“เป็นโบราณที่ว่าปลาไม่รู้สึกเจ็บปวด สมองของพวกปลาเล็กและเรียบง่ายเกินไป แต่หลักฐานของการวิจัยกลับชี้ไปในทางตรงกันข้าม”
ในปี 2003 นักวิจัยจากสถาบันโรสลิน (The Roslin Institute) ใกล้เอดินเบอระ (Edinburgh) ได้ค้นพบเส้นประสาทรับความรู้สึกในปากของปลา ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถตรวจจับความเจ็บปวด ในลักษณะเดียวกับนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเชื่อมผิวหนังและส่วนอื่นๆ ของร่างกายกับสมอง
“ทีมงานเดียวกันนี้ พบว่าเมื่อฉีดด้วยกรดอ่อนๆ เข้าปากปลาตัวอย่าง พวกเขาก็พบว่าปลามันโยกหัวและถูริมฝีปากกับถังพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และเมื่อได้รับยาแก้ปวด ปลาก็กลับมาว่ายน้ำได้ตามปกติอีกครั้ง”
ก่อนหน้านั้นมี Dr Lynne Sneddon ซึ่งเป็นผู้นำการทดลองในปี 2002 พวกเขาได้พิสูจน์ว่าปลามี ‘โนซิเซ็ปเตอร์’ (Nociceptors) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ตรวจจับความเจ็บปวดอยู่ในปาก
หลังจากตรวจสอบหลักฐาน จากการศึกษาหลายสิบชิ้นที่ดำเนินการทั่วโลก นักวิจัยมีความเชื่อมั่นมากขึ้นกว่าเดิมถึงความจำเป็นในการดูแลสิ่งมีชีวิตนี้ ให้มากขึ้นกับการปฏิสัมพันธ์ของเรากับสายพันธุ์ปลา ..นั้นเพราะปลารู้สึกเจ็บปวดจริงๆ
ไม่ว่าเราตกปลาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ การทำประมงขนาดใหญ่ หรือเลี้ยงปลาสวยงาม และไม่ว่าเราจะใช้ปลาด้วยวิธีใดก็ตามเราจำเป็นต้องพิจารณาและปฏิบัติต่อพวกมันให้ดีขึ้น เราควรปฏิบัติต่อพวกปลาด้วยความเกรงใจ เช่นเดียวกับที่เราทำกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก
ในขณะที่งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปลารู้สึกเจ็บปวดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามสถานการณ์ แต่พวกมันก็แตกต่างจากมนุษย์ พวกปลาไวต่อความเย็นน้อยกว่า แต่ก็ไวต่อความกดดันมากกว่า
และนี่ก็คือข้อมูลบางส่วนของการวิจัยเรื่องที่ว่า “ปลารู้สึกเจ็บปวดหรือไม่” ซึ่งผลคือ “ปลามีความรู้สึกเจ็บปวด” แต่ก็มีงานวิจัยบางส่วนก็บอกว่า “ปลาไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด” เช่นเดียวกัน บ้างก็ว่าเพราะปลามีสมองที่เล็กเกินไปอะไรประมาณนี้ อ่านแล้วน้าๆ คิดเห็นยังไงก็คอมเมนต์กันดูนะครับ
แมงกะพรุนอมตะ อาจเป็นกุญแจสู่ชีวิตอมตะของมนุษย์
Advertisementsนากทะเล กับพฤติกรรมสุดร้ายกาจ เชิญพบกับด้านมืดของพวกมัน