หลังสงครามได้ไม่นาน ผู้คนเริ่มขยับเข้าใกล้ Payette Lake, McCall ซึ่งเป็นที่อยู่ของบีเวอร์ ซึ่งพวกมันอยู่มานานหลายทศวรรษหรือหลายศตวรรษ ในไม่ช้ามนุษย์ก็ประกาศให้มันเป็นสัตว์ที่สร้างความรำคาญ พวกเขาไม่ได้คิดจะฆ่าพวกมัน แต่รัฐบาลไอดาโฮในสมัยนั้นคิดจะส่งพวกมันให้ไปอยู่ในป่าที่ห่างไกล ซึ่งห่างจากที่อยู่เดิมของพวกมันประมาณ 300 กิโลเมตร
แต่การย้ายถิ่นฐานให้กับบีเวอร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องส่งไปในถิ่นทุรกันดาร ในสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็นทางรถหรือม้า มันยากที่จะเข้าไปได้ และถึงใช้รถบรรทุก มันก็ใช้เวลานานและยังทำให้บีเวอร์บาดเจ็บจำนวนมาก อีกทั้งบีเวอร์ยังต้องการน้ำเพื่อระบายความร้อนตลอดเวลาอีกด้วย
จนในปี 1950 มีรายงานที่เขียนโดย Elmo W. Heter จากแผนก Idaho Fish and Game ซึ่งเขียนใน The Journal of Wildlife Management มีรายละเอียดประมาณว่า วิธีแก้ปัญหาบีเวอร์คือ “โยนบีเว่อร์ออกจากเครื่องบิน” มันเป็นความคิดที่บ้า แต่ก็โชคดีสำหรับบีเวอร์ที่มีร่มเหลือมากพอ และโยนจากความสูง 15,000 ฟุต .. (ก็ไม่รู้ถือว่าโชคดีหรือเปล่า)
ต่อมาหลังจากการทดสอบหลายครั้งพวกเขาคิดว่ามันคงสูงเกินไป และบีเวอร์ไม่เหมือนมนุษย์ที่จะควบคุมร่มเองได้ วิธีที่ดีคือการสร้างกล่องให้บีเวอร์อยู่แล้วจึงโยนออกจากเครื่องบินที่ความสูง 500-800 ฟุต
“จากการประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งบีเว่อร์จากเครื่องบิน 4 ตัว อยู่ที่ประมาณ $30 ในปี 1948 หรือที่ประมาณ $ 300 ดอลลาร์ในวันนี้”
เรื่องการโยนนี้ไม่มีหลักฐานเป็นคลิปจนในปี 2015 พวกเขาพบคลิปต้นฉบับที่บันทึกขั้นตอนการ “โยนบีเว่อร์ออกจากเครื่องบิน” ซึ่งเป็นขั้นทดสอบ จริงๆ มีดูดีและปลอดภัยกว่าที่คิดนิดหน่อย
บทสรุปโครงการนี้คือว่าประสบความสำเร็จ มีบีเวอร์ที่มีชีวิต 76 ตัว ถูกโยนออกจากเครื่องบินอย่างปลอดภัย มีบาดเจ็บเพียงตัวเดียว