การค้นพบที่เป็นไปไม่ได้! ‘ทาลัตโตซอเรีย’ ยาว 4 เมตร ในตัวของอิกทิโอซอร์ที่ใหญ่กว่า

ดังที่อาจารย์เจได Qui-Gon Jinn จากภาพยนต์ Star Wars เคยกล่าวไว้ว่า "มันมักจะมีปลาที่ใหญ่กว่าเสมอ" หรือในกรณีของยุคไทรแอสซิก มันมีสัตว์เลื้อยคลานในน้ำที่ใหญ่กว่าอยู่เสมอ ดังที่ฟอสซิลอันน่าทึ่งนี้แสดงให้เห็นความจริงของเรื่องนี้

งานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ใน iScience เสนอหลักฐานโดยตรงที่เก่าแก่ที่สุดของ “Megapredation” หรือนักล่าขนาดยักษ์ยุคโบราณซึ่งสามารถล่าและกินเหยื่อที่ขนาดเกือบเท่าตัวมันเองได้

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในเหมืองในจังหวัดกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ปรากฏให้เห็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีความยาว 15 ฟุต (5 เมตร) ของ อิกทิโอซอร์ (Ichthyosaur) (ออกเสียงว่า “Ichthyo = ปลา, saurus = กิ้งก่า”) นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานทะเลกินเนื้อที่มีความยาว 12 ฟุต (4 เมตร) มันคือ “ทาลัตโตซอเรีย (thalattosaur)”

น่าเศร้าที่ “อิกทิโอซอร์” อาจตายหลังจากกินเหยื่อของมันได้ไม่นาน คาดว่ามันอาจจะหายใจไม่ออกจากเหยื่อที่มีขนาดใหญ่เกินไป

อิกทิโอซอร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานในน้ำรูปร่างคล้ายปลาโลมาที่มีชีวิตในช่วงยุคไทรแอสซิก ตัวอย่างนี้เป็นของสายพันธุ์ อิกทิโอซอร์ ตัวนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Guizhouichthyosaurus tangae ซึ่งเติบโตได้ยาวถึง 33 ฟุต (10 เมตร)

สันนิษฐานว่าเหยื่อของมัน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ทาลัตโตซอเรีย ที่เรียกว่า Xinpusaurus xingyiensis มีลักษณะเหมือนกิ้งก่ามากกว่า มันมีขาสี่ขาซึ่งเหมือนกับใบพาย ซากดึกดำบรรพ์ใหม่นี้เป็นหลักฐานโดยตรงชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่า อิกทิโอซอร์ บางชนิดเป็นสัตว์นักล่าที่น่ากลัว เหมือนวาฬเพชฆาตในปัจจุบัน

ซากดึกดำบรรพ์ที่เกือบสมบูรณ์ซึ่งมีอายุ 240 ล้านปี แสดงให้เห็นว่าอิกทิโอซอร์สามารถกลืนสัตว์ที่มีขนาดพอๆกับตัวมันเอง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นการตัดสินใจที่อันตรายถึงชีวิต

ก่อนการค้นพบนี้นักวิทยาศาสตร์ “ไม่เคยพบซากสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในท้องของนักล่าขนาดมหึมา แม้แต่ในยุคไดโนเสาร์” Ryosuke Motani ผู้เขียนร่วมการศึกษาและนักบรรพชีวินวิทยาอธิบาย จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวในการแถลงข่าวของ UCD เดิมนักวิทยาศาสตร์คิดว่าอิกทิโอซอร์กินเฉพาะปลาและพวกหมึกเท่านั้น

Dean Lomax นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ กล่าวว่า “การพบสัตว์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ปลาหรือหมึกในท้องของ อิกทิโอซอร์นั้นหายากอย่างไม่น่าเชื่อ และอันที่จริงแล้วการหาปลาหรือหมึกในท้องของอิกทิโอซอร์ก็ค่อนข้างหายากเช่นกัน”




Dean Lomax นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยใหม่กล่าว “มีสัตว์ชนิดอื่นเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ถูกพบในกระเพาะของอิกทิโอซอร์ ดังนั้นการค้นพบอิกทิโอซอร์ที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ที่มีอาหารเย็นเป็นพวกทาลัตโตซอเรีย ที่มีขนาดใหญ่มากเกือบเท่าตัวมันจึงเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก”




Lomax รู้สิ่งหนึ่งหรือสองอย่างเกี่ยวกับฟอสซิลสองตัวนี้ ย้อนกลับไปในปี 2018 เขาได้ร่วมเขียนบทความวิจัยเกี่ยวกับฟอสซิลอิกทิโอซอร์ที่ตั้งครรภ์ซึ่งมีลูกที่ยังไม่เกิดหลายตัวที่ยังคงอยู่ในร่างของมัน

Lomax กล่าวว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับตัวอย่างประเภทนี้คือให้ข้อมูลโดยตรงและเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว “มันง่ายที่จะสันนิษฐานว่า ตัว X กินเจ้า Y แต่เมื่อคุณมีหลักฐานเช่นนี้ ก็ไม่มีการคาดเดาอะไรอีกแล้ว”

