สาย Fluorocarbon
ผมจะไม่วิชาการมากนะครับ เลยขอเข้าเรื่องเลย เจ้าสาย Fluorocarbon เนียน้าๆ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสาย Shock Leader ซึ่งมันจะมีสายที่ออกแบบมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ และมันก็มี Fluorocarbon สำหรับ Casting ด้วย
ซึ่งน้าๆ ไม่ต้องรู้หลอกว่าสูตรทางเคมีมันต่างกันไง รู้แค่ว่าสายสำหรับ Casting หรือก็คือเอาตีเหยื่อปลอมเนีย มันจะอ่อนนุ่มกว่าสายที่เอามาต่อช็อค และที่กล่องหรือหลอดเก็บด้ายก็จะเขียนไว้ด้วยว่า “Casting”
ข้อดี เมื่อเทียบกับ PE
- คำอธิบาย Fluorocarbon ที่ขึ้นชื่อคือการยากที่จะมองเห็นได้เมื่ออยู่ในน้ำทุกความลึก จนเรียกว่าเป็น “Invisible”
- ไม่อมน้ำ น้ำหนักเบา
- จมน้ำเร็วกว่า
- ทนการเสียดสี ถึงจะเป็น Casting Fluorocarbon ก็ตาม
- ยืดตัว
ข้อเสีย เมื่อเทียบกับ PE
– สายค่อนข้างแข็ง
– แรงดึงเท่ากัน สาย PE จะเล็กกว่า
– สายเป็นขด หรืออาจหักงอได้ง่าย เป็นจุดอ่อนใหญ่
– Sensitive สู้ไม่ได้
น้าๆ กดอ่านเพิ่มเติม เรื่องของ สายเอ็นตกปลา กับการมองเห็น
สาย PE
สาย PE เองก็มีสายสำหรับ Casting และยังมีสาย Jigging โดย Jigging ช่างมันไม่ข้อพูดถึง เอาเป็น Casting พอ ซึ่งสาย Casting จริงๆ ถือเป็นสายทั่วไปของ PE อยู่แล้ว แต่สายพวกนี้ก็มีรายละเอียดแยกย่อยออกไปอีกมากมาย
และความเข้าใจพื้นฐานของพวกเราก็คือ สายถัก 4 หรือ ถัก 8 ซึ่งมันเป็นมาตาฐานที่ได้รับความนิยมในตอนนี้ แต่จริงๆ มันยังมีลงลึกไปอีกเช่นการเคลือบ ชนิดของวัสดุ และอื่นๆ ซึ่งถ้าพูดถึงก็จะยาว ขอติดเอาไว้พูดถึงในตอนต่อๆ ไป ในตอนนี้จะพูดแค่ถัก 4 และ ถัก 8 แบบสรุปๆ
ถัก 4 (X4)
สายถัก 4 เป็นสายที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร รูปร่างของสายจะเป็นสีเหลี่ยมจัตุรัส แต่หากเป็นสายเส้นเล็กมากๆ จะมีลักษณะกลม ค่อนข้างขรุขระ และเสียงดังเวลาใช้งาน พวกตกปลาขนาดเล็กอย่าง สตรีมอะไรพวกนี้ดูเหมือนจะชอบใช้กัน
ถัก 8 (X8)
ถักด้วยสาย 8 เส้น มีความนุ่มนวลกว่าถัก 4 แบบที่กล่าวมา ราคามักจะแพงกว่าด้วย แต่สมัยนี้มีสาย X8 ราคาไม่แพงออกมาขายเยอะ การเลือกใช้ต้องระวัง เพราะการผลิตสายแบบนี้ความราบเรียบเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สายแต่ละเส้นที่นำมาถักจะมีความตึงสูงมาก ความผิดพลาดในการผลิตเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้สายขาดง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ
ข้อดี เมื่อเทียบกับ Fluorocarbon
– สายเล็กกว่ามาก หากแรงดึงเท่ากัน
– ทนทานกว่า
– Sensitive ยอดเยี่ยม
– ไม่หัก ไม่เป็นขดอย่างแน่นอน
– สายนุ่ม
ข้อเสีย เมื่อเทียบกับ Fluorocarbon
- อมน้ำ เลยหนัก ยิ่งสายใหญ่ยิ่งหนัก
- จมน้ำช้า
- แพงกว่า
- ไม่ทนแรงขีดข่วน
- ไม่ทนแรงกระชาก
- มองเห็นง่ายในน้ำ
น้าๆ กดอ่านเพิ่มเติม PE Line วิธีใช้งานให้มีประสิทธิภาพ
สรุป
จากการใช้งานสาย PE ตีเหยื่อปลอม และสาย Fluorocarbon บอกตรงๆ ว่าผมเองก็แฮปปี้หลายๆ อย่างของมันนะ แต่หากมองในแง่ของของประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับการตกปลาในบางประเภท โดยไม่คำนึงถึงข้อเสียของมันต้องยอมรับว่า Fluorocarbon ดีกว่า
เช่น ตกปลาประเภท UL ที่ใช้ความละเอียดสูง จนถึงปลายสาย ต้องบอกว่า Fluorocarbon น่าจะดีกว่า หรือ Texas Rig ในระดับสูงจริงๆ Fluorocarbon ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเช่นกัน .. แต่สุดท้ายผมก็เลือกใช้สาย PE อยู่ดี เพราะรู้สึกมันตีง่ายกว่า
ส่วนอะไรดีกว่ากัน ข้อดีข้อเสียเพิ่มเติม คงต้องให้น้าๆ ช่วยกันออกความเห็นหน่อย เดี๋ยวเพิ่มลงในบทความนี้ให้ครับ