คำบอกเล่าจากนักเดินทาง
คาร์ล ลีเช่ (Karl Leche) นักเดินทางและนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ที่เดินทางไปเยือนมาดากัสการ์ เขาเล่าว่า ระหว่างการเดินทางเขาได้พบเห็นพิธีกรรมอันโหดร้ายของคนป่าในท้องถิ่น มันเป็นการบูชายัญที่จะผลักคนเข้าไปในกิ่งก้านของต้นไม้ที่มีรูปร่างคล้ายสับปะรด ซึ่งสูงประมาณ 2.5 เมตร ใบของต้นไม้ดูเหมือนประตูที่เปิดออก และมีหนามแหลมห้อยจากด้านบนลงมายังพื้นดิน
จากเรื่องราวอันน่าสยดสยองและเหลือเชื่อ ทำให้นักนิยมลัทธินอกรีตส่งคณะสำรวจเพื่อไปค้นหาต้นไม้กินคนที่ว่านี้ หนึ่งในนั้นมุ่งหน้าไปยังมาดากัสการ์ ในปี พ.ศ. 2463 (1920) มันเป็นการสำรวจที่นำโดย เชส ออสบอร์น (Chase Osborne) โดยคณะเดินทาง ได้ใช้เวลาสำรวจอยู่นาน แต่ก็ไม่พบต้นไม้กินคน อย่างไรก็ตาม ชาวพื้นเมืองอ้างว่ามีต้นไม้ดังกล่าวอยู่จริง
ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2467 (1924) มีรายงานเกี่ยวกับการเดินทางครั้งนี้ปรากฏในสื่ออเมริกัน และในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2468 ก็มีการเผยแพร่บันทึกในอเมริกาว่า นักเดินทางคนหนึ่งบนเกาะฟิลิปปินส์ พบโครงกระดูกของมนุษย์ในกิ่งก้านของต้นไม้ที่ไม่รู้จัก
บันทึกนี้ทำให้นักพฤกษศาสตร์โกรธเคืองเป็นอย่างมาก พวกเขาทราบดีว่า มีพืชที่กินเนื้อเป็นอาหารหลายชนิด แต่พืชเหล่านี้สามารถกินแมลงขนาดเล็กและไม่สามารถกินสัตว์ขนาดใหญ่ได้ แน่นอนว่าไม่สามารถกินคนได้
แล้วสรุปว่า กุมันกา (kumanga) มีจริงหรือไม่?
เมื่อขุดย้อนหลังไป เรื่องราวของต้นไม้กินคนได้ปรากฏขึ้นเมื่อ เดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2417 (1874) มันเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ New York World ได้ประกาศการค้นพบต้นไม้กินคนบนเกาะมาดากัสการ์ ที่อยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาใต้ บทความนี้รวมถึงคำอธิบายที่น่ากลัวของหญิงในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสมาชิกในเผ่าเอ็มโกดอส (Mkodos) …มันเป็นคำบอกเล่าจากจดหมายของ คาร์ล ลีเช่ (Karl Leche) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน
ต่อมามีการเปิดเผยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่ง เผ่า Mkodos นั้นไม่มีอยู่จริง แต่ถึงแม้จะมีการเปิดเผยนี้ เรื่องเล่านี้ก็ยังคงแพร่สะพัดว่าเป็นความจริงที่น่าสยดสยอง มันเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ที่นักสำรวจยังคงเดินทางเข้าไปในป่าทึบของมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นดินแดนที่บุคคลภายนอกไม่รู้จัก เพื่อค้นหาต้นไม้กินคนในตำนานนี้
ดูเหมือนจะมีสื่อหลายสำนักที่พยายามแก้ไขเรื่องราวของกุมันกา (kumanga) และพยายามที่จะบอกให้รู้ว่า เรื่องราวของต้นไม้กินคนนี้ เป็นเรื่องหลอกหลวง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์นิวยอร์กไทมส์ ปี พ.ศ. 2557 (2014) และยังกล่าวอีกว่า เรื่องราวที่เกี่ยวกับอายุที่ยืนยาวของต้นไม้ หรือรายละเอียดเกือบทั้งหมดในเรื่องนี้เป็นเรื่องสมมติ แถมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แทบจะไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ …ด้วยเหตุนี้กุมันกาจึงไม่มีอยู่จริง แถมแหล่งที่มาที่แท้จริงยังระบุไม่ได้อีกต่างหาก …จบ