ถ้ากบกลับมาผสมพันธุ์ในที่มันเกิด พวกมันจะแพร่ไปทั่วประเทศได้ยังไร

เป็นเวลานานที่นักธรรมชาติวิทยา คิดว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก ซาลาแมนเดอร์ เป็นสัตว์ในกลุ่ม Philopatric Animals ซึ่งหมายความว่าหากกบเริ่มมีชีวิตในบ่อหนึ่ง มันจะกลับมาผสมพันธุ์ในบ่อเดิมเสมอ แต่หากคิดเช่นนั้น ทำไมกบจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศได้

“หากกบเป็นสัตว์ในกลุ่ม Philopatric Animals มันจะขัดแย่งกับความเป็นจริงอย่างเห็นได้ชัด”

ประการที่ 1 ประชากรของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำบางชนิด ครอบครองพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึงพวกมันต้องมีการเคลื่อนไหวระหว่างแหล่งน้ำ เพื่อตั้งรกรากในพื้นที่กว้างใหญ่

ประการที่ 2 จากการศึกษาพบว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่รุกรานบางชนิด ได้ตั้งรกรากเป็นบริเวณกว้างของยุโรปและออสเตรเลียภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษ โดยมีผลกระทบด้านลบต่อชนิดพันธุ์พื้นเมืองและระบบนิเวศ สิ่งนี้บ่งชี้ว่า เรื่องที่กบจะกบจะกลับมาบ้าน ไม่ได้เคร่งครัดขนาดนั้น พวกมันอาจมาหรือไม่มาก็ได้

ดังนั้น..! สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจึงไม่ซื่อสัตย์ในแหล่งน้ำอย่างที่เราคิด อันที่จริงการแพร่กระจาย นั่นคือการเคลื่อนไหวส่วนตัวของพวกมัน ระหว่างแหล่งน้ำที่มันเกิดและแหล่งน้ำที่ผสมพันธุ์หรือระหว่างที่เพาะพันธุ์อย่างต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในวงจรชีวิตของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในประชากรบางกลุ่ม เกือบ 30% จะเปลี่ยนแหล่งเพาะพันธุ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต การเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละตัว (สภาพร่างกาย พฤติกรรม) แต่ก็ยังขึ้นกับสภาพแวดล้อมในตอนนั้นด้วย

ตามรายงานของ the International Union for Conservation of Nature สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่า 40% ถูกคุกคาม การแพร่กระจายมีบทบาทสำคัญในการดำรงอยู่และการอนุรักษ์ของพวกมัน

กิจกรรมของมนุษย์มีส่วนอย่างมากในการจำกัดความสามารถในการกระจายตัวของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ดังนั้นจึงมีส่วนทำให้เกิดการแยกตัวและการลดลงของประชากรเช่นกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาnewscientist