“ในปี 2009 ขณะที่เก็บตัวอย่างใต้น้ำ ฉันพบเส้นใยยาวสีขาว ติดอยู่กับใบไม้ใต้น้ำของต้นโกงกาง ในตอนแรกฉันคิดว่าพวกมันเป็นยูคาริโอต (สัตว์ พืช หรือเชื้อรา) เนื่องจากขนาดของพวกมันค่อนข้างใหญ่” Olivier Gros จากมหาวิทยาลัย French Antilles เมือง Guadeloupe กล่าวในการแถลง
อย่างที่รู้กัน แบคทีเรียส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พวกมันมักความยาวประมาณ 2 ไมโครเมตร หรือ 0.0002 เซนติเมตร ขนาดของมันถูกจำกัดด้วยความจริงที่ว่า โมเลกุลที่นำพาพลังงานที่พวกมันใช้ในการสร้างพลังงานให้กับตัวเองนั้น ถูกผลิตขึ้นโดยใช้เอนไซม์ที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งหมายความว่าแบคทีเรียจำเป็นต้องมีอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ ยิ่งพวกมันตัวใหญ่ ก็ยิ่งจำกัดสิ่งที่พวกมันทำได้
ก่อนหน้านี้ พวกเราเคยพบกับแบคทีเรียที่สามารถเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มาก และตัวใหญ่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักคือ Thiomargarita nelsonii ซึ่งเติบโตได้ยาวถึง 750 ไมโครเมตร
แต่แบคทีเรียชนิดใหม่นี้ Thiomargarita magnifica มีปริมาตรมากกว่า T. nelsonii ประมาณ 50 เท่า และทำลายขีดจำกัดด้านขนาดของแบคทีเรียอย่างแท้จริง นักวิจัยพบมันติดอยู่กับเปลือกหอยนางรม ใบไม้ และกิ่งก้าน แต่ยังติดอยู่ที่ขวดแก้ว ขวดพลาสติก หรือเชือก บาทีก็พบตรงถุงพลาสติกในป่าชายเลน
โดยนักวิจัยคาดการณ์ว่า แบคทีเรียที่บางและยาวตัวนี้ อาจมีวิวัฒนาการเพื่อเข้าถึงกำมะถันในตะกอนที่ด้านล่างของป่าชายเลน และออกซิเจนในน้ำทะเลด้านบน ซึ่งพวกมันใช้สร้างพลังงาน
สุดท้ายแม้ตอนนี้นักวิจัยจะยังไม่ค่อยเข้าใจพวกมัน แต่มันก็สร้าลผลกระทบให้กับตำราจุลชีววิทยาทั้งหมด ที่ระบุว่าแบคทีเรียมีขนาดเล็กและเรียบง่าย อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ได้อธิบายไว้ในการศึกษาจะเปลี่ยนมุมมองของเราในด้านนี้โดยสิ้นเชิง