นี่คือ ‘นกแก้วโบราณ’ หนึ่งเดียวในโลกที่บินไม่ได้และยังไม่สูญพันธุ์

ถ้าออสเตรเลียเป็นดินแดนของสัตว์ประหลาด นิวซีแลนด์ก็เช่นกัน เพราะที่แห่งนี้มี "นกแก้วคาคาโป" มันเป็นนกแก้วที่แปลกประหลาด ที่ไม่สามารถบินไม่ได้ และตัวใหญ่มาก และนี่คือเรื่องราวของนกตัวนี้

นกแก้วคาคาโป (Kakapo) เป็นภาษามาวรี (kākāpō) มีความหมายว่า “นกแก้วกลางคืน” เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Strigopidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Strigops habroptilus บางทีนกตัวนี้ก็ถูกเรียกว่า “นกแก้วฮูก” มันเป็นนกแก้วที่บินไม่ได้ที่พบในนิวซีแลนด์เท่านั้น ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการบนเกาะโดดเดี่ยว ทำให้มีรูปลักษณ์พิเศษ

บรรพบุรุษร่วมของนกแก้วคาคาโปและนกในสกุล Nestor ในวงศ์ใหญ่ Strigopoidea เดียวกัน ซึ่งได้แยกไปอยู่ต่างหากจากนกแก้วชนิดอื่นๆ หลังจากนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากทวีปกอนด์วานา เมื่อประมาณ 82 ล้านปีก่อน จากนั้นอีก 12 ล้านปีต่อมาหรือประมาณ 70 ล้านปีก่อน นกแก้วคาคาโปจึงแยกออกจากนกสกุล Nestor ชัดเจน

เนื่องจากในอดีต “นิวซีแลนด์” ซึ่งเป็นประเทศเกาะ จะไม่มีสัตว์นักล่าอยู่บนพื้นดิน มันจึงทำให้ “นกแก้วคาคาโป” ไม่จำเป็นต้องบิน และวิวัฒนาการเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่บินไม่ได้

นกที่ครองสถิติอีกหลายรายการ

Advertisements

นอกจากมันจะบินไม่ได้แล้ว นกชนิดนี้ยัง “เสียงดังมาก” มันคือนกที่ส่งเสียงได้ดังที่สุดในโลก ตามบันทึก เสียงของมันดังได้ถึง “132 เดซิเบล” ซึ่งมันจะส่งเสียงร้องคล้ายกบ และจะร้องติดต่อกันนานถึง 3 เดือน วันละ 8 ชั่วโมง และเสียงร้องจะได้ยินไปไกลถึง 5 กิโลเมตร

น้ำหนักตัวของมันก็ถือเป็นผู้ครองสถิติ เพราะมันคือนกแก้วที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก นกแก้วคาคาโป มีขนาดตัวระหว่าง 59-64 เซนติเมตร และอาจหนักถึง 4 กิโลกรัม

นกแก้วคาคาโปยังอาจเป็นนกแก้วที่อายุยืนที่สุดอีกด้วย โดยมีสถิติพบอายุยืนที่สุดถึง 100 ปี และยังอาจเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่หากินตอนกลางคืน

เพิ่มเติมเกี่ยวกับนกแก้วคาคาโป

นกแก้วคาคาโปตัวเต็มวัยมีลำตัวเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีน้ำตาลและเหลือง ช่วยให้สามารถพรางตัวได้ดีบนผืนป่า แต่ในวัยอ่อนสีสันจะไม่สดใส และหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับนกฮูก มีสีออกน้ำตาล นกแก้วคาคาโปปีนต้นไม้ได้เก่ง และทำโพรงอยู่ใต้ดินเหมือนกระต่าย

Advertisements
เดิมพวกมันเคยอยู่กระจายทั่วไปในเกาะเหนือ เกาะใต้ และเกาะสจวร์ต รวมถึงเกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ มันสามารถอยู่ได้ในป่าทุกรูปแบบ แต่พวกมันก็พบกับการล่าโดยชาวพื้นเมืองมาวรี และการอพยพมาของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานในศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้นำสัตว์ต่างถิ่น เช่น สุนัขและตัวพอสซั่ม ซึ่งเป็นสัตว์นักล่า จนเป็นเหตุให้นกแก้วคาคาโปต้องสูญพันธุ์

แต่เนื่องจากการอนุรักษ์อย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่ได้รวบรวมนกแก้วคาคาโปที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งหมด ย้ายไปที่อยู่ใหม่ เพื่อสงวนนกแก้วคาคาโปไม่ให้สูญพันธุ์

ปัจจุบันจึงเหลือนกชนิดนี้อยู่บนเกาะคอดฟิชและเกาะชอล์กกีที่ถูกใช้เป็นแหล่งอนุรักษ์นก ทำให้ปริมาณนกแก้วคาคาโปเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1995 จาก 55 ตัว เป็น 111 ตัวในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2009 .. ปัจจุบันนกแก้วคาคาโปอยู่ในสถานะ “เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements