สำหรับ “ไนเจอร์ซอรัส” มีชีวิตอยู่เมื่อ 110 ล้านปีที่แล้ว เป็นช่วงต้นยุคครีเตเชียส ซึ่งเป็นทะเลทรายซาฮาร่าในปัจจุบัน โดยเมื่อก่อนนั้นพื้นที่แถบนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่ม โดยจุดเด่นของไนเจอร์ซอรัส คือปากที่กว้างและฟันนับร้อยๆ ซึ่งมากกว่าพวกซอโรพอดชนิดอื่นมากๆ ..เอาล่ะเดี๋ยวมาดูเรื่องน่ารู้ของพวกมันกัน
ยักษ์ขนาดเล็ก
ในยุคปัจจุบันถ้ามีสัตว์ชนิดใดที่มีขนาดเท่ากับช้าง นั้นคือใหญ่แล้ว แต่ไม่ใช่สำหรับไดโนเสาร์ ไนเจอร์ซอรัสมีความยาว 9 เมตร และหนักประมาณ 4 ตัน ซึ่งขนาดพอๆ กับช้างแอฟริกา แต่ถ้าเทียบกับพวกญาติๆ ของมันแล้วมันยังถือว่าตัวเล็กอยู่พอสมควร
ฝันร้ายของหมอฟัน
ถ้าเทียบกับพวกซอโรพอดชนิดอื่นๆแล้ว ไนเจอร์ซอรัสนั้นมีฟันที่มากที่สุด ฟันของมันออกแบบมาให้ขึ้นมาทดแทนฟันเก่าได้รวดเร็วมาก โดยคาดว่ามันมีฟันมากถึง 500 ซี่ นับว่าแปลกที่พวกซอโรพอดมีฟันแบบนี้ โดยปกติฟันแบบนี้จะมีมากในพวกไดโนเสาร์ปากเป็ดและไดโนเสาร์ที่มีเขา
อาหารการกิน
ด้วยลักษณะร่างกายของมันที่มีคอไม่ยาวมากนัก เป็นไปได้ว่าไนเจอร์ซอรัสจะหาอาหารกินในระดับพื้นดินไม่ก็ต้นไม้เล็กๆ ไม่ได้ใช้คออันยาวของมันกินใบไม้เหมือนพวกซอโรพอดชนิดอื่นๆ
จากการศึกษาในปี 2013 คาดว่าฟันของไนเจอร์ซอรัสสามารถขึ้นใหม่ได้ทุกๆ 14 วัน นับว่าเป็นอัตราที่ไวมาก โดยถิ่นที่อยู่อาศัยของมันคาดว่าน่าจะเป็นตามชายป่าและตามริมน้ำ แต่มันก็ต้องระวังตัวเพราะในช่วงเวลานั้นในน้ำเป็นที่อยู่ของจระเข้ยักษ์ดึกดำบรรพ์ซาร์โคซูคัส ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 10 เมตรและหนักถึง 4 .5 ตัน มันสามารถลากไนเจอร์ซอรัสที่โชคร้ายลงไปกินได้อย่างง่ายดาย
ยังไม่นับไดโนเสาร์กินเนื้ออย่างซูโคไมมัส ที่เป็นญาติกับสไปโนซอรัสที่โด่งดัง ถึงแม้มันจะล่าปลาเป็นหลัก แต่สำหรับไนเจอร์ซอรัสที่ยังเด็กๆ ก็อาจจะไม่รอดพ้นคมเขี้ยวของมันก็เป็นได้
ยกหัวบ้างบางครั้ง
เนื่องจากไนเจอร์ซอรัสนั้นกินอาหารบนพื้นเป็นหลัก ทำให้มีการสงสัยว่ามันสามารถยกหัวสูงได้ไหม แต่จากการตรวจสอบกระโหลกกับกระดูกคอของมัน พอว่ามันสามารถยกหัวได้ประมาณ 67 องศา ทำให้มันสามารถกินใบไม้จากต้นไม้เตี้ยๆ และช่วยในการส่องหาศัตรูของมันได้
การค้นพบ
ไนเจอร์ซอรัสค้นพบครั้งแรกในปี 1950 โดยนักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส แต่เนื่องจากพบชิ้นส่วนไม่เยอะทำให้มันถูกเก็บเอาไว้ และไม่ได้ยุ่งกับมันอีกเลย
จนกระทั้งปี 1997 ทีมสำรวจของ Paul Serno’s ได้ค้นพบกระโหลกของมัน และเมื่อกะโหลกได้ถูกพบ เลยได้มีการนำกระดูกเก่าที่เคยพบมาตรวจ ทำให้รู้ว่ามันเป็นชนิดใหม่และได้รับการตั้งชื่อว่า “ไนเจอร์ซอรัส”
และนี่คือเรื่องราวของ ไนเจอร์ซอรัส (Nigersaurus) วัวแห่งยุคมีโซโซอิก แต่ต้องบอกว่านี่ไม่ใช่เรื่องทั้งหมด เพราะในอนาคตอาจจะมีการค้นพบใหม่ๆ อีกก็เป็นได้