ในรัฐซาบาห์มีเรื่องเล่าในหมู่ชนเผ่าพื้นเมือง มันเกี่ยวกับข้อตกลงเก่าแก่ที่เรียกว่า ‘Gegejanji Gunai Boya’ ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามภาษาของ Orang Sungei (ออรัง สุไหง) หรือชนเผ่าแม่น้ำ
โดยเนื้อหาข้อตกลงค่อนข้างง่ายและกระชับ “ทุกคนที่เป็นคนของชนเผ่าแม่น้ำ (Orang Sungei) ไม่ว่าจะอาศัยในแม่น้ำ Kinabatangan หรือแม่น้ำใดๆ จะไม่ถูกกลืนกินโดยจระเข้ ความสุขและชีวิตของพวกเขาจะไม่ถูกรบกวน”
เนื่องจากวันเวลาที่ผ่านมานาน เรื่องราวนี้จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตำนานนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ความเชื่อเกี่ยวกับตำนานนี้มีคนไม่มากที่ยังคงเชื่อในข้อตกลง แต่พันธสัญญานี้เป็นสมบัติที่มีค่าในตัวเองและเรื่องราวนี้ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยบรรพบุรุษของพวกเขา
จากเรื่องเล่าของ พลเมืองอาวุโส มัก อันดัม (Mak Andam) การทำข้อตกลงเกิดขึ้นระหว่าง กษัตริย์ของจระเข้ชื่อ อากิ ตูรองการี (Aki Turonggari) กับหญิงชราซึ่งเป็นหมอผี อาดุก ซิบูลิก-บูลิก (Aduk Sibulig-buliq)
สาระสำคัญของข้อตกลงคือ “ตราบใดที่ลูกหลานของ อาดุก ซิบูลิก-บูลิก ยังคงรักษาข้อห้าม เช่น การอาบน้ำ ซักผ้า หรือหาเลี้ยงชีพในแม่น้ำ เป็นอย่างดี ลูกหลานของ อากิ ตูรองการี ก็จะปฏิบัติตามข้อตกลง”
ผู้เฒ่าเชื่อว่าข้อตกลงนี้ไม่ได้เป็นเพียงตำนานแต่มันเกิดขึ้นจริง เป็นเรื่องราวโบราณที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เรื่องราวของข้อตกลงนี้มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของชาวแม่น้ำ จึงไม่แปลกที่คนหลายรุ่นจะเคยเชื่อ และจนถึงตอนนี้ก็ยังมีคนเชื่ออยู่ “ชนเผ่าแม่น้ำหลายคนยอมรับว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยมีคนรุ่นไหนถูกจระเข้กินเลย”
แน่นอนว่ามีเหตุการณ์ของผู้ที่ไม่ทำตามเช่นกัน มันเป็นคนงานชายชาวอินโดนีเซียอายุ 20 ต้นๆ เขากำลังตกปลาที่ต้นน้ำของแม่น้ำ Kinabatangan จนถึงบ่ายแก่ๆ โดยไม่สนใจป้ายห้ามทำตกปลาหรือจับปลาในพื้นที่นี้ คนงานและเพื่อนของเขายังคงก้าวลงไปในแม่น้ำจนถึงระดับเอว ..น่าเสียดายพวกเขาไม่ได้ขึ้นจากน้ำอีกเลย
ระหว่างความจริงและภาพลวงตา ข้อตกลงจระเข้นี้อาจมีความลับอยู่เบื้องหลัง ในขณะที่ชุมชนชาติพันธุ์ ชนเผ่าแม่น้ำ และลูกหลานของอาดุก ซิบูลิก-บูลิก ยังคงปฏิบัติตามข้อห้ามเมื่อซักเสื้อผ้า อาบน้ำ หรือหาเลี้ยงชีพในแม่น้ำ ลูกหลานของอากิ ตูรองการี ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำจะไม่ลืมเงื่อนไขที่กษัตริย์ของพวกเขาสัญญาไว้