของศรีลังกา ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและทำลายวิถีชีวิตท้องถิ่น” Hemantha Withanage ผู้อำนวยการศูนย์ความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในศรีลังกาา กล่าวว่า การบริโภคปลาซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนหลักของชาวศรีลังกา 40% ลดลงอย่างมาก เขากล่าว “มันเป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ และน่าเสียดายที่ไม่มีคำแนะนำอะไรจาก IMO”

การจัดประเภทนูเดิลว่าเป็นอันตราย เช่นเดียวกับกรณีระเบิด ของเหลวไวไฟ และสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จะทำให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวดในการขนส่ง “พวกเขาจะต้องเก็บไว้ใต้ดาดฟ้า ในบรรจุภัณฑ์ที่ทนทานยิ่งขึ้นพร้อมฉลากที่ชัดเจน”

Tanya Cox ผู้เชี่ยวชาญด้านพลาสติกทางทะเลจากองค์กร Flora & Fauna International กล่าว “พวกเขายังจะต้องอยู่ภายใต้ขั้นตอนการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่สามารถป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดได้หากดำเนินการในกรณีฉุกเฉิน”

แต่ทุกอย่างไม่ได้ง่ายแบบนั้น ..สำนักเลขาธิการ IMO อ้างถึงปัญหาดังกล่าวกับคณะกรรมการด้านมลพิษ การป้องกันและการตอบสนอง ซึ่งจะประชุมกันในปีหน้า นักรณรงค์กล่าวว่า มันน่าผิดหวังที่ข้อเสนอของศรีลังกาไม่ได้รับการหารืออย่างเหมาะสม

Christina Dixon แห่ง EIA กล่าวว่า “ทัศนคติของสมาชิกคณะกรรมการนั้นไม่ธรรมดา และแสดงให้เห็นการเพิกเฉยต่อมลภาวะพลาสติกทางน้ำอย่างไร้ความปราณี ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อชุมชนชายฝั่ง ระบบนิเวศ และความมั่นคงทางอาหาร นี่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”

ในขณะเดียวกัน การทำความสะอาดยังคงดำเนินต่อไปในศรีลังกา เต่าบางตัวจากทั้งหมด 470 ตัว โลมา 46 ตัว และวาฬ 8 ตัวที่เกยตื้น และตรวจพบเม็ดพลาสติกภายในร่างกายของพวกมัน แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ว่าพลาสติกนูเดิลมีส่วนในเรื่องนี้

เคยเห็นโลมาบางตัวและพวกมันมีไมโครพลาสติกอยู่ภายในร่างกาย มีชาวประมงมากถึง 20,000 คนที่ต้องหยุดทำการประมง ชาวประมงบอกว่าเมื่อพวกเขาลงในน้ำ เม็ดพลาสติกจะเข้าหูเขา มันกระทบการท่องเที่ยวเช่นกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements