นกขุนทองหัวโหนก ยักษ์ใหญ่แนวประการัง และมันโตได้ถึง 3 เมตร

ครั้งนึงผมได้ดูคลิปที่นักดำน้ำกำลังรอคอยปลาชนิดหนึ่งค่อยๆ ว่ายเข้ามาใกล้ๆ จนมันอยู่ในระยะเดียวกับนักดำน้ำ เท่านั้นล่ะผมก็คิดว่า ปลาบ้าไรฟ่ะตัวใหญ่ชิบ มันดูเป็นปลาธรรมดาๆ ว่ายช้าๆ แต่มันใหญ่กว่านักดำน้ำซะอีก ผมเลยไปหาชื่อปลา เลยได้รู้ว่ามันคือ "ปลานโปเลียน" หรือชื่อไทยว่า "ปลานกขุนทองหัวโหนก" มันคล้ายๆ กับปลาวงศ์นกแก้วที่กินปะการัง แต่เจ้านกขุนทองหัวโหนกนี่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหารนะ หากน้าๆ อยากรู้ว่า ปลาปลานกแก้ว กับ ปลานกขุนทอง ต่างกันยังไง ให้กดลิงค์ด้านล่างของเรื่องนี้อ่านเพิ่มเติมได้ และมีคลิปท้ายเรื่องนะ

“ปลานโปเลียน หรือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (อังกฤษ: Napoleonfish, Humphead wrasse, Mauri wrase) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cheilinus undulatus จัดอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae)”

เป็นปลาที่มีรูปร่างและลักษณะคล้ายปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด เมื่อยังเล็กมีลายแถบสองเส้นที่คาดผ่านตาเฉียงขึ้น เมื่อโตขึ้นลายแถบอันนี้จะหายไป สีพื้นลำตัวจะเข้มขึ้น

ปลาเพศผู้มีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน มีลายสีชมพูปรากฏเป็นจุดเป็นเส้นเล็กๆ แทรกตามเกล็ด ซึ่งมีความแวววาวเป็นเลื่อมมัน ส่วนปลาเพศเมียจะมีลวดลายที่อ่อนกว่า ซึ่งปลาทั้งสองเพศจะมีจุดเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวที่โหนกนูนเหมือนสันหรือนอเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจะปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 2-3 ฟุต ขอบหางมีสีเขียวอมเหลือง มีดวงตาที่สามารถกลอกกลิ้งไปมาได้

ปลานโปเลียน
เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยเต็มที่อาจยาวได้ถึงเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักถึง 190 กิโลกรัม
ตัวใหญ่ ปากก็ใหญ่ซะจนคนสามารถเข้าไปในปากได้เลย

แหล่งอาศัย

Advertisements

เป็นปลาที่อาศัยหากินอยู่ในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อน เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร และสำหรับในน่านน้ำไทย พบแพร่กระจายอยู่แถบทะเลอันดามัน พบตามบริเวณกองหิน แนวปะการังของ เกาะสุรินทร์, หมู่เกาะสิมิลัน ในความลึกประมาณ 3-30 เมตร

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปลานกแก้ว ปลาแก้วกู่ (ปลานกขุนทอง)

ถ้าพูดถึงปลานกขุนทอง คงต้องบอกว่ามันมีความหลากหลายชนิดมากที่สุดในบรรดาปลาแนวปะการังเขตร้อนทั่วโลก พวกมันมีความหลากหลายของรูปร่างและสิสันมากที่สุดด้วย ที่สำคัญคือบางชนิดยังคล้ายกับปลานกแก้วจนสร้างความสับสนแก่ผู้ที่ไม่รู้จักได้

จุดสังเกตุปลานกขุนทอง (แก้วกู่)

  • ฟัน : ปลาที่มีฟันเชื่อมกันเป็นแผ่นจนมีลักษณะเป็นจะงอยปากคล้ายนกแก้ว ไว้สำหรับครูดกินสาหร่ายที่เคลือบบนก้อนปะการังตาย นั้นคือปลานกแก้ว และ “ปลานกขุนทอง” แก้วกู่ ฟันจะเป็นฟันเขี้ยวชัดเจน เพราะอาหารของปลาชนิดนี้คือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กบางชนิด และยังฟันใช้ขบเปลือกหอย เปลือกปู
  • ปาก : ปลานกแก้วมีปากเป็นจะงอยไม่สามารถยืดหดได้ แต่ปลานกขุนทองนั้นขากรรไกรไม่เชื่อมต่อกัน บางชนิดยืดหดได้ยาวเพื่อใช้ยื่นเข้าไปจับอาหารในซอกเล็กๆได้ เช่น ปลานกขุนทองปากยาว (Gomphosus varius) และปลานกขุนทองปากยื่น (Ephibulus insidiator)
  • ริมฝีปาก : ปลานกแก้วในสกุลจะเห็นฟันเป็นจะงอยชัดเจน แต่ปลานกขุนทองมักมีริมฝีปากหนากว่า เห็นได้ชัดโดยเฉพาะในสกุล Hemigymnus
ปลาแก้วกู่จะชอบกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กกิน บางชนิดใช้ขบเปลือกหอย เปลือกปู
Advertisements
ปากและฟันของปลาในวงศ์ปลานกแก้ว

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements