ค้นพบปลาดุกสายพันธุ์ใหม่ อาศัยอยู่ในชั้นหินศิลาเยือกแข็งในอินเดีย

ปลาดุกหน้าตาแปลกๆ นี้ เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในสกุลโฮราแกลนิส (Horaglanis) ซึ่งเป็นสกุลของปลาดุกที่หาได้ยาก มันเป็นปลาขนาดเล็ก ตาบอด มีเม็ดสีที่น้อย และยังมีถิ่นอาศัยในชั้นหินศิลาเยือกแข็งซึ่งเป็นที่ๆ ควรจะมีสิ่งมีชีวิตแบบนี้อาศัยอยู่ได้

ปลาดุกชนิดใหม่

สำหรับปลาในสกุลโฮราแกลนิส (Horaglanis) ซึ่งในตอนนี้รวมชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบก็มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ มันเป็นสกุลปลาดุกที่ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1950 ซึ่งถูกเรียกว่าปลาดุกตาบอดอินเดีย พบในบ่อน้ำหรือร่องน้ำใต้ดินรอบๆ รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย มันเป็นปลาดุกที่มีความยาวเพียง 4 เซนติเมตร .. โดยสายพันธุ์ก่อนหน้านี้คือ

  1. โฮราแกลนิส กฤษณะ (Horaglanis krishnai) ตัวอย่างที่พบมีขนาด 4.2 เซนติเมตรค้นพบในปี 1950 ในบ่อน้ำและร่องน้ำใต้ดินรอบๆ รัฐเกรละประเทศอินเดีย
  2. โฮราแกลนิส อะลิคุนฮิ (Horaglanis alikunhii) ค้นพบในปี 2004
  3. โฮราแกลนิส อับดุลคาลามี (Horaglanis abdulkalami) ค้นพบในปี 2012

สำหรับปลาดุกโฮราแกลนิสชนิดที่เพิ่งค้นพบในปี 2023 มันถูกเรียกว่า โฮราแกลนิส ป๊อปปูลี (Horaglanis populi) มันมีหน้าตาประหลาดเหมือนพี่น้องของมัน ทั้งตาบอด มีลำตัวสีแดงเหมือนเลือด ยาวไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร พวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่เฉพาะ อย่างชั้นหินอุ้มน้ำที่เป็นศิลาแลง และอาจปรากฏให้เป็นเป็นครั้งคราวในบ่อขุด

แหล่งอาศัยของปลาดุกตาบอด พวกมันจะเล็ดลอดไปตามช่องว่างของชั้นหินศิลาแลง

ตัวอย่างของ “โฮราแกลนิส ป๊อปปูลี” มีลำตัวสีแดงเลือด มีหนวด 4 คู่ พวกมันอาศัยชั้นหินอุ้มน้ำแบบลูกรังซึ่งเป็นที่ๆ เย็นยะเยือก ในเขตอลัปปูชา รัฐเกรละ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย โดยตัวอย่างนี้ถูกเก็บมาจากบ่อที่ขุดขึ้นมา

โฮราแกลนิส ป๊อปปูลี (Horaglanis populi)

หากเทียบกับ 3 สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ค่อนข้างเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างทางพันธุ์กรรม และดูเหมือนสายพันธุ์ใหม่นี้จะมีขนาดเล็กที่สุดและมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด และแม้มันจะอยู่ใต้ดินแต่พวกมันต้องกับภัยคุกคามหลายอย่าง เช่นการสูบน้ำบาดาลและการทำเหมืองบริเวณชั้นหินศิลาแลง …และเพราะเราแทบจะไม่รู้จักพวกมันเลย จึงยากที่จะช่วยเหลือ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements