ตะขาบกินนกแห่งเกาะฟิลลิป คืออะไร?
ตะขาบกินนกแหล่งเกาะฟิลลิป หรือ ตะขาบเกาะฟิลลิป (Phillip Island centipede) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คอร์โมเซฟาลัส คอยนี่ (Cormocephalus coynei) โดยข้อมูลที่เกี่ยวกับตะขาบชนิดนี้มีอยู่ใน wiki เพียง 5 บรรทัด นี่แสดงให้เห็นว่า ตะขาบชนิดนี้ได้รับการวิจัยที่น้อยมากจริงๆ
ตามบันทึก ตะขาบเกาะฟิลลิป ถูกพบเห็นครั้งแรกบนเกาะฟิลลิป เมื่อปี ค.ศ. 1792 แต่ก็ไม่ได้รับการอธิบายแต่อย่างใด ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1984 จึงจะมีการบันทึกและอธิบายว่าเป็นตะขาบชนิดใหม่
โดยตะขาบชนิดนี้เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวอยู่ระหว่าง 23 – 30 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลแดงหรือสีส้ม เป็นตะขาบที่มีนิสัยดุร้าย ชอบกินสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ตุ๊กแก จิ้งเหลน นก รวมถึงสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กอื่นๆ
แต่อาจเป็นเพราะเกาะฟิลลิป เต็มไปด้วยรังนก มันจึงล่าและกินลูกนกหรือแม้แต่แม่นกได้ไม่ยากเย็น โดยจากสถิติพวกมันฆ่าและกินนกได้ถึงปีละประมาณ 3,700 ตัว แน่นอนว่ามันกินสัตว์ที่มีกระดุกสันหลังอื่นๆ ด้วย
“ในฐานะที่เป็นนักล่าขนาดใหญ่ในทะเล, นกทะเลมักจะนั่งอยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร เราเคยเข้าใจว่าที่เกาะแห่งนี้ นกทะเล! ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ แต่จากการศึกษาใหม่ซึ่งตีพิมพ์ใน American Naturalist แสดงให้เห็นว่า มันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป”
เพราะยังมีสัตว์ขาปล้องที่กินสัตว์อืนเป็นอาหาร มันสามารถจัดการกับสัตว์ขนาดใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ตะขาบชนิดนี้สามารถเติบโตได้ยาวถึง 30 เซนติเมตร มันมีพิษที่ร้ายแรง ซึ่งจะทำให้เหยื่อเคลื่อนไหวไม่ได้ ร่างกายของมันถูกปกป้องด้วยแผ่นเกล็ดที่มีลักษณะคล้ายชุดเกราะซึ่งเรียงตามส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันตลอดความยาวของตัว
ในเวลาคืนที่อากาศอบอุ่นและชื้น สัตว์ขาปล้องที่ออกหากินในเวลากลางคืนพวกนี้ จะออกล่าสัตว์ด้วยการเดินผ่านเศษใบไม้ที่หนาทึบ เข้าสู่เขาวงกตของโพรงนกทะเลที่พาดผ่านพื้นป่า ตะขาบที่เดินด้อมๆ มองๆ จะใช้เสาอากาศที่ไวเป็นพิเศษ เพื่อนำทางให้มันเข้าหาเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว
ตะขาบพวกนี้ จะออกล่าสัตว์หลากหลายชนิด ไม่ว่ามันพบอะไร ถ้ามันจับตัวได้มันจะกิน เหยื่อของมันมีตั้งแต่จิ้งหรีดไปจนถึงลูกนกทะเล ตุ๊กแก และ มันจับได้แม้แต่ปลา และดูเหมือนมันจะชอบลูกนกนางแอ่นปีกดำ ที่มีอยู่มากมายบนเกาะมากๆ (Black-winged petrel)
โดยอัตราการบุกเข้าไปในรังนกของตะขาบ “ที่นักวิจัยสังเกตพบ” เราคำนวณได้ว่า ประชากรตะขาบบนเกาะฟิลลิป สามารถฆ่าและกินนกนางแอ่นได้ระหว่าง 2,109 ถึง 3,724 ตัวในแต่ละปี ในขณะที่บนเกาะมีนกนางแอ่นปีกดำซึ่งมีคู่ผสมพันธุ์ประมาณ 19,000 ตัว จึงดูเหมือนว่า การล่าของตะขาบในอัตรานี้ จะไม่มีปัญหาอะไรกับประชากรนกในอนาคต มันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างนักล่าและเหยื่อโดยธรรมชาติ
ตะขาบที่เคยเกือบจะสูญพันธุ์
เมื่อไม่กี่ทศวรรษก่อน ตะขาบเกาะฟิลลิป ไม่ได้พบได้ง่ายเหมือนทุกวันนี้ พวกมันหายากมากๆ ในความเป็นจริง พวกมันถูกอธิบายอย่างเป็นทางการว่าเป็นชนิดใหม่เท่านั้น …แล้วก็ไม่ได้มีคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม”
จากการค้นหาอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1980 พวกเขาก็พบเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น มันเป็นตะขาบชนิดที่หายากในสมัยนั้น น่าจะเกิดจากแหล่งที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรมอย่างรุนแรงซึ่งเกิดจากหมู แพะ และกระต่ายที่มนุษย์นำมาบนเกาะ
หลังการกำจัดสัตว์ต่างถิ่นที่รุกรานเกาะออกไป มันทำให้นกนางแอ่นปีกดำสามารถตั้งรกรากบนเกาะได้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ประชากรของพวกมันก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้พวกมันเป็นนกทะเลที่มีจำนวนมากที่สุดจาก นก 13 ชนิดที่มาผสมพันธุ์บนเกาะฟิลลิป …สุดท้ายนกพวกนี้ก็กลายเป็นแหล่งอาหารคุณภาพสูง สำหรับตะขาบเกาะฟิลลิปที่หายาก ดังนั้นจึงน่าจะช่วยให้ประชากรตะขาบฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับปัจจุบันนี้ ต้องขอบคุณความพยายามในการอนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติเกาะนอร์ฟอล์ก ธรรมชาติของเกาะฟิลลิปจึงได้รับการฟื้นฟูควบคู่ไปกับสายพันธุ์สัตว์เฉพาะถิ่นที่เพิ่มขึ้น เช่น ตะขาบ รวมถึงต้นชบาแห่งเกาะฟิลลิป (Hibiscus insularis) ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
สุดท้ายการคงอยู่ของตะขาบเกาะฟิลลิป กับความอยากอาหารที่มากของมัน อาจเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศของเกาะ แต่ยังต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจความเชื่อมโยงที่ซับซ้อนในห่วงโซ่อาหารที่คึกคักแห่งนี้