ไม่ชัดเจนว่าฟอสซิลใหม่นี้เป็นตัวอย่างของการล่าหรือการกินซาก การกินซากไม่น่าจะเป็นไปได้ ถ้าเป็นซากแขนขามักจะร่วงหล่นจากร่างกายก่อนที่ส่วนหางจะหลุดออกจากร่างในตัวอย่างนี้

แต่จากซากของทาลัตโตซอเรีย พบว่าแขนและขายังติดอยู่กับตัว แต่หางหายไป นักบรรพชีวินวิทยาพบส่วนหางของสิ่งมีชีวิตนี้ห่างออกไปเพียงไม่กี่ฟุต ซึ่งน่าจะขาดหายไปช่วงตอนถูกล่า

อย่างไรก็ตามหลักฐานใหม่ชี้ให้เห็นว่าอิกทิโอซอร์สายพันธุ์นี้ ไม่ว่าจะเป็นนักล่าหรือตัวกินซาก มันสามารถกินอาหารที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวของมันเอง

ฟอสซิลหางที่พบใกล้ๆซากหลักนั้น มีสภาพดีมาก เราเลยถาม Lomax ว่าคิดยังไงกับเรื่องนี้ “ประเด็นของคุณเกี่ยวกับหางก็เพิ่มความอยากรู้ของผมเช่นกัน แม้ว่ามันจะดูเหมือนเป็นเรื่องจริง” เขากล่าว




Advertisements

อย่างไรก็ตาม มันดึงดูดความสนใจของผมได้ เนื่องจากผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า “นักล่าน่าจะเสียชีวิตในไม่ช้าหลังจากกินเหยื่อ” สมมติว่าหางของ ทาลัตโตซอเรียที่แยกออกมานั้นมาจากตัวเดียวกับที่โดนอิกทิโอซอร์กิน หากสิ่งนี้ถูกต้อง ก็อาจบ่งชี้ว่าผู้ล่าเน้นกัดมากกว่าจะเคี้ยวเหยื่อของมัน เพราะมันมีขนาดใหญ่กว่าที่มันคาดไว้มากและอาจนำไปสู่ความหายนะของมันได้”

ยากที่จะรู้แน่ชัดว่าทำไมอิกทิโอซอร์ตัวนี้ถึงตาย แต่สมมติว่าการตีความนี้ถูกต้อง ว่าหางที่แยกออกมาเป็นของทาลัตโตซอเรียตัวเดียวกัน จากนั้นการตายของอิคธิโอซอรัสก็อาจเชื่อมโยงกับอาหารมื้อหนักของมันได้ Lomax อธิบาย มันอาจจะตายเนื่องจากไม่สามารถหายใจได้เพราะเหยื่อของมันติดคอ หรืออาจจะเกิดภัยพิบัติบางอย่างที่ฆ่ามันและกลบฝังมันในสภาพนั้น

ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือสัตว์ทะเลทั้งสองตายแล้วซากทับกัน และซากของทาลัตโตซอเรียไม่ได้แสดงสัญญาณของการเสื่อมโทรมด้วยกรดในกระเพาะ แต่ยังไง ข้อสันนิษฐานที่น่าจะเป็นอิคธิโอซอรัสที่ตายหลังจากกินทาลัตโตซอเรียไม่นาน

การค้นพบนี้ทำให้เกิดความกระจ่างใหม่เกี่ยวกับนิสัยการกินของอิคธิโอซอรัส ซึ่งสันนิษฐานว่ากินปลาและหมึกด้วยฟันที่เล็กเหมือนหมุด หลักฐานใหม่ชี้ให้เห็นว่าฟันเหล่านี้ถูกใช้เพื่อจับเหยื่อ กระชากและฉีกเนื้อออกเป็นชิ้นๆ




“ตอนนี้ เราสามารถพิจารณาอย่างจริงจังว่ามันกำลังกินสัตว์ใหญ่ ถึงแม้ว่าเหยื่อจะใหญ่เกือบเท่าตัวมัน” Motani อธิบายในการแถลงข่าวของ Cell Press “เราเคยแนะนำมาก่อนว่าความล้ำหน้าอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ และการค้นพบของเราสนับสนุนสิ่งนั้นจริงๆ ค่อนข้างชัดเจนว่าสัตว์ตัวนี้สามารถจับเหยื่อขนาดใหญ่นี้ได้โดยใช้ฟันของมันในการช่วยจับยึดกับเหยื่อ”

สัตว์นักล่าในยุคปัจจุบัน เช่น ปลาวาฬเพชรฆาตและแมวน้ำเสือดาวใช้กลวิธีในการล่าที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เป็นไปได้ของการวิวัฒนาการแบบบรรจบกัน

และแท้จริงอิกทิโอซอร์เองเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการวิวัฒนาการแบบบรรจบกัน ซึ่งสปีชีส์ที่ไม่เกี่ยวข้องจะวิวัฒนาการลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปแล้ว อิกทิโอซอร์มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับโลมา แต่จากการวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่าการเปรียบเทียบที่แม่นยำยิ่งขึ้นอาจเป็นการเทียบมันกับวาฬเพชฌฆาต

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements