แต่สำหรับประเทศไทยการตกแม่ครอก ในบางพื้นที่ถือว่าเป็นเรื่องไม่ค่อยดีสำหรับนักตกปลา เพราะบางพื้นที่ชะโดลดจำนวน จนกลัวว่าจะไม่มีตกกันนั้นเอง
ปลาชะโด (Giant Snakehead) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Channa micropeltes เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ มันมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรืออาจถึง 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มันเป็นปลาเกมที่นักตกปลาไทยและทั่วโลกรู้จักกันดีว่ามันดุร้าย ในไทยไม่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีหลายประเทศที่ชอบเอาปลาชะโดไปใส่ตู้ เพราะชอบความเถื่อน
เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า “ลูกครอก” หรือ “ชะโดป๊อก” เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า “ชะโดแมลงภู่” ตามสีของลำตัว หากสีดำจะเรียกว่า “ชะโดถ่าน”
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ยังมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในวงศ์ปลาช่อนอีกด้วย และยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกปลาชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นใน เดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า “ชะโดตีแปลง”
การตกปลาชะโดในตอนที่มันยังมีลูก (ตีปลาครอก) ทั้งไม่ผิดและไม่ผิด เพราะในความเป็นจริงปลาชะโดถือเป็นนักล่าที่อยู่จุดสูงสุดของแหล่งน้ำจืด หากมันโตเต็มไว จะไม่มีปลาชนิดไหนล่ามันได้ และด้วยความที่มันเป็นปลาที่เลี้ยงลูกอย่างดี โอกาสรอดของลูกๆ จึงสูง สุดท้ายแหล่งน้ำนั้นอาจเต็มไปด้วยชะโด การตกปลาที่เรียกว่าตีปลาครอกจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของน้าๆ เอง